ผลการประชุม Commission on Science and Technology Development (CSTD) สมัยที่ 25 ระหว่างวันที่ 28 มี.ค. – 1 เม.ย. 2565 ในมิติด้านอุตสาหกรรม 4.0 และการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนผ่านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (STI) มีดังนี้
อุตสาหกรรม 4.0
ประเทศกําลังพัฒนามีความจําเป็นจะต้องใช้ประโยชน์จากอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาอยางมีส่วนรวม โดยเน้นการใช้ smart production จากการใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัย เช่น หุ่นยนต์ที่สามารถทํางานร่วมกับมนุษย์ (cobots) 3D printers และ AI อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรม 4.0 ยังเป็นเรื่องที่ห่างไกลความเป็นจริงในประเทศกําลังพัฒนาต่าง ๆ ซึ่งประเทศเหล่านี้จะต้องมีการปรับสภาพอุตสาหกรรม สนับสนุนภาคการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก่อน
ดังนั้นประเทศกําลังพัฒนาจึงต้องเร่งพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ผ่านการส่งเสริมการลงทุนด้านการวิจัยและการพัฒนาและด้านนวัตกรรม โดยเฉพาะสําหรับ SMEs และต้องมีการสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ใน SMEs ด้วย นอกจากนี้ อุตสาหกรรม 4.0 จะส่งผลให้มีการเลิกการว่าจ้างแรงงาน จึงต้องมีการเพิ่มทักษะให้แรงงานเพื่อเตรียมรับมือกับปัญหานี้
การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนผ่านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (STI)
ประเทศกําลังพัฒนาจะต้องใช้ STI ในการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การจัดสรรทรัพยากรโดย ซึ่งจะส่งผลให้การใชทรัพยากรมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ การพัฒนาเมืองอยางยั่งยืนจําเป็นที่จะต้องมีการจัดการบริหารข้อมูลในเมืองให้เป็นระบบและสามารถใช้งานร่วมกันได้ในทุกภาคส่วน รวมไปถึงการบูรณาการนโยบายและโครงสร้างการปกครองเมือง
โดย Executive Director ของ UN Habitat ได้กล่าวสรุปแนวทางแนะนําในการใช้ STI เพื่อพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนในสามหลักการคือ (1) การใช้เมืองเป็นฐานเพื่อชี้ให้เห็นถึงความท้าทายและโอกาสในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลว่ามีด้านใดบาง (2) การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียน ความมีประสิทธิภาพของตึก และการลดคาร์บอน และ (3) การวางแผนนโยบายที่ชัดเจนโดยอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ด้านทรัพยากรดิจิทัล
ดร.กิติพงศ์ พร้อมวงศ์ เป็นผู้แทนประเทศไทย ได้กล่าวเน้นย้ำถึง STI รวมไปถึงความร่วมมือทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ว่าต่างมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเมืองอยางยั่งยืน นอกจากนี้ยังได้กล่าวขอบคุณ UNCTAD ที่ได้เน้นความสำคัญของ BCG Model ซึ่งเป็นนโยบายของไทยเพื่อการเติบโตอยางทั่วถึงและยั่งยืนและเป็นแนวปฏิบัติด้านการพัฒนาเมืองอยางยั่งยืนในระดับนานาชาติ ซึ่งได้มีการบรรจุ BCG Model ไว้ในรายงานของเลขาธิการสหประชาชาติอีกด้วย
โดยการดำเนินการที่สำคัญของไทยควบคู่กับการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ได้แก่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสร้างโอกาสในการขยับสถานะทางสังคม (Social Mobility) การลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเปนศูนย์ (Carbon Net Zero Emission) และความมั่นคงด้านสุขภาพและการพัฒนาเขตนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพในยุคหลังโควิด-19 (Health Security – Wellness Innovation Corridor)
อย่างไรก็ดี การพัฒนาเมืองจะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องได้รับการสนับสนุนที่เข้มแข็งจากรัฐบาลและทุกภาคส่วนของสังคม รวมถึงพันธมิตรระหว่างประเทศ ทั้งในแง่ของนโยบายและการนำไปปฏิบัติ
ในยุคที่ทุกสิ่งกำลังเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีและนวัตกรรมกำลังพัฒนารุดหน้ามนุษย์ ส่งผลให้ทุกภาคส่วนต้องเร่งมือพัฒนาศักยภาพให้เท่าทันการเปลี่ยนเปลงเพื่อความอยู่รอดแลเพื่อการเติบโต ผู้ประกอบการไทยควรใช้โอกาสนี้เร่งพัฒนาธุรกิจด้วยเทคโนโลยี รวมไปถึงเพิ่มทักษะแรงงานเพื่อให้เหมาะสมและเท่าทันกับอุตสาหกรรม 4.0
ข้อมูล : คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา
เรียบเรียง : ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์