เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 คณะกรรมาธิการยุโรปได้เผยแพร่กฎระเบียบที่ 2019/159 เกี่ยวกับการบังคับใช้มาตรการคุ้มครอง (definitive safeguard measure) สําหรับสินค้าเหล็ก 28 รายการ โดยจะเก็บภาษีศุลกากร ร้อยละ 25 กับสินค้าที่มีการนําเข้าเกินปริมาณการนําเข้าปกติ (เฉพาะส่วนที่เกินปริมาณการนําเข้าปกติ ซึ่งคํานวนจากปริมาณการนําเข้าเฉลี่ยในอดีตและเพิ่มขึ้นตามลําดับในแต่ละปีในรูปแบบของ tariff rate quota) ทั้งนี้ มาตรการคุ้มครองดังกล่าวมีผลบังคับใช้ไม่เกิน 3 ปี และสามารถทบทวนได้หากสถานการณ์การนําเข้ามีการเปลี่ยนแปลง ดังรายละเอียดปรากฏตามกฎระเบียบที่ https://goo.gl/ZEhd4k [su_spacer size=”20″]
อียูยกเว้นการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองดังกล่าวกับสินค้าจากประเทศกําลังพัฒนาที่มีการส่งออกมายังอียูต่ำกว่าร้อยละ 3 โดยในกรณีของไทยได้รับยกเว้นการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองกับสินค้า 27 รายการ มีเพียงสินค้า Stainless Cold Rolled Sheets and Strips ที่เข้าข่ายต้องถูกเก็บภาษีเพิ่มหากมีการส่งออกเกินโควต้าที่ได้รับ โดยการให้โควตามีส่วนหนึ่งจัดสรรให้กับผู้ส่งออกรายใหญ่เป็นรายประเทศ และส่วนที่เหลือเป็นการจัดสรรแบบ first-Come-first-serve ซึ่งกรณีของไทยมีการส่งออกน้อยจึงไม่ได้รับการจัดสรรแบบรายประเทศ แต่ต้องขอรับการจัดสรรจากโควต้ารวมที่เหลือ [su_spacer size=”20″]
การประกาศใช้มาตรการดังกล่าวเป็นแนวโน้มท่าทีของอียูที่พร้อมนําเครื่องมือต่างๆ ที่มีมาใช้ในการปกป้องผลประโยชน์ของตน แม้จะย้ำเสมอว่า อียูสนับสนุนระบบการค้าเสรี ดังนั้น ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องของไทยจึงควรเตรียมความพร้อมและปรับแผนการผลิต/การส่งออกให้ทันท่วงที เพื่อมิให้ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์/ คผถ. ประจำสหภาพยุโรป