เมื่อเดือนมีนาคม 2563 อียูได้จัดทํายุทธศาสตร์อุตสาหกรรม (European Industrial Strategy) เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียวและดิจิทัล อย่างไรก็ดี ภายหลังการประกาศยุทธศาสตร์ดังกล่าว อียูได้เผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งสั่นคลอนระบบห่วงโซ่อุปทานของอียูอย่างรุนแรง อียูจึงได้ปรับปรุงยุทธศาสตร์อุตสาหกรรม เผยแพร่เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2564 โดยยุทธศาสตร์อุตสาหกรรม ฉบับปรับปรุง ได้มุ่งเป้าหมาย 3 ประการหลัก ดังนี้
- Strengthening Single Market Resilience: ผ่านมาตรการ (1) Single Market Emergency Instrument เพื่อให้อียูมีเครื่องมือทางกฎหมายที่จะรับรองการเคลื่อนย้ายโดยเสรีของผู้คน สินค้า และบริการในสถานการณ์วิกฤต (2) Single Market Monitoring เพื่อให้มีข้อมูลครบถ้วนขึ้นเกี่ยวกับสถานการณ์ของอุปทานสินค้าต่าง ๆ ในอียู และ (3) การช่วยเหลือ SMEs โดยเฉพาะปัญหาการจ่ายเงินล่าช้าและปัญหาสภาพคล่องของ SMEs
- Dealing with the EU’s strategic dependencies: อียูระบุว่า 85% ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในทศวรรษหน้าจะเกิดขึ้นนอกอียู ดังนั้น อียูจึงเห็นความสําคัญของการเปิดรับการค้ากับต่างประเทศ (openness to trade) อย่างไรก็ดี อียู จําเป็นต้องปรับปรุงจุดอ่อนในส่วนของสินค้าที่พึ่งพาต่างประเทศสูง โดยจากสินค้าที่อียูนําเข้า 5,200 รายการ คณะกรรมาธิการยุโรปพบว่ามีสินค้า 137 รายการ ที่อียูพึ่งพาการนําเข้าจากต่างประเทศสูง และมีความเป็นไปได้น้อยที่จะหาสินค้าทดแทนได้ในอียู ซึ่งคิดเป็น 6% ของมูลค่าการนําเข้าทั้งหมด โดยเป็นสินค้าในกลุ่ม (1) วัตถุดิบและวัสดุแปรรูป และสารเคมี (2) สินค้าการแพทย์ (PPE และ สารออกฤทธิ์ในยา (API) และ (3) สินค้าสําหรับการผลิตพลังงานสะอาด การขนส่งสีเขียว ดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์ โดยส่วนใหญ่มาจากจีน (52% ของมูลค่าของสินค้าในกลุ่มที่อียูมีการพึ่งพาการนําเข้าสูง) เวียดนาม (11%) บราซิล (5%) สิงคโปร์ (4%) เกาหลีใต้ (4%) สหรัฐอเมริกา (36) สหราชอาณาจักร (39%) รัสเซีย (36) ญี่ปุ่น (36) นอกจากนี้ สินค้าจํานวน 34 รายการ ถือว่ามีความเปราะบางสูงเป็นพิเศษ เพราะมี นัยสําคัญเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic importance) ไม่ว่าจะเป็น แบตเตอรี่ สารออกฤทธิ์ในยา (API) ไฮโดรเจน เซมิคอนดัคเตอร์ หรือเทคโนโลยี Cloud and Edge โดย คณะกรรมาธิการยุโรปได้จัดทํารายงานวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับสินค้า 6 รายการนี้ด้วย
นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการยุโรป ได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการพึ่งพาการนําเข้าสูงของอียู เช่น การกระจายการทําการค้ากับหลากหลายประเทศ (ผ่านการทํา FTA) การสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) และการก่อตั้ง industrial alliances เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมและสร้างธุรกิจประเภทใหม่ ๆ โดยปัจจุบันมีการก่อตั้ง European Battery Alliance และ European Raw Materials Alliance แล้ว และ คณะกรรมาธิการยุโรปยังมีแผนจัดตั้ง Alliance on processors and semiconductor technologies, Alliance for Industrial Data, Edge and Cloud รวมทั้งกําลังพิจารณาเรื่องการจัดตั้ง Alliance on Space Launchers และ Zero Emission Aviatio
- Accelerating the twin transitions: คณะกรรมาธิการยุโรปย้ำความสําคัญของการลงทุนในพลังงานสะอาดและโครงข่ายไฟฟ้า (grids) และได้จัดทํารายงานแนวทางการดําเนินการของอียูเพื่อสนับสนุนการ เปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียวของอุตสาหกรรมเหล็ก (Towards Competitive and clean European Steel) นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปยังมีโครงการ Horizon Europe ซึ่งให้ทุนวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ ซึ่งรวมถึงนักวิจัยจากประเทศที่สามด้วย
จะเห็นได้ว่า การที่อียูมีแนวโน้มในการเปิดตลาดเสรีกับประเทศต่าง ๆ มากขึ้นนั้น ถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพในการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้ผลิตสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกมากที่สุดของประเทศไทย รวมถึงผู้ผลิตแร่ธาตุหายาก (Rare Earth) ที่ประเทศไทยนั้นมีศักยภาพในการผลิตเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก สามารถศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมในการส่งงอกไปยังประเทศในกลุ่มอียูได้
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์/ คณะผู้แทนถาวรประจำสหภาพยุโรป
ขอบคุณรูปภาพจาก: https://www.schumanassociates.com/newsroom/new-industrial-strategy-for-europe