เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 สมาคม Club des Affaires de la Hesse จัดบรรยายเรื่อง “Blockchain ในยุคนวัตกรรมและดิจิทัล” โดยมีนาย Peter Ivankay หัวหน้าฝ่าย Global Wealth Management Innovation ของธนาคาร UBS (Swiss Investment Bank) เมืองซูริค เป็นผู้บรรยายให้แก่สมาชิกสมาคมและผู้สนใจภายนอก มีผู้เข้าร่วมประมาณ 100 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสมาคม Club des Affaires de la Hesse สมาคม German Asian Business Circle และสมาคม Swiss-German Business Club นครแฟรงก์เฟิร์ต มีสาระสําคัญ ดังนี้ [su_spacer size=”20″]
Blockchain คือ ระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเครือข่ายใยแมงมุมที่เก็บสถิติการทําธุรกรรมทางการเงิน และสินทรัพย์ชนิดอื่น ๆ อีกในอนาคต โดยไม่มีตัวกลาง คือ สถาบันการเงิน หรือสํานักชําระบัญชีด้วยการบันทึกข้อมูลแบบกระจายศูนย์เพื่อให้สมาชิกเครือข่าย/ผู้เกี่ยวข้องทุกคนสามารถรับทราบและบันทึกรายการร่วมกันได้ตลอดเวลา ซึ่งเทคโนโลยีนี้ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ในการทําธุรกรรมการเงินต่าง ๆ โดยมี คุณสมบัติหลัก ดังนี้ 1. การติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกโดยตรง โดยไม่ผ่านศูนย์กลาง 2. การเข้ารหัสข้อมูลเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ดิจิตัล หรือสกุลเงิน Crypto 3. การกระจายข้อมูลให้สมาชิกรับทราบอย่างเท่าเทียมกัน 4. การบันทึกรายการแบบถาวร โดยไม่สามารถเปลี่ยนแปลง/แก้ไข/ลบข้อมูลได้ [su_spacer size=”20″]
สำหรับธนาคาร UBS มีหลายโครงการที่ใช้ระบบ blockchain อาทิ โครงการขอสินเชื่อและกู้ยืมเงินและโครงการสนับสนุนการพาณิชย์ เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและต้นทุน อีกทั้งเพื่อลดปัญหาด้านการส่งเอกสารและรอการตรวจสอบจากฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ธนาคาร UBS ยังได้ริเริ่มโครงการ Utility Settlement Coin (USC) เพื่อสร้างสกุลเงินดิจิตัลใหม่ให้ธนาคารทั่วโลกสามารถทําธุรกรรมการเงินผ่านระบบ blockchain ได้สะดวกยิ่งขึ้น [su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ตาม blockchain ยังมีปัญหาที่สําคัญของการใช้งาน ได้แก่ [su_spacer size=”20″]
1. ความปลอดภัยของข้อมูลที่บันทึก เนื่องจากเป็นการบันทึกรายการแบบถาวรและสมาชิกทุกคน มีข้อมูลธุรกรรมบัญชีส่วนตัว จึงเกิดข้อสงสัยว่า ระบบ blockchain สามารถให้ความมั่นใจด้านความปลอดภัยของข้อมูลได้เพียงใด [su_spacer size=”20″]
2. การบริหารจัดการระบบให้ราบรื่นสําหรับสมาชิกทุกคน [su_spacer size=”20″]
3. การสร้างความน่าเชื่อถือและระดับความไว้วางใจของสมาชิกในระบบ blockchain [su_spacer size=”20″]
4. การรองรับโครงสร้างและกรอบการดําเนินการด้านกฎหมาย [su_spacer size=”20″]
5. ความสามารถในการรองรับการขยายระบบ ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนและทรัพยากรด้านอื่น ๆ สูงมาก [su_spacer size=”20″]
6. การกําหนดมูลค่าสกุลเงินดิจิตัล และความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงของมูลค่า [su_spacer size=”20″]
7. การสร้างหลักเกณฑ์/ข้อกําหนดรองรับ โดยเฉพาะด้านการบริหารจัดการสกุลเงินดิจิตัล [su_spacer size=”20″]
blockchain ถึงแม้ว่าจะเป็นเทคโนโลยีอัจฉริยะ ซึ่งเปรียบเสมือน tomorrow’s engine แต่ก็ไม่ สามารถทดแทนธนาคารได้ในทุกธุรกรรมการเงิน เนื่องจากความยุ่งยาก/ปัญหาของ blockchain ที่มิได้มีเพียงปัญหา ด้านเทคนิค แต่มีประเด็นด้านความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ ซึ่งธนาคารในระบบปัจจุบันยังเป็นที่นิยมและน่าเชื่อถือ มากกว่า จึงมีความได้เปรียบกว่าระบบ blockchain [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ blockchain จะยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วไปในสหพันธ์ ฯ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ แต่ก็กําลังเข้ามามีบทบาทสําคัญด้านธุรกิจดิจิตัลมากขึ้นเป็นลําดับ จากผลสํารวจแนวโน้มบทบาทและอิทธิพลของ blockchain ในสหพันธ์ ฯ เมื่อครึ่งปีแรกของปี ค.ศ. 2018 พบว่า ร้อยละ 26 ในกลุ่มเจ้าของธุรกิจ/อุตสาหกรรม เชื่อว่า blockchain จะเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่มีความสําคัญต่อธุรกิจดิจิตัลมากเป็น 1 ใน 10 อันดับแรก และปัจจุบันมีบริษัท สตาร์ทอัพเกี่ยวกับ blockchain ทั้งสิ้นประมาณ 120 รายในสหพันธ์ฯ โดยกรุงเบอร์ลินถือเป็นจุดศูนย์รวมของ blockchain ซึ่งมีบริษัท สตาร์ทอัพด้านนี้มากที่สุด จํานวน 64 ราย นครมิวนิก เป็นลําดับที่สอง จํานวน 13 ราย และนครแฟรงก์เฟิร์ต อยู่ในลําดับที่สาม จํานวน 10 ราย [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต