1. อุตสาหกรรมยานยนต์
.
1.1 อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมสําคัญและใหญ่ที่สุดของสหพันธ์ฯ โดยได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงต้นปี 2563 เนื่องจากการ lockdown ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน ของชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ถูกระงับการนําเข้า-ส่งออก แม้ว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลในการกระตุ้นยอดขาย แต่ความช่วยเหลือดังกล่าวมุ่งไปที่อุตสาหกรรมยานยนต์ในรูปแบบประหยัดพลังงาน อาทิ รถยนต์ hybrid และ รถยนต์ไฟฟ้า โดยคาดว่าในปี 2564 อุตสาหกรรมดังกล่าวมีแนวโน้มจะฟื้นตัว แต่ก็จะยังไม่ถึงระดับที่เคยเป็นก่อนวิกฤติโควิด
.
อนึ่ง ภาพรวมรายได้จากอุตสาหกรรมยานยนต์ในสหพันธ์ฯ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้ มีผลการดําเนินการที่ดีมากนัก โดยอยู่ในระดับคงที่และลดลงเล็กน้อยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ เมื่อปี 2562 รถยนต์ Volkswagen เป็นรถ passenger car ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดและมียอดขายสูงสุด
.
1.2 วิกฤติโควิดทําให้อุตสาหกรรมยานยนต์จําเป็นต้องปรับตัวไปในทิศทางที่ต้องใช้ นวัตกรรมเพื่อการประหยัดพลังงานมากขึ้น โดย บ. ที่เกี่ยวข้องการผลิตรถยนต์และเครื่องยนต์ อาทิ Volkswagen, Daimler (Mercedes Benz), BMW, Bosch, MAN truck, Schaeffler ต้องปรับโครงสร้าง การดําเนินการผลิต จํานวนพนักงาน และการใช้ระบบดิจิทัลเพื่อตอบสนองการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและรถบรรทุกที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนมากขึ้น
.
1.3 สําหรับการคมนาคมอื่น ๆ เช่น อุตสาหกรรมการบินซึ่งได้รับผลกระทบด้านเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทสายการบินต่าง ๆ อย่างมหาศาลเมื่อปี 2563 และคาดว่าในปี 2564 บริษัทเหล่านี้ก็จะยังไม่ฟื้นตัว แม้ว่าการเดินทางภายในประเทศ (domestic flight) จะกระเตื้องขึ้นมาบ้างแล้วก็ตาม ในขณะที่การเดินทางด้วย จักรยานได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก แม้ว่าในช่วงต้นปี 2563 จะได้รับผลกระทบจากการหยุดชะงักของ ห่วงโซ่อุปทานที่ส่วนใหญ่นําเข้าจากจีนและความต้องการที่น้อยลงเนื่องจากการ lockdown แต่ตั้งแต่เดือน พ.ค. 2563 เป็นต้นมา จักรยานกลายเป็นทางเลือกที่สําคัญของประชาชนในสหพันธ์ฯ โดยเฉพาะสําหรับการสัญจรในเมือง เพื่อทดแทนการเดินทางด้วยการขนส่งสาธารณะ อาทิ รถเมล์ รถไฟใต้ดิน เพื่อลดความเสี่ยงจากการ ติดเชื้อโควิด โดยคาดว่า แนวโน้มของธุรกิจจักรยานจะมีอุปสงค์เพิ่มขึ้นทุกปี
.
2. อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
.
2.1 สหพันธ์ฯ เป็นผู้ผลิตเครื่องจักรกลเป็นอันดับ 3 ของโลก (รองจากจีนและสหรัฐฯ) และเป็น ผู้นําด้านการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในอุตสาหกรรม ซึ่งสะท้อนออกมาในนโยบาย “Industry 4.0” ของสหพันธ์ฯ โดย อุตสาหกรรมดังกล่าว เป็นภาคส่วนอุตสาหกรรมที่ใหญ่เทียบเท่ากับอุตสาหกรรมยานยนต์ และมีสัดส่วนการจ้างงาน มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของสหพันธ์ฯ ทั้งด้านการวิจัย พัฒนา ออกแบบ และผลิต
.
2.2 วิกฤติโควิดทําให้ผลประกอบการในปี 2563 ของอุตสาหกรรมดังกล่าวได้รับผลกระทบอย่าง มากทั้งจากในและต่างประเทศ โดยสัดส่วนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือจากประเทศในภูมิภาคยุโรป โดยในช่วงไตรมาส สุดท้ายของปีแนวโน้มเริ่มดีขึ้น เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (2562) ซึ่งมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนและความหวังจาก รัฐบาลใหม่ของสหรัฐฯ ทําให้บรรยากาศเศรษฐกิจโลกดีขึ้น โดยคาดการณ์ว่า ในปี 2564 จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ ซึ่งจะมีส่วนสําคัญในการกระตุ้นภาพรวมอุตสาหกรรมการผลิตตั้งแต่ปลายปี 2561 เป็นต้นมา
.
3. อุตสาหกรรมจักรกลไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
3.1 อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นภาคส่วนอุตสาหกรรมที่มีการจ้าง งานมากเป็นอันดับ 2 ของสหพันธ์ฯโดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลาง และถือเป็นกลไกที่สําคัญในห่วงโซ่ มูลค่าในการผลิตทุกมิติในฐานะ System Supplier ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่จําเป็นต้องได้รับการพัฒนานวัตกรรม/ เทคโนโลยีให้ทันสมัยอยู่เสมอ
.
3.2 เมื่อปี 2563 รายได้ของอุตสาหกรรมดังกล่าวลดลงทั้งจากภายในประเทศและ ต่างประเทศ โดยเฉพาะช่วงไตรมาสที่ 2 ยอดขายจากต่างประเทศลดลงอย่างมีนัยยะสําคัญ ซึ่งเป็นผลจาก การ lockdown จากวิกฤติโควิดทั่วโลก แม้ว่าในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะในไตรมาสสุดท้าย (ต.ค.-ธ.ค.) ของ ปี 2563 รายได้ของอุตสาหกรรมดังกล่าวเริ่มกลับมาใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (2562) โดย คาดการณ์ว่าในปี 2560 เป็นต้นไป อุตสาหกรรมในสาขานี้จะมีแนวโน้มที่ดีจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในการใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งจะสวนทางกับการจ้างงานที่เริ่มลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 3-4 ปี ที่ผ่านมา เนื่องมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีและ AI เพื่อนํามาใช้แทนแรงงานที่เป็นมนุษย์
.
4. ข้อมูลเพิ่มเติม
4.1 อุตสาหกรรมอาหาร เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากวิกฤติโควิด โดยธุรกิจร้านอาหารได้รับผลกระทบโดยตรงและมีหลายร้านที่ต้องปิดตัวลงในช่วง Lockdown เมื่อต้นปี 2563 ในขณะที่ ธุรกิจอาหารสดและอาหารปรุงสุกที่พร้อมรับประทานที่สามารถวางขายในซุปเปอร์มาร์เก็ต กลับมีผลประกอบการ ที่ดีขึ้นอย่างมาก ตามการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องรับประทานอาหารที่บ้านมากขึ้น อย่างไรก็ตามพฤติกรรมการรับประทานอาหารนอกบ้านของคนเยอรมันมีแนวโน้มที่จะกลับมาดังเดิม เมื่อมีการยกเลิกมาตรการ lockdown ทั้งนี้ แม้ว่าอุตสาหกรรมอาหารจะมีแนวโน้มลดลงในปี 2564 แต่ก็จะลดลงเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ ธุรกิจขนมปังและเบเกอร์รีของสหพันธ์ฯ จะมีรายได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2563 แม้ว่าจะต้องเพิ่มรูปแบบสินค้าให้ เก็บได้นานขึ้นและแช่แข็งได้
.
4.2 อุตสาหกรรมจัดงานแสดงสินค้า/เทศกาล ถือเป็นกิจกรรมที่สําคัญอย่างหนึ่งของสหพันธ์ฯ และมีงานแสดงสินค้าใหญ่จํานวนมากตลอดทั้งปี โดยสหพันธ์ฯ ถือเป็นศูนย์กลางการจัดแสดงสินค้าของยุโรปใน ทุกมิติ ทั้งด้านเทคโนโลยี/นวัตกรรม การแพทย์ เครื่องจักรกล ยานยนต์ และการเกษตร รวมถึงงานเทศกาลที่โด่งดัง ต่าง ๆ เช่น งาน Oktoberfest งาน Leipzig และ Frankfurt Bookfair และ Berlin Marathon เป็นต้น วิกฤติ โควิดทําให้ต้องยกเลิก เลื่อน หรือปรับรูปแบบการจัดกิจกรรมดังกล่าว และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะด้าน การบริการต้องสูญเสียรายได้จํานวนมหาศาล และหลายรายไม่สามารถรองรับค่าใช้จ่ายได้ อย่างไรก็ตาม ในช่วง ครึ่งปีหลังของปี 2563 งานแสดงสินค้าหลายงานได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบไปดําเนินการแบบ hybrid และ Virtual แต่ก็ไม่สามารถทํารายได้เทียบเท่ากับก่อนวิกฤติโควิด ในการนี้ คาดว่า ในปี 2564 อุตสาหกรรมดังกล่าวมีแนวโน้ม ที่จะกระเตื้องขึ้น แต่ขึ้นอยู่กับการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาลด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากสหพันธ์ฯ ไม่ได้พึ่งพา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นรายได้หลักของประเทศ แต่มาจากภาคการผลิต ดังนั้น ภาพรวมเศรษฐกิจสหพันธ์ฯ จึงไม่ซบเซามากนัก
.
4.3 พลังงานสหพันธ์ฯ ให้ความสําคัญกับการใช้พลังงานเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างมากจึงได้มี การคิดค้นเทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มาจากพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน ปัจจุบัน สหพันธ์ฯ พึ่งพาการผลิตพลังงานจากลมและไฮโรเจนเป็นสัดส่วนที่มากที่สุด รองลงมาคือถ่านหินลิกไนท์ ก๊าซธรรมชาติ และพลังงานนิวเคลียร์ ดังนั้น การดําเนินอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในสหพันธ์ฯ จึงจําเป็นต้องมีเทคโนโลยีการผลิตที่สอดรับกับการใช้พลังงานเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม
.
ในปี 2564 โรงงานนิวเคลียร์ในสหพันธ์ฯ จะถูกปิดจํานวน 3 จาก 6 โรงงาน และจะทยอย ปิดโรงงานนิวเคลียร์ทั้งหมดในปี 2565 รวมทั้งจะเริ่มลดการผลิตพลังงานจากถ่านหินลิกไนท์ลงในปี 2564 และ คาดว่าจะเลิกการผลิตทั้งหมดได้ในปี 2569 ซึ่งการดําเนินการดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้สอดรับกับพันธกรณีการลด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหพันธ์ฯ และ European Green Deal ของ EU
.
ปัจจุบันสหพันธ์ฯ ให้ความสําคัญกับพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนอย่างมาก ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย BCG (Bio-Circular-Green Economy) ที่ไทยกำลังผลักดันเป็นวาระแห่งชาติ และอาจถูกนํามาใช้เป็นหนึ่งในนโยบายด้านการต่างประเทศของไทย ดังนั้นผู้ประกอบการไทยควรศึกษานโยบายที่เกี่ยวข้อง เช่น นโยบาย European Green Deal เพื่อศึกษาแนวโน้มของธุรกิจโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป อันจะนำมาซึ่งประโยชน์แก่การวิจัย พัฒนา ออกแบบ และผลิตสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคและโลกยุคใหม่หลังโควิด-19
.
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน