เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2561 นาย Frank-Walter Steinmeier ประธานาธิบดีสหพันธ์สาธารณรั ฐเยอรมนีเป็นประธานและสักขี พยานการปิดเหมืองถ่านหินบิทูมิ นัสแห่งสุดท้ายของสหพันธ์ฯ ที่เมือง Prosper-Haniel รัฐนอร์ดไรน์-เวสฟาเลิน ถือเป็นการสิ้นสุดของอุ ตสาหกรรมถ่านหินที่เป็ นรากฐานของการปฏิวัติอุ ตสาหกรรมของสหพันธ์ฯ มากกว่า 200 ปี และเป็นรากฐานการฟื้นตัวของสหพั นธ์ฯ ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย โดยเมื่อปี ค.ศ. 2007 สหพันธ์ฯ ได้ตกลงกับ สมาคมเหมืองถ่านหินแห่งสหพันธ์ฯ (German Coal Association – GVSt) เพื่อลดการผลิตถ่านหินภายในปี ค.ศ. 2018 อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดีสหพันธ์ฯ ได้กล่าวชื่นชมแรงงานเหมืองถ่ านหินว่า “หากปราศจากอุตสาหกรรมเหมืองถ่ านหิน การพัฒนาประเทศของสหพันธ์ฯ ในช่วง 200 ปีที่ผ่านมาคงไม่สามารถเกิดขึ้ นได้” [su_spacer size=”20″]
อุตสาหกรรมถ่านหินเป็นอุ ตสาหกรรมหลักของเขตลุ่มน้ำ Ruhr โดยในช่วงทศวรรษที่ 50 ของคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการจ้างงานในภาคอุ ตสาหกรรมเหมืองถ่านหินมากถึง 600,000 คน และลดเหลือประมาณ 4,500 คน ในปี ค.ศ. 2017 อย่างไรก็ดี รายได้เฉลี่ยของประชาชนในเขตลุ่ มน้ำ Ruhr อยู่ที่ 1,500 ยูโร ต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยของสหพันธ์ฯ และมีอัตราการว่างงานสูงเป็น 2 เท่าของค่าเฉลี่ยของสหพันธ์ฯ [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมถ่านหินที่ผ่านมาได้ รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลสหพั นธ์ฯ มากกว่า 40,000 ล้านยูโร นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 เป็นต้นมา และจะยังได้รับเงินสนับสนุ นจำนวน 2,700 ล้านยูโรจนถึงปี ค.ศ. 2022 เพื่อรักษาความสามารถในการแข่ งขัน เนื่องจากอุตสาหกรรมถ่านหิ นของสหพันธ์ฯ มีต้นทุนในการผลิตสูงเมื่อเปรี ยบเทียบกับประเทศอื่น ๆ โดยงบประมาณสนับสนุนส่วนหนึ่ งเป็นไปเพื่อการบำรุงรักษาเหมื องถ่านหิน เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม และเพื่อป้องกันไม่ให้เขตลุ่มน้ำ Ruhr จมลงเนื่องจากการขุดเจาะอุโมงค์ เหมืองจำนวนมาก รวมทั้งการดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อรองรับการปิดเหมืองในอนาคต ซึ่งประกอบด้วยโครงการเกษียณก่ อนอายุและโครงการฝึกอบรมอาชีพอื่ นของคนงานเหมืองถ่านหิน โครงการลงทุนโครงสร้างพื้ นฐานเพื่อพัฒนาทางเศรษฐกิ จของเขตลุ่มน้ำ Ruhr การอุดหนุนมหาวิทยาลัย สิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับการวิจัยและพัฒนา และศูนย์พัฒนาสตาร์ทอัพทางด้ านเทคโนโลยี เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
ถ่านหินยังคงเป็นแหล่งพลั งงานไฟฟ้าที่สำคัญของสหพันธ์ฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 35.3 (ถ่านหินลิกไนต์ร้อยละ 22.5 และถ่านหินบิทูมินัสร้อยละ 12.8) นอกเหนือจากถ่านหิ นภายในประเทศแล้ว สหพันธ์ฯ ได้นำเข้าถ่านหินจากประเทศอื่น ๆ ได้แก่ รัสเซีย สหรัฐฯ ออสเตรเลีย โคลอมเบีย แอฟริกาใต้ และโปแลนด์ ทั้งนี้ สัดส่วนของแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้ าอื่น ได้แก่ พลังงานนิวเคลียร์ร้อยละ 11.7 ก๊าซธรรมชาติร้อยละ 12.8 พลังงานทดแทน (พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล และพลังงานน้ำ) ร้อยละ 35.2 และพลังงานอื่น ๆ ร้อยละ 5 อย่างไรก็ดี สหพันธ์ฯ มีแผนยุติการใช้พลังงานนิวเคลี ยร์ในปี ค.ศ. 2022 จึงมีความกังวลว่าในอนาคตอาจไม่ มีพลังงานเพียงพอสำหรับหล่อเลี้ ยงอุตสาหกรรมหนักต่าง ๆ ของสหพันธ์ฯ [su_spacer size=”20″]
ส่วนในด้านข้อเสนอยุติการใช้พลั งงานถ่านหินของสหพันธ์ฯ เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2562 คณะกรรมาธิการด้านถ่านหิ นของสหพันธ์ฯ (Coat Commission) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม ภาคประชาสังคม และภาคสิ่งแวดล้อม ได้เสนอรายงานให้รัฐบาลสหพันธ์ฯ พิจารณาข้อเสนอแนะให้สหพันธ์ฯ ยุติการใช้ถ่านหินเพื่อผลิ ตกระแสไฟฟ้าภายในปี ค.ศ. 2038 โดยระยะแรกจะปิดโรงงานไฟฟ้าพลั งงานถ่านหิน (ทั้ง 2 ชนิด) ขนาดกำลังการผลิต 12.5 กิกะวัตต์ ลงภายในปี ค.ศ. 2022 และระยะถัดไปจะปิดโรงงานไฟฟ้ าพลังงานถ่านหิน (ทั้ง 2 ชนิด) ขนาดกำลังการผลิต 25.6 กิกะวัตต์ ลงภายในปี ค.ศ. 2030 ควบคู่ไปกับ มาตรการสนับสนุนภาคส่วนที่ได้รั บผลกระทบสำหรับระยะเวลา 20 ปี มูลค่าประมาณ 40,000 ล้านยูโร [su_spacer size=”20″]
ภายในข้อเสนอดังกล่ าวของคณะกรรมาธิการด้านถ่านหินฯ คาดว่าจะสามารถลดปริมาณการปล่ อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ของภาคพลังงานของสหพันธ์ฯ จาก 313 ล้านตันเมื่อปี ค.ศ. 2017 ลงเหลือประมาณ 280 ล้านตันในปี ค.ศ. 2020 อย่างไรก็ดี คาดว่าจะยังไม่สามารถลดปริ มาณการปล่อยก๊าซ CO2 ลงได้ตามเป้าหมาย 175 – 183 ล้านตัน ในปี ค.ศ. 2030 ทั้งนี้เมื่อปี ค.ศ. 2017 โดยรวมแล้วสหพันธ์ฯ ปล่อยก๊าซ CO2 ปริมาณมากถึง 907 ตันต่อปี อนึ่ง สำหรับกำหนดที่แน่นอนสำหรั บการยุติการใช้ถ่านหินเพื่อผลิ ตกระแสไฟฟ้าภายในปี ค.ศ. 2038 จะต้องประเมินอีกครั้งในปี ค.ศ. 2026 และ ค.ศ. 2029 เพื่อพิจารณาผลสำเร็ จของการลดปริมาณการปล่อยก๊าซ CO2 พัฒนาการของราคาพลั งงานและความมั่นคงด้านพลังงาน สภาพทางเศรษฐกิจและการจ้ างงานในเขตเหมืองถ่านหินที่ได้ รับผลกระทบ ซึ่งหากผลการประเมินเป็ นไปในทางบวกอาจจะสามารถยุติ การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานถ่านหิ นได้ภายในปี ค.ศ. 2035 [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต