ในตอนที่ 3 เราได้เห็นแล้วว่าเยอรมนี เป็นประเทศต้นแบบเทคโนโลยี 4.0 ใช้นวัตกรรมสมัยใหม่ในการผลิตอาหารที่สด อร่อย ปลอดภัยและมีคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคยุคใหม่ รวมทั้งผู้นำทางด้านการพัฒนาการเกษตร เป็นอย่าสงูในตอนจบนี้เราจะมาดูกันว่าไทยจะสามารถนำนวัตกรรมทางด้านการเกษตรมาปรับใช้อย่างไรบ้าง รวมทั้งการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานด้านการเกษตรของเยอรมนีเพื่อมาต่อยอดและปรับใช้นวัตกรรมการพัฒนาการเกษตรของไทย[su_spacer size=”20″]
มาตรฐานคู่นวัตกรรม
“มาตรฐานเยอรมนี” เป็นที่ยอมรับในเรื่องคุณภาพ เยอรมนีจึงมิได้เป็นเพียงผู้ผลิตสินค้า แต่เป็น “ผู้กำหนดมาตรฐาน” สินค้าและเครื่องจักรกลทางการเกษตรระดับโลก คณะกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้พบหารือกับ GLOBAL G.A.P. บริษัทเดียวในโลกที่กำหนดและทดสอบมาตรฐานของเกษตรกรและผู้ผลิตอย่างครบวงจร ตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ กรรมวิธีการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว มาตรฐานแรงงาน และสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญคือต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ (traceability) ทำให้สินค้าที่ได้รับมาตรฐาน GlobalG.A.P. สินค้าเกษตรที่ได้รับตรา Global G.A.P. จะเป็นใบผ่านทางสำคัญให้สามารถวางขายในสหภาพยุโรปได้ ทั้งนี้ ปัจจุบัน สถาบันอาหารได้ร่วมมือกับ Global G.A.P. เพื่อยกระดับมาตรฐาน Thai G.A.P. ให้สามารถส่งออกไปยังสหภาพยุโรปได้[su_spacer size=”20″]
เยอรมนี: หุ้นส่วนแห่งอนาคตของไทยด้านเกษตรและอาหาร
กระทรวงอาหารและการเกษตรสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMEL) เห็นความสำคัญของไทยในการเป็น “ครัวโลก” ไทยจึงเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ BMEL เปิดสำนักงานเกษตร BMEL ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของอาหาร การวางแผนการผลิตอย่างเป็นระบบ และการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร ซึ่งน่าจะนำมาปรับใช้กับบริบทของไทย[su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ ไทยยังจะร่วมมือกับสมาคมการเกษตรเยอรมนี (German Agricultural Society – DLG) ในการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรไทยที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วม Farming Academy เพื่อก้าวไปสู่การเป็น “เกษตรกรปราดเปรื่อง” (Smart Farmer) ที่สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำการเกษตรอย่างถูกวิธี รวมทั้งสร้างศักยภาพให้ข้าราชการที่ต้องทำงานโดยตรงกับเกษตรกร เพื่อพัฒนาภาคเกษตรอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน[su_spacer size=”20″]
สมาคมเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรของไทยยังสนใจที่จะร่วมมือกับสมาพันธ์ธุรกิจเอเชีย-แปซิฟิกแห่งเยอรมนี (OAV) ซึ่งมีสมาชิกที่สนใจจะทำธุรกิจในเอเชีย-แปซิฟิกกว่า 800 ราย โดยให้สตาร์ทอัพไทยด้านอาหารและการเกษตรได้นำเสนอแนวคิดใหม่ในการทำธุรกิจ (pitching) ให้กับภาคธุรกิจของเยอรมนี ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นผู้สนับสนุนการจัดงานดังกล่าวด้วย เพื่อนำไปสู่การจับคู่ทางธุรกิจระหว่างไทย-เยอรมนีในอนาคต[su_spacer size=”20″]
หน่วยงานไทยผสานพลัง สร้างความเข้มแข็งจากภายใน
การเยือนเยอรมนีครั้งนี้ไม่เพียงแต่สร้างเครือข่ายระหว่างฝ่ายไทยกับหน่วยงานต่าง ๆ ของเยอรมนี แต่ยังเป็นโอกาสสำคัญในการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ของไทยเพื่อร่วมกันพัฒนาภาคเกษตรและอาหารของไทยอีกด้วย การทำงานร่วมกันในครั้งนี้ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ เห็นถึงบทบาทสำคัญของกระทรวงการต่างประเทศที่พร้อมจะเป็นจุดเชื่อมต่อหลักระหว่างหน่วยงานของไทยและต่างประเทศ จนนำไปสู่แนวคิดการสร้าง portfolio นวัตกรรมอาหารที่ไทยมีอยู่จำนวนมาก เพื่อให้สถานทูตสถานกงสุลของไทยได้ใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมสินค้าไทย[su_spacer size=”20″]
แต่ที่จะลืมไม่ได้คือ พี่น้องเกษตรกรต้นแบบของเราที่ได้แนวคิดสำคัญเกษตรก้าวหน้ากลับมาด้วย คุณวลิต เจริญสมบัติ ประธานแปลงใหญ่ระดับประเทศ ตัวแทนเกษตรแปลงใหญ่ที่เข้าร่วมคณะก็จะนำประสบการณ์จากเยอรมนีไปเล่าให้เครือข่ายแปลงใหญ่ทั่วประเทศ “การเปลี่ยนแปลงแนวคิดการทำการเกษตร ที่จะต้องใช้ “การตลาดนำการผลิต” เลือกปลูกในสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ซึ่งจะทำให้หลุดพ้นจากวงจรทาสนายทุน” คุณวลิตกล่าว[su_spacer size=”20″]
จริง ๆ แล้ว ไทยมิได้ด้อยกว่าเยอรมนีในด้านทรัพยากรเลย เพียงแต่หากไทยต้องลงทุนด้านการสร้างฐานความรู้และนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้ให้ตรงจุด ไทยก็ไม่เพียงแต่ก้าวให้ทันโลก แต่มีศักยภาพที่จะก้าวนำโลกในด้านการเกษตรด้วยซ้ำ[su_spacer size=”20″]