ด้วยเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ประชุมเอกอัครราชทูตและคณะผู้แทนถาวรประเทศสมาชิกอียูได้ให้ความเห็นชอบผลข้อตกลงที่ทีมเจรจาของคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปและสภายุโรปสามารถเห็นชอบร่วมกันเกี่ยวกับการปฏิรูปกฎด้านวีซ่า (Visa Code) ของเขตเชงเกนตามข้อเสนอของคณะกรรมาธิการยุโรป โดยการปฏิรูปดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่ออํานวยความสะดวกให้กับการเดินทางของผู้ที่มีเหตุผลสมควร ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว การค้า และการลงทุน ในขณะเดียวกันก็เพิ่มประสิทธิภาพในการกลั่นกรองผู้ยื่นคําร้อง ซึ่งจะมีส่วนช่วยส่งเสริมความปลอดภัยและมั่นคง โดยจํากัดเฉพาะวีซ่าระยะสั้นสําหรับการพํานักในเขตเชงเกนไม่เกิน 90 วันในรอบ 180 วัน [su_spacer size=”20″]
สาระสําคัญของร่าง Visa Code [su_spacer size=”20″]
1) เพิ่มความยืดหยุ่นในการยื่นขอวีซ่า เช่น สามารถยื่นได้ล่วงหน้า 6 เดือน (จากปัจจุบัน 3 เดือน) สามารถยืนได้ในประเทศที่มีถิ่นพํานัก (ยกเว้นเพียงบางกรณี) และสามารถยื่นผ่านระบบออนไลน์ได้ นอกจากนี้ เยาวชนอายุ 6-18 ปี อาจได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่า [su_spacer size=”20″]
2) เพิ่มระยะเวลาสําหรับวีซ่าแบบเข้า-ออกหลายครั้ง (multiple-entry) สําหรับผู้ที่มีประวัติการเดินทางที่ดี โดยสามารถเพิ่มทีละน้อยตั้งแต่ 1-5 ปี [su_spacer size=”20″]
3) เพิ่มค่าธรรมเนียมการขอวีซ่า จาก 60 ยูโร เป็น 80 ยูโร เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถ เพิ่มทรัพยากรที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพต่างๆ ในการกลั่นกรองได้ [su_spacer size=”20″]
4) เพิ่มความร่วมมือในการส่งกลับประเทศที่สาม (readmission) โดยประเทศที่สามที่ให้ความร่วมมือดีจะได้รับประโยชน์จากระยะเวลาการยื่นขอวีซ่าที่สั้นลง ค่าธรรมเนียมที่ลดลง/การยกเว้น ค่าธรรมเนียมในบางกรณี และระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต (length of validity) ที่เพิ่มขึ้น [su_spacer size=”20″]
ซึ่งในขั้นตอนต่อไป ร่าง Visa Code ดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบอย่างเป็นทางการจากสภายุโรปและคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป โดยจะมีผลใช้บังคับ 6 เดือนหลังการตีพิมพ์ใน Official Journal of the EU ซึ่งในชั้นนี้คาดว่าจะสามารถเสนอเข้าที่ประชุมเต็มคณะของสภายุโรปได้ภายในเดือน มี.ค. 2562 เพื่อให้ แล้วเสร็จก่อนสภายุโรปชุดปัจจุบันหมดวาระ [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ แม้การปฏิรูปดังกล่าวจะมีนัยเป็นการอํานวยความสะดวกเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว การค้า และการลงทุน แต่มีการนําประเด็นการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติมาเชื่อมโยงกับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ประเทศที่สามอาจได้รับ [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ / คณะผู้แทนไทยประจําสหภาพยุโรป