เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2562 คณะรัฐมนตรี สหพันธ์ฯ เห็นชอบนโยบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Protection Policy Package – “Klimaschutzpaket 2030”) โดยเป็นนโยบายที่ครอบคลุมมาตรการในภาคพลังงาน อุตสาหกรรม คมนาคม สิ่งแวดล้อม และ นวัตกรรม ซึ่งเริ่มบังคับใช้บางส่วนตั้งแต่ต้นปี 63 และใช้ทุกมาตรการตั้งแต่ต้นปี 64 เป็นต้นไป โดย รัฐบาล สหพันธ์ฯ จัดสรรงบประมาณ จํานวน 5.4 หมื่นล้านยูโร สําหรับในช่วงปี 64 – 67
[su_spacer]
เป้าหมายหลักของนโยบายดังกล่าว มีดังนี้ (1) เพื่อให้เยอรมนีสามารถบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อย CO2 ร้อยละ 55 ภายในปี 73 (ค.ศ. 2030) เมื่อเทียบกับปี 33 (ค.ศ. 1990) ตามพันธะที่ได้ประกาศไว้ภายใต้กรอบ UNFCCC และให้พลังงานไฟฟ้าร้อยละ 65 มาจากพลังงานหมุนเวียน (renewable energy – RE) (2) เพื่อรักษาความเป็นผู้นําในด้านอุตสาหกรรมและนวัตกรรมพลังงานทดแทนสิ่งแวดล้อม ยานยนต์ และเครื่องจักร ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (3) เพื่อให้มีสัดส่วนการใช้พลังงานจากไฟฟ้า (electrification of the economy) เพิ่มขึ้น ทั้งในภาค ขนส่ง (ส่งเสริม e-mobility ลดการใช้ก๊าซและน้ํามัน) และการทําความร้อนในอาคาร (4) ลดการใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานฟอสซิลให้เป็น 0 (decarbonisation) ภายในปี 93 (ค.ศ. 2050) และ(5) เพื่อสามารถบรรลุเป้าหมายการยกเลิกการใช้พลังงานนิวเคลียร์ภายในปี 65 และจากถ่านหินภายใน ปี 81
[su_spacer]
ทั้งนี้ นโยบายจะครอบคลุมเป้าหมายและมาตรการลดการปล่อย COในทั้ง 3 สาขา (การผลิตไฟฟ้า ขนส่ง และ การทําความร้อนในอาคาร) ซึ่งจะครอบคลุม CO2 ที่ถูกปล่อยได้ทั้งหมด (ปัจจุบันเยอรมนี้ปล่อย CO2 ปีละ 870 ล้านตัน) จาก เดิมที่ครอบคลุม ได้เพียงร้อยละ 40 และเป็นประเทศ ในกลุ่ม G7/G8 ประเทศแรก ที่ใช้กลไกตลาดซื้อขาย certificate กับทุกสาขาที่ปล่อย CO และประกาศชัดว่า จะไม่ใช้กลไกภาษีเพื่อลดการปล่อย CO2
[su_spacer]
มาตรการที่สำคัญ ได้แก่
1.กําหนดให้สถานประกอบการ รวมทั้งกิจการขนส่ง และเจ้าของอาคาร ที่ปล่อย CO, ต้องซื้อ Certificate จากกองทุน Energie- und Ktimafonds (EKF) ของรัฐ ในราคา 10 ยูโรต่อตันในปี 64 และเพิ่มขึ้นทุกปีจนถึง 35 ยูโรต่อตันจนถึงปี 68 และจากปี 69 เป็นต้นไป จะเปิดประมูล certificate ราคาขั้นต่ําที่ 36 ยูโรต่อตัน และเปิดการค้า certificate ได้เสรี มาตรการส่วนนี้จะทําให้ราคาพลังงานเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (energy efficiency – EE) แต่ก็จะเป็นภาระต่อครัวเรือนและสถานประกอบการ
2.นํารายได้จากการขาย certificate ของ EKF ไปอุดหนุนการผลิต renewable energy ทําให้ราคา renewable energy ถูกลง และรัฐบาลสามารถลดเงินที่เก็บเพิ่มจากครัวเรือนและสถานประกอบการเพื่อมาอุดหนุน renewable energy ทําให้ราคาพลังงานลดลง โดยเฉพาะค่า ไฟฟ้าซึ่งใช้ renewable energy มากที่สุด และจะเป็นผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคการขนส่งและการทําความร้อนหันมาใช้ renewable energy หรือหันมาใช้พลังงานไฟฟ้าที่มาจาก renewable energy มากขึ้น
3 พัฒนาโครงสร้างพื้ฐาน เช่น
– ติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าสําหรับ EV ทั้งหมด 1 ล้านจุดภายในปี 73
– ลงทุนเป็นมูลค่า 9 หมื่นล้านยูโรภายในปี 73 เพื่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเพิ่มเติม
4. มาตรการรายสาขา
4.1 อุตสาหกรรมยานยนต์
– ลดภาษีรถยนต์ไฮบริด EV และรถยนต์โฮโดรเจน (Fuel Cell EV/ FCEV)
– เพิ่มเงินอุดหนุนการซื้อ EV จากคันละ 4,000 ยูโร เป็นมากที่สุดถึง 40,000 ยูโร เพื่อให้มี EV 10 ล้านคันในปี 73 อุดหนุนการผลิตรถบรรทุกไฟฟ้า
– ขึ้นภาษีรถ SUVs และรถยนต์ขนาดใหญ่ตามอัตราการปล่อย CO2
– อุดหนุนอุตสาหกรรมแบตเตอรี่สําหรับ EV เซลแบตเตอรี่ FCEV รถบรรทุกไฟฟ้า (ซึ่งเยอรมนี้มี งานวิจัยมากพอสมควร แต่การพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่เข้าสู่ตลาดได้ยังล้าหลังกว่าประเทศคู่แข่ง เช่น ญี่ปุ่น, สหรัฐฯ และจีน) และเครื่องเก็บไฟฟ้าที่ผลิตจาก RE (storage) ซึ่ง รัฐบาล สหพันธ์ฯ จะออกมาตรการมูลค่า 1 พันล้านยูโร เพื่อสนับสนุนในส่วนนี้ ภายในสิ้นปี 62 และจะร่วมมือพัฒนานวัตกรรมกับประเทศในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศส
4.2 อุตสาหกรรม Biofuel ยกเลิกการอุดหนุน b iofuel จากพืชที่สามารถใช้เป็นอาหารได้ เช่น พืชน้ํามัน เอธานอล (1st generation biofuel) เพิ่มการอุดหนุนการผลิต biofuel จากชีวมวล ขยะ วัสดุเหลือใช้จากภาคเกษตร (2nd generation biofuel) เซลสาหร่าย (3rd generation biofuel)
4.3 พลังงานแสงอาทิตย์ อุดหนุนการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ (PV) และระบบ PV อย่างไม่จํากัด (4) หลังงานลม อุดหนุนการผลิตพลังงานลมให้เพิ่มขึ้นอีก 1/3 ภายในปี 73 (เฉพาะ off-shore)
4.5 การก่อสร้างอาคาร phase-Out การใช้น้ํามันและก๊าซเป็นเชื้อเพลิงทําความร้อนในอาคาร ภายในปี 69 ห้ามอาคารใหม่ใช้น้ํามันและก๊าซเป็นเชื้อเพลิงในการทําความร้อน และ คืนค่าใช้จ่ายร้อยละ 40 การเปลี่ยนแปลง ระบบทําความร้อนในอาคาร ให้ใช้ RE
4.6 เพิ่มการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม (RDI) ในสาขา RE storage technology การจัดการโครงข่ายพลังงาน แบตเตอรี่ EV/FCEV2 และ 3 generation biofuel เทคโนโลยีการลด พลังงานในอุตสาหกรรมดิจิทัลและ IT และการเก็บ CO2 (CO2 storage)
[su_spacer]
และมาตรการสนับสุนนอื่น ๆ เช่น เพิ่มเงินอุดหนุนผู้ใช้รถสาธารณะ และลดราคาบัตรโดยสาร รถไฟลงร้อยละ 10 – 12 ขึ้นภาษีเชื้อเพลิงการบิน ทําให้ราคาบัตรโดยสารเครื่องบินเพิ่มขึ้นประมาณ 18 – 70 ยูโร จัดตั้ง กองทุน Decarbonisation Innovation Fund และตั้งศูนย์เรียนรู้การปรับตัวเข้าสู่ carbon-free economy ให้แก่ SMEs ในลักษณะคล้ายกับศูนย์การเรียนรู้ด้านอุตสาหกรรม 4.0 (Industrie 4.0 Kompetenzentren) ที่มีอยู่ทั่วเยอรมนี และได้ถูก นําไปปรับใช้ในไทยภายใต้กรอบคณะทํางานประชารัฐไทย-เยอรมันเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0
[su_spacer]
ซึ่งข้อคิดเห็นของภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีต่อนโยบายนั้น ได้รับการสนับสนุนในประเด็น
(1) การทําให้ CO) มีราคา (CO, pricing) ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการปล่อย CO2 ถือเป็นต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม ที่ทุกภาคส่วนต้องตระหนักและร่วมกันแก้ปัญหา
(2) การปล่อย CO) ในภาคการขนส่งและการทําความร้อน ซึ่งแต่เดิมไม่อยู่ในสมการ ถูกคํานวณเป็น ต้นทุนด้วย การขยายกลไกตลาดให้ครอบคลุมทั้งสองภาคพลังงานที่เหลือนี้จะช่วยกระจายภาระต้นทุนอย่างเป็นธรรมมากขึ้น และสะท้อนความเป็นจริงมากขึ้น อันจะช่วยผลักดันการลดการปล่อย CO2 ให้ลดลงได้เร็วขึ้น
(3) รัฐบาลสหพันธ์ฯ เลือกลดการปล่อย CO2 ด้วยกลไกตลาดที่กระทบทุกคนในสังคม และไม่ใช้กลไก ภาษีซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ และอาจทําให้เกิดความไม่พอใจในบางกลุ่มได้
[su_spacer]
แต่ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหลายด้าน เช่น ต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้น และผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบิน เยอรมันจากการเพิ่มภาษีการบิน หรือภาคประชาสังคมด้านสิ่งแวดล้อม และพรรคเขียว มองว่า หากไม่มีกระแสการประท้วง (Friday for the Future) รัฐบาลสหพันธ์ฯ ก็จะไม่ใส่ใจปัญหานี้ และราคา CO2 ที่ตันละ 10 ยูโรยังต่ําไปเมื่อเทียบกับราคาในตลาด จนไม่น่าจะเป็นแรงจูงใจให้ ผู้ประกอบการและครัวเรือนปรับตัว และเสนอว่า ราคาควรอยู่ที่ตันละ 50 ยูโรเป็นอย่างต่ํา
[su_spacer]
ข้อสังเกตต่อโอกาสทางเศรษฐกิจของไทย
1.นโยบายดังกล่าวน่าจะช่วยกระตุ้นทั้งอุปสงค์และอุปทานอุตสาหกรรมยานยนต์ EV ทั้ง hybrid และ plug-in และอุตสหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น การพัฒนาแบตเตอรี EVFCEV ตลอดจนอุตสหกรรมด้าน RE และ EE ทั้ง storage smart building เครื่องจักรที่ไม่ปล่อย CO2 2nd และ 3rd generation biofuel และทําให้เกิดการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นในอุตสหกรรมข้างต้น ซึ่งจะทําให้เอกชนเยอรมนี้ต้องลดต้นทุนทั้งด้านการผลิตและการสร้างนวัตกรรม จึงน่าจะเป็นโอกาสที่ไทยจะ สามารถเร่งดึงดูดการลงทุนจากเยอรมนี้ในด้านดังกล่าวให้มาที่ไทยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขารถยนต์โฮโดรเจน (Fuel Cell Ey) ซึ่งเอกชนเยอรมันยังไม่มีการลงทุนในไทย แต่จะเป็น next-generation automotive ที่ใช้แบตเตอรี่ที่ส่งผลเสีย ต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าแบตเตอรี่ EV
(2) การถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านพลังงานและ e-mobility ผ่านกลไกการหารือกับภาคส่วนต่าง ๆ ของเยอรมนี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรอบ IEC และหุ้นส่วนด้านพลังงาน (“Energiepartnerschaft”) ตลอดจนการสร้าง dialogue platform ในด้านดังกล่าวกับสมาพันธ์อุตสหกรรมยานยนต์เยอรมัน Verband Deutsche Automobilindustrie (VDA) ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเบอร์ลิน และศูนย์เรียนรู้การปรับตัวเข้าสู่ carbon-free economy (ข้อ 1.4.5) ในลักษณะคล้ายกับ คณะทํางานประชารัฐไทย-เยอรมันเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน