เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 ผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรป สภายุโรป และคณะมนตรียุโรป ภายใต้การนำของออสเตรียในฐานะประธานคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปได้เห็นชอบข้อตกลงชั่วคราว (Provisional Agreement) สําหรับกรอบการดําเนินงานด้านการคัดกรองการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อเสนอกฎระเบียบด้านการค้าและการลงทุนของคณะกรรมาธิการยุโรปเมื่อปลายปี 2560 [su_spacer size=”20″]
ข้อตกลงดังกล่าวมีที่มาจากการที่อียูเป็นจุดหมายปลายทางสําคัญของนักลงทุนต่างชาติและเป็นตลาดที่เปิดเสรี ทําให้มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความสําคัญทางยุทธศาสตร์จํานวนมาก โดยหลายกรณีมิใช่การลงทุนที่เกิดขึ้นจากกลไกทางตลาด ยกตัวอย่างเช่น กรณีรัฐวิสาหกิจหรือบริษัทเอกชนที่มีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลต่างประเทศเข้ามากว้านซื้อบริษัทยุโรปที่มีเทคโนโลยีใหม่หรือเทคโนโลยีที่ใช้ได้สองทาง (dual use) ซึ่งสามารถนําไปปรับใช้เป็นอาวุธ ได้ อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หุ่นยนต์ และเทคโนโลยีนาโน รวมถึงการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทโครงสร้างพื้นฐานที่ มีความสําคัญทางยุทธศาสตร์ ซึ่งสามารถนําไปใช้ในทางที่ผิดและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของอียูและความสงบเรียบร้อยของประชาชน [su_spacer size=”20″]
ปัจจุบัน มีประเทศสมาชิกอียูเพียง 13 ใน 28 ประเทศที่มีกฎหมายสําหรับการคัดกรองการลงทุนจากต่างประเทศ โดยข้อตกลงฉบับนี้จะเป็นการรักษาอํานาจดังกล่าวเพื่อให้สิทธิ์ในการตรวจสอบและปฏิเสธการลงทุนจากต่างประเทศโดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย ในขณะเดียวกันประเทศสมาชิกไม่จําเป็นต้องพัฒนากลไกใหม่หรือคงกลไกการคัดกรองการลงทุนเดิม แต่กลไกที่มีอยู่แล้วและกลไกใหม่จะต้องสอดคล้องกับกรอบกฎเกณฑ์ที่จะต้องใช้ เหมือนกันทั้งอียู เช่น หลักการไม่เลือกปฏิบัติ การมีมาตรการคุ้มครองข้อมูลลับ สิทธิที่จะได้รับการเยียวยาจากอํานาจตุลาการในกรณีพิพาทกับหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับคําสั่งหรือกระบวนการที่มีการกําหนดไว้ชัดเจน [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ กฎระเบียบฉบับนี้จะทําให้คณะกรรมธิการยุโรปสามารถออกความเห็น (Advisory Opinion) ถึงประเทศสมาชิกในกรณีที่คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นว่าการลงทุนจากต่างประเทศอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงหรือความ สงบเรียบร้อยของประชาชนในประเทศสมาชิกอียูแม้ในกรณีที่ประเทศสมาชิกดังกล่าวไม่มีกลไกคัดกรองการลงทุน [su_spacer size=”20″]
รวมทั้งยังกําหนดให้มีกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกและคณะกรรมาธิการยุโรป เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลการคัดกรองการลงทุนจากต่างประเทศ เช่น โครงสร้างการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติและแหล่งเงินทุน เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
ในขั้นต่อไป ผู้แทนของคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปและสภายุโรปจะต้องเสนอร่างข้อตกลงชั่วคราวดังกล่าวให้คณะทํางานและคณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องของแต่ละสถาบันพิจารณาตามลําดับขั้น โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปและสภายุโรปให้ความเห็นชอบอย่างเป็นทางการ ดังนั้นผู้ประกอบการไทยที่สนใจลงทุนในตลาดยุโรปควรคํานึงถึงกฎระเบียบที่จะออกมาใหม่นี้ด้วย โดยต้องเตรียมความพร้อมเรื่องความโปร่งใสตามที่อียูคาดหวังจากนักลงทุนต่างประเทศ [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์