จากการประชุม Berlin Energy Transition Dialogue 2024 : Accelerating the Global Energy Transition มีประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้
ประเด็นที่ (1)
การลงทุนในพลังงานหมุนเวียนนับว่าเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีการคาดการณ์ในปี ค.ศ. 2030 ว่าจะมีการจ้างงานที่เกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนเพิ่ม 2 เท่า และมีรถยนต์ EV เพิ่มถึง 10 เท่าทั่วโลก ขณะเดียวกันความท้าทายของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานที่สำคัญคือการเข้าถึงเทคโนโลยี ทรัพยากรการผลิต และเงินทุน ดังนั้นจึงจําเป็นต้องปฏิรูปแหล่งเงินทุนสําหรับพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะ World Bank รวมทั้งการบูรณาการเพื่อสนับสนุนประเทศที่เผชิญความท้าทายดังกล่าว —- Annalena Baerbock รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี กล่าว
ประเด็นที่ (2)
เยอรมนีนําเข้าพลังงานฟอสซิลมากถึงร้อยละ 90 จึงเผชิญวิกฤตพลังงานมาจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ในปีที่ผ่านมา เป็นเหตุให้มีการตั้งเป้าหมายลดการนําเข้าเหลือร้อยละ 30 จากมาตรการพลังงานหมุนเวียน มาตรการการใช้ Heat pump และการผลิตพลังงานไฮโดรเจน อย่างไรก็ตาม การพัฒนาและขับเคลื่อนพลังงานหมุนเวียนไม่ได้เพื่อบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพียงเท่านั้น แต่เป็นโอกาสสําหรับประเทศกําลังพัฒนาในการเข้าถึงพลังงานเพื่อการพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในท้องถิ่นต่างๆ อีกด้วย —- Robert Habeck รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศษฐกิจและการปฏิบัติการทางสภาพภูมิอากาศเยอรมนี กล่าว
ประเด็นที่ (3) พลังงานหมุนเวียนในภาคการเกษตร ภายใต้หัวข้อ “Energy-Water-Food Nexus”
Agricultural Photovoltaic (APV) เป็นการติดตั้งแผงโซลาร์บนพื้นที่เกษตร ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ด้าน
(1) การใช้พื้นที่เพาะปลูกและผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์และการใช้น้ํา เนื่องจากแผงโซลาร์คลุมดินช่วยลดอุณหภูมิและการระเหยของน้ําในดิน
(2) โครงสร้างทางสังคมที่เกษตรกรยังคงการเพาะปลูก/เก็บเกี่ยวผลผลิตควบคู่กับการผลิตพลังงาน
—- Joachim Goldbeck, CEO บริษัท Goldbeck Solar GmbH กล่าว
สถานการณ์พลังงานในประเทศไทย โดย ดร. ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงานได้เผยต่อที่ประชุมว่า ประเทศไทยตั้งเป้าเพิ่มการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในภาพรวมเป็น 10 กิกะวัตต์ภายใน 6 ปี และ 100 กิกะวัตต์ภายใน 20 ปี เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งไทยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในภาคเกษตรหลายรูปแบบจํานวนกว่า 10,000 โครงการ เช่น ระบบ สูบน้ํา (solar pumping) เครื่องอบแห้ง (solar dryer) และเครื่องทําความเย็น (solar cooling)
โดยปัจจุบันไทยมีโครงการนําร่อง 10 โครงการร่วมกับ GIZ ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยหนึ่งในโครงการฯ คือ การติดตั้งแผงโซลาร์กึ่งโปร่งแสงบนพื้นที่ปลูกข้าวที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 90 เมกะวัตต์ รวมทั้งมีการใช้พลังงานชีวภาพจากการเลี้ยงสัตว์ควบคู่ด้วย
Jennifer Layke, World Resources Institute กล่าวเสริมก่อนการประชุมเสร็จสิ้นว่า พลังงานหมุนเวียนจากพื้นที่เกษตรสามารถนํามาใช้ประโยชน์ในภาคเกษตรกรรมทั้งระบบได้ เช่น การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในระบบชลประทาน ระบบทําความเย็นเพื่อการเก็บ/ยืดอายุผลผลิต และใช้ในการแปรรูปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งความท้าทายในปัจจุบันคือการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและเทคโนโลยี จึงควรส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนอย่างเป็นระบบ เริ่มจากระบบภาษีให้การนําเข้าอุปกรณ์/แผงโซลาร์ราคาถูกลง สนับสนุนแหล่งเงินทุนให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยี และส่งเสริมการเก็บข้อมูลการใช้งานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม จากการประชุมดังกล่าว รัฐบาลเยอรมนี หวังให้พลังงานไฮโดรเจนขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2045 จึงให้ความสําคัญกับการหาหุ้นส่วนด้านพลังงานไฮโดรเจนและขยายความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคแอฟริกา และตะวันออกกลาง โดยเชิญผู้แทนจากประเทศข้างต้นให้ข้อมูลโครงการฯ และความท้าทาย เช่น การกําหนดมาตรฐานพลังงานไฮโดรเจน และปัญหาต้นทุนการผลิตที่มีราคาสูง
ทั้งนี้ รัฐบาลเยอรมนี มีการปรับปรุงยุทธศาสตร์พลังงานไฮโดรเจนแห่งชาติเพื่อเร่งการสร้างตลาดพลังงาน ไฮโดรเจนโดยสนับสนุนเงินทุนแก่โครงการที่ใช้พลังงานไฮโดรเจน
โดยปัจจุบันกระทรวงพลังงานประเทศไทย ได้มีความร่วมมือกับเยอรมนีฯ ในลักษณะ Energy Dialogue ผ่านการจัดกิจกรรมร่วมกับ GIZ และพร้อมที่จะพัฒนาไปสู่ Energy Partnership เพื่อขยายแผนงานด้านพลังงานภายใต้ roadmap สําหรับความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ของไทยและเยอรมนีฯ ต่อไป
เรียบเรียงโดย : ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์
ข้อมูล : สถานเอกอัคราาชทูค ณ กรุงเบอร์ลิน