สำนักงานส่งเสริมการลงทุนสหพันธ์ฯ ( German Trade and Invest – GTAI )ได้วิเคราะห์ถึงโอกาสของนักลงทุนเยอรมันในไทยไว้ว่า ไทยมีจุดแข็งคือมีฐานอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ความเชื่อมโยงกับเพื่อนบ้าน อัตราภาษีค่อนข้างต่ำ มีมาตรการส่งเสริมการลงทุนที่น่าสนใจ และการเป็นศูนย์กลางการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค อีกทั้งยังมีปัจจัยสนับสนุนคือ นโยบายภาครัฐ เช่น Thailand 4.0 ที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ภาคเอกชนเยอรมันลงทุน การเปิดเสรีภาคบริการ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ และการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล นอกจากนี้ การจัดอันดับบรรยากาศในการประกอบธุรกิจของไทยดีขึ้นกว่าปีก่อนหน้า ความไม่แน่นอนทางการเมืองลดลง อย่างไรก็ตาม ไทยยังเผชิญปัญหาในระยะยาวคือ การขาดแรงงาน ทั้งที่มีคุณภาพ และแรงงานพื้นฐาน และค่าเงินบาทที่แข็งกว่าประเทศเพื่อนบ้าน[su_spacer size=”20″]
สาขาที่นักลงทุนเยอรมันมีโอกาสลงทุนทำธุรกิจเพิ่มเติมในไทยมีทั้งหมด 7 สาขา ได้แก่ 1) ยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน รัฐบาลไทยเตรียมเข้าสู่ 3rd Generation Automotiveอย่างเต็มตัว โดยให้ความสำคัญกับยานยนต์ที่เป็นมิตรต่อส่งแวดล้อม และความปลอดภัย โดยเฉพาะยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน ซึ่งมีผู้ประกอบการเยอรมันได้เริ่มเข้าไปลงทุนในไทยแล้ว และไทยมี Local supplier ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ นอกจากนี้ เอกชนเยอรมันยังอาจมีโอกาสในการร่วมพัฒนาจุดชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าด้วย 2) พลังงานทดแทน ในปี 2561 ไทยมีแผนที่จะลงทุนในด้านพลังงานทดแทนกว่า 2.5 พันล้านยูโร นักลงทุนเยอรมันน่าจะมีโอกาสขยายการลงทุนหรือขายสินค้าเทคโนโลยีพลังงานทดแทนได้ โดยเฉพาะเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์และติดตั้งบนหลังคา เทคโนโลยี solar farm 3) โครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้าง ทั้งในส่วนการก่อสร้างเส้นทางคมนาคม อาคารที่ทำงาน โรงแรม ศูนย์การค้า สำนักงาน ท่าเรือ ระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพและปริมณฑล และการลงทุนภายใต้ EEC 4) เศรษฐกิจดิจิทัล โดยเฉพาะในสาขาซอต์ฟแวร์ บริการเคลาด์ ศูนย์บริหารจัดการข้อมูลsoftware park Tech Start ups และมีหน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนเงินทุนและเครือข่าย 5) บริการด้านการวิจัยและพัฒนา(R&D)ในสาขาอุตสาหกรรมยานยนต์ เคมี ยาและเวชภัณฑ์ เกษตรและอาหาร การจัดการสิ่งแวดล้อม (ขยะ น้ำเสีย) 7) เครื่องจักรอัตโนมัติและหุ่นยนต์ นโยบาย Thailand 4.0และภาวะขาดแคลนแรงงานจะยิ่งทำให้ไทยมีความต้องการเครื่องจักรและหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมากขึ้น โดยเฉพาะเครื่องจักรกลในสาขาก่อสร้าง อุตสาหกรรมยาง อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องพิมพ์และเครื่องกรอง ยานยนต์ มีผู้ประกอบการไทยที่มีเทคโนโลยีด้านเครื่องจักรอัตโนมัติและหุ่นยนต์ที่มีศักยภาพเป็นหุ้นส่วนกับฝ่ายเยอรมัน ได้แก่ บจก. พัฒน์กล และ บจก. สยามบูโคต้า ๗) บริการสุขภาพ คาดว่าสาขาบริการสุขภาพจะขยายตัวอย่างน้อยร้อยละ 6-7 โดยเอกชนเยอรมันสามารถร่วมทุนกับเอกชนไทยในสาขาเครื่องมือการแพทย์ บริการการแพทย์ โรงพยาบาลได้[su_spacer size=”20″]
โอกาสของนักลงทุนเยอรมันในมุมมองของ GTAI เชื่อมโยงกับ EEC และนโยบาย Thailand 4.0 และยุทธศาสตร์แห่งชาติ และแสดงให้เห็นว่า เยอรมันได้เล็งเห็นโอกาสและต้องการทำธุรกิจในสาขาอุตสาหกรรม และบริการแห่งอนาคต โดยเป็นครั้งแรกที่ระบุให้เศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุน R&Dเครื่องจักรอัตโนมัติ และหุ่นยนต์ เป็นสาขาที่เป็นโอกาสของนักลงทุนเยอรมันในไทย นอกเหนือจากสาขาที่นักลงทุนเยอรมันมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว[su_spacer size=”20″]