รัฐบาลฟินแลนด์ได้จัดตั้งคณะทำงาน โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมเทคโนโลยีการสื่อสาร 6G และจัดทําแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนา 6G ระดับชาติ ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลในด้านเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายในอนาคต ทั้งนี้ สมาชิกของคณะทำงานมาจากผู้แทนของหน่วยงานรัฐบาลกลาง รวมถึงจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในภาคการศึกษาวิจัยและธุรกิจ
โดยคณะทำงานดังกล่าวยังมีพันธกิจที่สําคัญในระดับสากล โดยเฉพาะท่าทีที่สําคัญของฟินแลนด์ในเวทีระหว่างประเทศ อาทิ การกําหนดเป้าหมายสําคัญของฟินแลนด์ในการสร้างความเชื่อมโยงเครือข่ายสําหรับคลื่นความถี่วิทยุที่จําเป็นสําหรับเทคโนโลยีการสื่อสารเคลื่อนที่ในอนาคต (the radio frequencies required by next-generation mobile communications technologies) รวมถึงการทบทวนวิธีการรับประกันความปลอดภัยของเครือข่ายในช่วงการเปลี่ยนผ่าน 6G อีกทั้ง การตรวจสอบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความน่าเชื่อถือและการทํางานในแบบบูรณาการ (reliability and interoperability) ซึ่งโดยรวมแล้วมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาเครือข่ายมือถือของคนรุ่นต่อไปให้ปลอดภัยและยั่งยืน
คณะกรรมการ NATO’s Defense Innovation Accelerator for the North Atlantic (DIANA) ได้อนุมัติข้อเสนอของฟินแลนด์ในการจัดตั้งศูนย์ทดสอบด้านเทคโนโลยีเครือข่าย 2 แห่งในฟินแลนด์ (เมือง Oulu และ VTT) โดยศูนย์วิจัย 1 แห่ง (ศูนย์ทดสอบ 6G ที่ Oula) จะมุ่งเน้นไปที่การศึกษาวิจัย 6G โดยเฉพาะการเร่งขับเคลื่อนพัฒนานวัตกรรมกลาโหมของ NATO สําหรับมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ


ศูนย์การพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่าย 6G ในเมือง Oulu ถือเป็นกลุ่มวิจัยเกี่ยวกับ 6G แห่งแรกของโลกที่บุกเบิกและส่งเสริมเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายที่เกี่ยวกับสินค้าที่ใช้ได้สองทาง (dual use items) กล่าวคือ สามารถพัฒนาต่อยอดไปสู่การใช้งานในตลาดเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของฟินแลนด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีองค์กร DIANA เป็นผู้สนับสนุนหลัก ศูนย์ทดสอบ 6G ของเมือง Oulu จึงมีความล้ําสมัยสําหรับสภาพแวดล้อมในการทดสอบ 5G/6G ในการพัฒนาเทคโนโลยีแบบใช้สองทาง
โดยโครงสร้างพื้นฐานที่ล้ําสมัยของศูนย์เครือข่ายทดสอบ 6G ที่ เมือง Oulu มีความสามารถในการวัดสัญญาณความถี่วิทยุ RF สูงถึง 330 GHz มีห้องปฏิบัติการเฉพาะทางที่ช่วยสามารถตรวจสอบเสาอากาศ ที่มี อุปกรณ์ตรวจวัดความถี่วิทยุระดับโลก ห้อง RF anechoic ขนาดใหญ่และสถานีเซ็นเซอร์ RFIC รวมถึงแอปพลิเคชันล้ําสมัยที่ควบคุมเครื่องจักรในการสื่อสารระหว่างครื่องจักร (M2M) ตลอดจนโซลูชันที่บูรณาการกับ AI


ประโยชน์ 6G ที่ฟินแลนด์คาดหวังภายหลังการพัฒนา ได้แก่ การเชื่อมต่อสัญญาณที่เร็วและมั่นคงในทุกด้าน (ทั้งความเร็ว ความหน่วงต่ําและการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น) โดยครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วโลก แม้ใน พื้นที่ห่างไกลหรือในมหาสมุทร ทําให้โลกในอนาคตมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้นไปอีกขั้น และสามารถต่อยอดด้านต่าง ๆ ได้ อาทิ การดาวน์โหลดข้อมูลขนาดใหญ่ในเวลาอันรวดเร็วผ่านผู้ให้บริการรับส่ง ซึ่งปริมาณข้อมูลที่ได้รับย่อมขึ้นอยู่กับความกว้างของคลื่นความถี่ (bandwidth) การควบคุมยานพาหนะไร้คนขับ การผ่าตัดทางไกล การพัฒนาแอปพลิเคชันในโลกเสมือนจริง (VRAR) การพัฒนาระบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) บ้านอัจฉริยะ หรืออุปกรณ์สวมใส่ (wearable devices) ที่ใช้งานได้ครอบคลุมหลากหลาย
ทั้งนี้ ไทยสามารถใช้ประโยชน์จาก 6G อาทิ (1) เศรษฐกิจดิจิทัล อาทิ e-commerce/ FinnTech และ Startup (สามารถพัฒนาแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น) รวมถึงการพัฒนาในระบบอุตสาหกรรมที่ใช้ระบบอัตโนมัติเชื่อมต่อกันด้วย IoT และ M2M (การสื่อสารระหว่างเครื่องจักร) ทําให้เกิดการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุน และเพิ่มคุณภาพสินค้า (2) การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) เช่น ระบบควบคุมการจราจร อัตโนมัติ การจัดการพลังงาน และการจัดการขยะอัจฉริยะ (3) การพัฒนาด้านสาธารณสุข เช่น การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ การพัฒนาระบบตรวจวัดสัญญาณชีพของผู้ป่วย การจัดทําแอปพลิเคชันการดูแลสุขภาพแบบเรียลไทม์ที่ใช้การวิเคราะห์จาก AI ในโรงพยาบาลหรือที่บ้านจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น (4) การศึกษาและการเรียนรู้ทางไกล เช่น การศึกษาเสมือนจริง (Virtual Education) ซึ่งช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ทางไกลที่มีคุณภาพสูง ทั้ง ในรูปแบบ VR/AR ในที่ห่างไกลครอบคลุมทรัพยกรเยาวชนทั่วประเทศ (5) การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว เช่น การให้ข้อมูลนักท่องเที่ยวแบบเรียลไทม์ การใช้ VR เพื่อสร้างประสบการณ์เสมือนจริงก่อนการเดินทาง และการจัดการระบบโลจิสติกส์การเดินทางขนส่ง (6) การเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture) เช่น การทําฟาร์มอัจฉริยะ การควบคุมระบบน้ํา การตรวจสภาพอากาศ และการตรวจสอบสุขภาพพืช/สัตว์ (7) การเพิ่มประสิทธิภาพด้านความมั่นคงปลอดภัย เช่น การเพิ่มความสามารถในการเฝ้าระวังและรักษาความปลอดภัยโดยการใช้กล้อง CCTV อัจฉริยะหรือโดรนสําหรับตรวจตรา
นอกจากนี้ ไทยสามารถพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีในประเทศ เช่น AI การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสทางนวัตกรรมและการลดความเหลื่อมล้ําทางดิจิทัลในอนาคตต่อไปซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อภาคเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวม
ข้อมูล : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ