ภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นภาคส่วนที่ใช้ทรัพยากรเปลืองเเละมีผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อมสูง ไม่ว่าจะเป็นการใช้วัตถุดิบเเละน้ำในขั้นตอนกระบวนการผลิตในปริมาณสูง เเละเป็นเเหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเป็นลำดับที่ 5 หรือ 10% ของโลก ดังนั้น สหภาพยุโรป (อียู) จึงได้ระบุให้อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญเเละมีศักยภาพในการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน ภายใต้นโยบายเศรษฐกิจสีเขียว (European Green Deal) เเผนปฏิบัติด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของอียู ตลอดจนเเผนยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมของอียู
.
หนึ่งในมาตรการปฏิวัติอุตสาหกรรมสิ่งทอให้มีความยั่งยืนมากขึ้น คือ การใช้นวัตกรรมสิ่งทอสีเขียวมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์เเละกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อมที่สุด โดยเลือกใช้องค์ความรู้เเละเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อลดกระทบต่อวิ่งเเวดล้อม โดยมีนวัตกรรมฯ ที่น่าสนใจในยุโรป
.
นวัตกรรมเเปลงขยะให้เป็นเส้นใยใหม่ของบริษัท Infinite Fiber ประเทศฟินเเลนด์ ผู้คิดค้นการผลิตผ้า “Infinna” ซึ่งทำมาจากวัสดุรีไซเคิล 100% โดยการนำขยะหลังการบริโภคเเละขยะโรงาน เช่น เสื้อผ้า ของเสียจากภาคการเกษตร กระดาษเเข็งใช้เเล้ว เเละวัสดุที่ทำมาจากเซลลูโลส (โมเลกุลจากพืซ) ไปผ่านกระบวนการรีไซเคิล 7 ขั้นตอน เพื่อขจัดสิ่งเเปลกปลอมเเละวัตถุดิบที่ไม่ใช่เซลลูโลสออก เช่น กระดุม โพลิเอสเตอร์ เเละสารเคมี เพื่อคัดเเยกเเละนำเส้นใยธรรมชาติจากขยะกลับมาใช้อีกครั้ง
.
จุดเด่นของนวัตกรรมนี้ คือ การนำเซลลูโลสจากขยะมาปั่นเป็นเส้นใยใหม่ โดยใช้วิธีการปั่นเส้นใยเเบบเปียก (wet spun) ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกับการผลิตเส้นในวิสโคส (viscose) ในปัจจุบัน จึงทำให้การนำเทคโนโลยีรีไซเคิลใหม่นี้ไปใช้ในโรงงานเก่าสามารถทำได้ทันที เเละไม่จำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์พิเศษเพิ่มเติม นอกจากนี้ เนื้อผ้าที่ได้ยังคงคุณสมบัติความนิ่มเหมือนผ้าฝ้าย ทำให้ได้รับความสนใจจากวงการเเฟชั่น ตลอดจนได้ร่วมมือกับยี่ห้อเสื้อผ้าชั้นนำต่างๆ เช่น H&M Group Patagonia เเละ Adidas ในการเปลี่ยนวงการเเฟชั่นให้มีความยั่งยืนมากขึ้น
.
ประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรมสิ่งทอสีเขียวสูง เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลาย มีความรู้จากภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นทุนเดิม ซึ่งหากนำมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ อาจมีโอกาสพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมเเละเทคโนโลยีสิ่งทอสีเขียว ช่วยยกอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยให้สามารถเเข่งขันกับสินค้ายั่งยืนจากต่างประเทศได้อย่างเเน่นอนเเละเป็นโอกาสในการนำพาอุตสาหกรรมไทยไปสู่ “การเติบโตสีเขียว” (Green growth) และเป็นการ “เปลี่ยนขยะเป็นเงิน”
.
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ เเละ คณะผู้เเทนไทยประจำสหภาพยุโรป