คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2018/1039 concerning the authorization of Copper (II) diacetate monohydrate, Copper (II) carbonate dihydroxy monohydrate, Copper (II) chloride dihydrate, Copper (II) oxide, Copper (II) sulphate pentahydrate, Copper (II) chelate of amino acids hydrate, Copper (II) chelate of protein hydrolysates, Copper (II) chelate of glycine hydrate (solid) and Copper (II) chelate of glycine hydrate (liquid) as feed additives for all animal species and amending Regulation (EC) No 1334/2003, (EC) No 479/2006 and (EU) No 349/2010 and Implementing Regulation (EU) No 269/2012, (EU) No 1230/2014 and (EU) 2016/2261 ใน EU Official Journal L186/3 สรุปสาระสำคัญของประกาศดังกล่าว ดังนี้ [su_spacer size=”20″]
1. คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นชอบให้ สาร Copper (II) diacetate monohydrate สาร Copper (II) carbonate dihydroxy monohydrate สาร Copper (II) chloride dihydrate สาร Copper (II) oxide สาร Copper (II) sulphate pentahydrate สาร Copper (II) chelate of amino acids hydrate สาร Copper (II) chelate of protein hydrolysates สาร Copper (II) chelate of glycine hydrate (solid) และสาร Copper (II) chelate of glycine hydrate (liquid) เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ (feed additive) ภายใต้กลุ่มสารบำรุงร่างกาย (nutritional additives) กลุ่ม compound of trace elements เนื่องจากเห็นว่า สารดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อสุ ขภาพสัตว์ ความปลอดภัยของผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม โดยอนุญาตให้ใช้กับสัตว์ทุกชนิ ดเป็นระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่วันที่กฎระเบียบฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ไปจนถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2571 โดยมีรายละเอียดปริมาณการใช้ สารในสัตว์แต่ละชนิ ดตามปรากฏในภาคผนวก[su_spacer size=”20″]
2. คณะกรรมาธิการยุโรปยังได้ กำหนดให้เปลี่ยนชื่อสาร Cupric เป็น Copper (II) และให้แยกกลุ่มสาร Copper (II) chelate of amino acids เป็น Copper (II) chelate of amino acids hydrate และ Copper (II) chelate of protein hydrolysates เนื่องจากสารดังกล่าวมีส่ วนผสมของนิกเกิลซึ่งมีความเสี่ ยงต่อผู้ใช้ จึงเห็นควรกำหนดมาตรการในการใช้ งานที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการสั มผัสสารดังกล่าวขณะปฏิบัติงาน (ตามตารางที่ปรากฏในภาคผนวก) และไม่อนุญาตให้ใช้ผสมในน้ำดื่ มสัตว์[su_spacer size=”20″]
3. แก้ไข Annex ของ Regulation (EC) No 1334/2003 ในหมวด E4 โดยตัดสารกลุ่ม Copper-Cu: สาร cupric acetate สาร monohydrate สาร basic cupric carbonate สาร monohydrate สาร cupric chloride สาร dihydrate สาร cupric oxide สาร cupric sulphate สาร pentahydrate สาร copperlysine sulphate สาร cupric chelate of amino acids และสาร hydrate ออกจากหมวดดังกล่าว[su_spacer size=”20″]
4. แก้ไข Annex ของ Regulation (EC) No 479/2006 ในหมวด E4 โดยตัดสาร Cupric chelate of glycine hydrate ออกจากหมวดดังกล่าว[su_spacer size=”20″]
5. กฎระเบียบดังกล่าวได้อนุโลมช่ วงเวลาเปลี่ยนผ่าน ดังนี้[su_spacer size=”20″]
5.1 สินค้าที่มีส่วนประกอบของสาร cupric acetate สาร monohydrate สาร basic cupric carbonate สาร monohydrate สาร cupric chelate of glycine hydrate สาร copper compounds รวมทั้งสารผสมล่วงหน้า (premixture) ที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่ าสินค้านั้นจะหมดไปจากคลังสินค้ า
5.2 วัตถุดิบอาหารสัตว์ (feed materials) และอาหารสัตว์ผสม (compound feeds) สำหรับสัตว์ที่ใช้เป็นอาหาร ที่มีส่วนประกอบของสารดังกล่ าวข้างต้น โดยผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 13 สิงหาคม 2562 ซึ่งได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบเดิ มก่อนวันที่ 13 สิงหาคม 2561 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่ าสินค้านั้นจะหมดไปจากคลังสินค้ า
5.3 วัตถุดิบอาหารสัตว์ (feed materials) และอาหารสัตว์ผสม (compound feeds) สำหรับสัตว์ที่ไม่ใช้เป็ นอาหารที่มีส่วนประกอบของสารดั งกล่าวข้างต้น โดยผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 13 สิงหาคม 2563 ซึ่งได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบเดิ มก่อนวันที่ 13 สิงหาคม 2561 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่ าสินค้านั้นจะหมดไปจากคลังสินค้ า [su_spacer size=”20″]
6. กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากประกาศใน EU Official Journal (ประกาศในวันที่ 24 กรกฎาคม 2561) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่ าวสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ จากเว็บไซต์ https://eur-lex.europa.eu/ legal-content/EN/TXT/PDF/?uri= CELEX:32018R1039&from=EN
[su_spacer size=”20″]
Thaieurope.net