ด้วยเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ทีมเจรจาของคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปและสภายุโรปสามารถ บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับร่างกฎระเบียบฉบับใหม่เรื่องความเป็นธรรมและความโปร่งใสของบริการออนไลน์สําหรับภาคธุรกิจ (Fairness and transparency for business users of online intermediation services) โดยร่างกฎระเบียบดังกล่าวเน้นเพิ่มความเป็นธรรมและความโปร่งใสของบริการออนไลน์ (online platforms) ที่เปิดให้ผู้ประกอบการรายต่าง ๆ ใช้ในการให้บริการลูกค้า เช่น e-commerce สําหรับผู้ค้ารายย่อย (Amazon Marketplace eBay และ Booking.com) app stores (Google Play และ Apple App Store) social medias (Facebook และ Instragram) และบริการเปรียบเทียบราคาสินค้า/บริการ (Google Shopping และ Skyscanner) ซึ่งอียูหวังว่าจะช่วยให้ผู้ประกอบการต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อยสามารถแข่งขันได้อย่างยุติธรรมและไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบโดยผู้ให้บริการออนไลน์เหล่านี้ ทั้งนี้ ร่างกฎระเบียบนี้ไม่รวมร้านค้าออนไลน์ที่ขายเฉพาะสินค้า/บริการของตนโดยมิได้ให้บริการผู้ประกอบการรายย่อยอื่น ๆ เช่น Apple Store [su_spacer size=”20″]
ภายใต้ร่างกฎระเบียบดังกล่าว ผู้ให้บริการออนไลน์จะต้องปฏิบัติ ดังนี้ [su_spacer size=”20″]
(1) ห้ามระงับหรือยกเลิกบัญชีของผู้ประกอบการโดยไม่มีเหตุผลที่ชัดเจนและกลไกในการอุทธรณ์ รวมทั้งต้องจัดทําเงื่อนไขการใช้บริการด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายและแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วันหากมี การแก้ไขเงื่อนไขการใช้บริการ [su_spacer size=”20″]
(2) ต้องแจ้งวิธีการจัดอันดับ (เช่น อันดับผู้ขาย) ที่ชัดเจนเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพยายามเพิ่มอันดับของตนได้ นอกจากนี้ ผู้ให้บริการออนไลน์ที่มีการขายสินค้า/บริการด้วยตนเองด้วย เช่น Amazon ต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับข้อได้เปรียบต่าง ๆ ที่สินค้า/บริการของตนได้รับ เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้า เพื่อให้ผู้ประกอบการรายอื่น ๆ สามารถแข่งขันได้อย่างยุติธรรม [su_spacer size=”20″]
(3) ต้องเปิดให้มีช่องทางร้องเรียนและกลไกการระงับข้อพิพาทที่มีคนกลางเป็นผู้ไกล่เกลี่ย [su_spacer size=”20″]
(4) สมาคมธุรกิจต้องสามารถฟ้องร้องผู้ให้บริการออนไลน์แทนผู้ประกอบการรายย่อยได้ นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกยังสามารถจัดตั้งหน่วยงานเพื่อบังคับใช้กฎระเบียบดังกล่าวได้ โดยผู้ประกอบการสามารถพึ่งพาหน่วยงานที่ตั้งขึ้นในการฟ้องร้องผู้ให้บริการออนไลน์ [su_spacer size=”20″]
ร่างกฎระเบียบนี้ครอบคลุมผู้ให้บริการออนไลน์ที่ให้บริการผู้ประกอบการในอียในการขายสินค้า/บริการให้กับลูกค้าในอียู ไม่ว่าผู้ให้บริการออนไลน์ดังกล่าวจะอยู่ในอียูหรือไม่ [su_spacer size=”20″]
ในขั้นตอนต่อไป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปและสภายุโรปจะต้องให้ความเห็นชอบร่างกฎระเบียบดังกล่าวอย่างเป็นทางการก่อนที่กฏระเบียบจะมีผลบังคับใช้ โดยในชั้นนี้คาดว่าจะสามารถเสนอขอความเห็นชอบจากสภายุโรปได้ในวันที่ 4 เมษายน 2562 ก่อนสภายุโรปชุดปัจจุบันจะหมดวาระ [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ จะสังเกตได้ว่า อียูเสนอกรอบบังคับการดําเนินงานของผู้ให้บริการออนไลน์ดังกล่าวเนื่องจากปัจจุบันบริการ e-commerce มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วทั่วโลก ผู้ประกอบการ SME ของยุโรปกว่าครึ่งใช้บริการออนไลน์เหล่านี้ในการเข้าถึงลูกค้า และมักได้รับผลกระทบจากแนวปฏิบัติที่ไม่โปร่งใสหรือไม่เป็นธรรมของผู้ให้บริการออนไลน์ต่าง ๆ [su_spacer size=”20″]
สําหรับไทย ในปี 2561 ธุรกิจ e-commerce มีมูลค่ารวม 3.2 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ซึ่งสูงที่สุดในอาเซียน แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีธุรกิจให้บริการออนไลน์ในอียูในรูปแบบดังกล่าว แต่ผู้ประกอบการไทยน่าจะได้รับประโยชน์จากกฎระเบียบดังกล่าวในการขายสินค้า/บริการในตลาดอียูจากแนวปฏิบัติด้านความเป็นธรรมและความโปร่งใสที่เพิ่มมากขึ้น โดยหน่วยงานและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องควรติดตามพัฒนาการในเรื่องนี้ เพื่อให้ทราบสิทธิและสามารถใช้ประโยชน์จากกฎระเบียบฉบับนี้ได้อย่างเต็มที่ [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์/ คณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป