ประเทศเยอรมนีประสบปั ญหาขาดแคลนแรงงาน โดยพบว่ามีการจ้างงานในประเทศปี 2560 ทั้งหมด 44.48 ล้านตำแหน่ง สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ประมาณ 6.38 ตำแหน่ง เป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่ การรวมประเทศในปี 2533 และเพิ่มขึ้นในทุกสาขาเศรษฐกิจ โดยการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นนี้ มีสาเหตุมาจากการขยายตั วทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่ องตลอดทั้งปี และมีจำนวนผู้ว่างงานประมาณ 2.385 ล้านคน หรือร้อยละ 5.3 ของกำลังแรงงานในประเทศ ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดตั้ งแต่การรวมประเทศ โดยเป็นการว่างงานระยะยาวประมาณ 8 แสนคน หรือ 1 ใน 3 รวมทั้งมีจำนวนตำแหน่งงานว่ างในปี 2560 ราว 8 แสนตำแหน่ง (คิดเป็น 100 ตำแหน่งงานต่อผู้ว่างงาน 298 คน) ซึ่งเป็นอัตราสูงที่สุดตั้งแต่ การรวมประเทศเช่นกัน
คาดว่าสถานการณ์ การขาดแคลนแรงงานมีแนวโน้มรุ นแรงมากขึ้น เนื่องจากกำลังแรงงานในประเทศยั งคงลดลงในแต่ละปีตามแนวโน้มสั งคมผู้สูงอายุ ในขณะที่แรงงานต่างชาติปีละ 1.2 แสนคน และผู้อพยพที่เดินทางเข้ าประเทศจั้งแต่ปี 2558 ที่มีทักษะที่พร้ อมจะทำงานประมาณ 1.5 แสนคน (1 ใน 7 ของจำนวนผู้อพยพทั้งหมด) ไม่เพียงพอต่อความต้ องการแรงงานที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้ นปีละอย่างน้อย 3-4 แสนคนในอีก 5 ปีข้างหน้าได้ ทั้งนี้ประมาณ 5.5 แสนตำแหน่งงาน หรือ 2 ใน 3 ของตำแหน่งงานที่ว่างเป็นตำแหน่ งงานที่ใช้ทักษะเฉพาะทางหรือผู้ เชี่ยวชาญ โดยเอาชีพที่ขาดแคลนมากที่สุด ได้แก่ ช่าง Mechatronics นักคณิตศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ นักบัญชี เจ้าหน้าที่การตลาด วิศวกร IT นักพัฒนาซอฟต์แวร์ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งมีตำแน่งงาน 100 ตำแหน่งต่อผู้ว่างงานเพียง 30 คน
นับเป็นโอกาสของไทยในการดึงดู ดผู้ประกอบการเยอรมันที่ต้ องการย้ายกิจกรรมทางธุรกิจบางส่ วนไปในต่างประเทศเพื่ อทดแทนการขาดแคลนแรงงานในประเทศ รวมทั้งโอกาสในการดึงดูดผู้สู งอายุชาวเยอรมันให้เดินทางมาใช้ ชีวิตบั้นปลายที่ประเทศไทย และการประกอบอาชีพด้ านการนวดแผนไทย และอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ ของแรงงานไทยในประเทศเยอรมนี