Tuesday, May 20, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ทันโลก

ยุโรปกับการใช้เงินยูโร ครบ 20 ปี

22/01/2019
in ทันโลก, ยุโรป
0
ความสำเร็จของเขตทดลองการค้าเสรีเซี่ยงไฮ้ ภายหลัง 5 ปีของการก่อตั้ง
0
SHARES
632
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

              นาย Mario Draghi ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวปาฐกถาที่มหาวิทยาลัย Sant’  Anna เมืองปีซ่า (Pisa) อิตาลี เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 61 สรุปสาระสําคัญได้ดังนี้ [su_spacer size=”20″]

              ยุโรปประกาศใช้ สกุลเงินยูโร เมื่อวันที่ 1 ม.ค. ค.ศ. 1999 เพื่อแก้ปัญหาเสถียรภาพในอัตราแลกเปลี่ยนภายใต้การรวมตัวเป็นตลาดเดียว โดยเริ่มใช้ในหมู่ประเทศสมาชิก EU จํานวน 11 ประเทศ ต่อมาได้ขยายเป็น19 ประเทศ จาก 28 ประเทศ ครอบคลุมประชากรจํานวนประมาณ 340 ล้านคน และเป็นสกุลเงินหลักอันดับ 2 ของโลกรองจากเงินดอลลาร์สหรัฐ [su_spacer size=”20″]

              การเกิดขึ้นของเงินยูโรส่งผลให้การส่งออกภายใน EU ขยายตัวขึ้นมากจากร้อยละ 13 ของ GDP ในปี ค.ศ. 1992 เป็นร้อยละ 20 ในปัจจุบัน เนื่องจากการเป็นตลาดเดียวสามารถขจัดอุปสรรคทางศุลกากรและช่วยอํานวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก EU และการใช้สกุลเงินเดียวร่วมกันสามารถลดต้นทุนการชําระเงินระหว่างประเทศ และลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ นอกจากนี้ ยังส่งผลให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment – FDI) ใน EU เพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากความมีเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน จึงส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของ EU ขยายตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังทําให้ประเทศสมาชิกต่าง ๆ มีอิสระในการดําเนินนโยบายการเงินมากกว่าการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ในอดีต และตลาดของผู้ใช้เงินยูโรมีขนาดใหญ่พอที่จะทําให้ euro zone สามารถลดผลกระทบที่เกิดจากการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจ โลกได้ [su_spacer size=”20″]

              ทั้งนี้ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา วิกฤติการเงินโลกได้ท้าทาย EU ส่งผลให้ประเทศสมาชิกต้องปรับตัวทางเศรษฐกิจมหภาคและการเงินครั้งสําคัญ โดยวิกฤติหนี้สาธารณะใน euro zone ชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของสถาบันการเงินใน EU จึงจําเป็นที่จะต้องผลักดันให้เกิดการปฏิรูป euro zone โดยเฉพาะการจัดตั้งสหภาพการธนาคาร (Banking Union – BU) การจัดตั้งสหภาพตลาดทุน (Capital Markets Union) และการสร้างกลไกเสถียรภาพของยุโรป (European Stability Mechanism – ESM) [su_spacer size=”20″]

              การจัดตั้ง BU มีความจําเป็นอย่างมากต่อประเทศสมาชิกที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ เพื่อให้สามารถกระจายความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจได้ และ ECB ยังคงเน้นย้ำให้ ประเทศสมาชิกปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (fundamental structural reform) เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนทั้งในด้านการจ้างงานการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต อัตราค่าจ้างแรงงาน และการเติบโตทาง เศรษฐกิจในระยะยาว [su_spacer size=”20″]

              นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกยังมีความจําเป็นต้องดําเนินนโยบายการคลังควบคู่ไปกับนโยบายการเงิน เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจหรือภาวะเศรษฐกิจถดถอย ดังนั้น การบริหารการใช้งบประมาณของประเทศสมาชิก รวมไปถึงงบประมาณของ EU อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความสําคัญอย่างมากต่อการบริหารจัดการกับความเสี่ยงยามเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ [su_spacer size=”20″]

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต

Tags: EUการเงิน
Previous Post

ความสำเร็จของเขตทดลองการค้าเสรีเซี่ยงไฮ้ ภายหลัง 5 ปีของการก่อตั้ง

Next Post

เวียดนามเข้าร่วมความตกลง CPTPP อย่างเป็นทางการ

Tanakorn

Tanakorn

Glob Thailand Administrator

Next Post
เวียดนามเข้าร่วมความตกลง CPTPP อย่างเป็นทางการ

เวียดนามเข้าร่วมความตกลง CPTPP อย่างเป็นทางการ

Post Views: 1,710

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

19/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ตอนที่ 2 : ปัจจัยความสำเร็จของ YRD ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

15/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

15/05/2025
สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

14/05/2025
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

14/05/2025
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X