การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โลกดิจิทัลก็หนี ไม่พ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นมาตรการล็อกดาวน์ระดับประเทศเพื่อรับมือกับตัวเลขผู้ติดเชื้อจากไวรัสโควิดที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ณ ปัจจุบันมีจํานวนผู้ติดเชื้อรวมทั่วโลกกว่า 86 ล้านราย) ซึ่งนําไปสู่การใช้ชีวิตแบบ “new normal” หรือ การใช้ชีวิตประจําวันโดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสเพื่อควบคุมการแพร่เชื้อไวรัส ซึ่งมีความจําเป็นต้องพึ่งพาระบบดิจิทัลมากขึ้น อาทิ การทํางานหรือเรียนหนังสือจากที่บ้านผ่านโปรแกรมประชุมออนไลน์ การสั่งซื้ออาหารและสินค้าต่าง ๆ ผ่านแอพพลิเคชั่นและช่องทางออนไลน์มากขึ้น รวมถึงการทําธุรกรรม การเงินออนไลน์และการชําระเงินผ่านแอพพลิเคชันของธนาคารแทนการจ่ายเงินสด ซึ่งการใช้ชีวิตแบบ “new normal” นี้ เป็นปัจจัยสําคัญในการเร่งกระบวนการเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลและกําหนดทิศทางเศรษฐกิจโลกอีกด้วย การรับมือกับภัยจากการแพร่ระบาดของข้อมูลเท็จ
.
การตีพิมพ์ข้อมูลเท็จนั้นเป็นปัญหาในโลกออนไลน์ตั้งแต่ก่อนจะเกิดวิกฤตโควิด-19 แล้ว อาทิ การใช้ข้อมูล เท็จในการโฆษณาสินค้าเกินความเป็นจริง หรือ การบิดเบือนและ/หรือป้อนข้อมูลที่มีเนื้อหารุนแรงเพื่อ ผลประโยชน์ทางการเมือง ซึ่งสามารถเข้าถึงประชาชนได้ง่ายและรวดเร็วผ่านสื่อโซเชียลต่างๆ แต่ทว่าวิกฤตโควิด-19 ทําให้รัฐบาลเห็นความจําเป็นในการเร่งควบคุมการแพร่ของข้อมูลเท็จ โดยเฉพาะในเรื่องของข้อมูลด้าน การแพทย์และสุขภาพซึ่งไม่ได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแหล่งที่มาของข้อมูล ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ สุขภาพและความเป็นอยู่ของประชาชนที่ปัจจุบันมีการเสพข่าวจากสื่อออนไลน์อย่างแพร่หลาย
.
เนื่องจากช่วงเดือนธันวาคม 2563 มีกระแสต่อต้านการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในโลกออนไลน์ หลังจากมีการเผยแพร่คลิปวีดีโอของพยาบาลรายหนึ่งเป็นลมทันทีหลังรับวัคซีน ซึ่งภายหลังได้มีการแถลงข่าว ว่าพยาบาลรายนั้นมีโรคประจําตัวอยู่แล้ว มิใช่ผลกระทบจากการฉีดวัคซีนแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี คลิปนี้ก็ได้สร้างความหวาดกลัวให้แก่ประชาชนจํานวนหนึ่ง ซึ่งไม่มั่นใจในประสิทธิภาพของวัคซีนเป็นทุนเดิม จึงเริ่มมีการเผยแพร่ข่าวเท็จนี้ออกไปในวงกว้าง ทําให้เป็นภัยอันตรายต่อส่วนรวมและเป็นอุปสรรคในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เพราะประชาชนส่วนมากต้องมีภูมิคุ้มกันไวรัสโควิตก่อน เศรษฐกิจจึงจะกลับไปสู่ภาวะปกติได้ ภาครัฐจึงควรมี
.
มาตรการในการจัดการกับข้อมูลเท็จอย่างเป็นรูปธรรม
.
อียูได้เสนอร่างกฎหมายการให้บริการดิจิทัล (Digital Services Act – DSA) เพื่อเพิ่มความรับผิดชอบของโซเชียลมีเดียและผู้ให้บริการออนไลน์ในการกรองข่าวปลอม (fake news) ถ้อยคําที่แสดงความเกลียดชัง (hate speech) รวมทั้งการปกป้องกระบวนการเลือกตั้ง และการอภิปรายสาธารณะให้เป็นธรรมสําหรับทุกฝ่าย โดยผู้ให้บริการออนไลน์ อาทิ Facebook Twitter ต้องมีเครื่องมือในตรวจสอบและลบข้อมูลที่ไม่เหมาะสม/ข้อมูลที่มีการบิดเบือนความจริงออกทันที โดยผู้ให้บริการต้องให้เหตุผลในการลบข้อมูลนั้นออกแก่ผู้ใช้ด้วย และมีบทลงโทษหากผู้ให้บริการออนไลน์ละเลยไม่จัดวางกลไกที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาข่าวปลอม การลดการผูกขาดของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่
.
สืบเนื่องจากวิกฤติโควิดทําให้บริษัทผู้ให้บริการออนไลน์ยักษ์ใหญ่ อาทิ Google และ Apple มีอํานาจเทียบเท่าหรือเหนือกว่ารัฐบาลในเรื่องของการกําหนดมาตรฐานของแอพพลิเคชั่นเพื่อติดตามการแพร่ระบาด ของเชื้อโควิด และมีบทบาทสําคัญในชีวิตของผู้บริโภคมากขึ้น ส่งผลให้ภาครัฐตื่นตัวในการออกมาตรการเพื่อควบคุมอิทธิพลของบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้และเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพเข้ามาแข่งขันได้มากขึ้น
.
อียูได้เสนอร่างกฎหมายการตลาดดิจิทัล (Digital Market Act – DMA) เพื่อควบคุมบริษัทออนไลน์ยักษ์ใหญ่ หรือบริษัทที่เป็นผู้คุมประตู (Gatekeeper) ระหว่างผู้ใช้กับผู้ให้บริการจํานวนมาก ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Google บริษัท Amazon และบริษัท Booking.com เนื่องจากปัจจุบันบริษัทเหล่านี้สามารถเก็บข้อมูล ความสนใจของผู้ใช้และเลือกนําเสนอโฆษณาของบริษัทตนเอง ทําให้บริษัท SME ไม่มีทางเข้าถึงผู้บริโภคได้ ดังนั้น กฎหมายฉบับนี้จะห้าม “บริษัทผู้คุมประตู” ไม่ให้มีแนวปฏิบัติที่ถือว่ากระทบต่อการแข่งขันที่เป็นธรรมในตลาดออนไลน์ เพื่อป้องกันการผูกขาดบริการออนไลน์และส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม โดยเฉพาะสนับสนุนให้บริษัทสตาร์ทอัพมีโอกาสแข่งขันในตลาดออนไลน์มากขึ้น การจัดเก็บภาษีดิจิทัลจากบริษัทยักษ์ใหญ่เพื่อเยียวยาเศรษฐกิจ
.
ในขณะที่มาตรการล็อกดาวน์ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกถดถอย อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และร้านขายปลีกจํานวนมากก็แทบเอาตัวไม่รอด แต่บริษัทยักษ์ใหญ่กลับสร้างรายได้เพิ่มขึ้น (ส่วนมากเป็นบริษัทสัญชาติอเมริกันจากซิลิคอนวัลเลย์) ซึ่งส่งผลให้บริษัทเหล่านี้มีพลวัตในอุตสาหกรรมดิจิทัลมากขึ้น จึงไม่แปลกใจที่รัฐบาลในหลายประเทศ เริ่มมีการจับตาพฤติกรรมผูกขาดทางการค้าของบริษัทเหล่านี้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น รวมถึงเสนอให้มีการพิจารณาจัดเก็บภาษีดิจิทัล ซึ่งจะเป็นอีกแหล่งรายได้เพื่อนํามาเยียวยา เศรษฐกิจในยุคโควิด รวมถึงควบคุมสนามการแข่งขันในโลกออนไลน์ให้มีความเป็นธรรมและเท่าเทียมกันมากขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ธุรกิจ SMEs สามารถแข่งขันกับบริษัทยักษ์ใหญ่ได้
.
เมื่อปีที่แล้ว อียูได้มีการเสนอให้เก็บภาษีดิจิทัลในอัตราร้อยละ 3 สําหรับบริษัทที่มีรายได้ 750 ล้านยูโรขึ้นไป แต่ยังไม่ประสบความสําเร็จในการผลักดันมาตรการใหม่นี้ในระดับอียู เนื่องจากไอร์แลนด์ ฟินแลนด์ และสวีเดนลงมติไม่เห็นด้วย ในขณะเดียวกัน ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และออสเตรีย ได้ออกกฎหมายภายในจัดเก็บภาษีดิจิทัลแล้ว ทั้งนี้ อียูมีกําหนดเสนอแผนการจัดเก็บภาษีดิจิทัลในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 นี้ ซึ่งทางทีมงานจะคอยติดตามเพื่อรายงานให้ผู้อ่านทราบในโอกาสแรกเพื่อปรับตัวให้ทันท่วงที
.
การพัฒนา Big Data
.
แม้ว่าอียูจะไม่สามารถตามสหรัฐฯ ทันในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล (เพราะบริษัทโซเชียลมีเดียส่วนใหญ่ เป็นของสหรัฐฯ) แต่อียูก็ตั้งเป้าว่าจะพยายามเป็นผู้นําในเรื่องข้อมูลอุตสาหกรรม (industrial data) โดยอียูอยู่ระหว่างจัดทําร่างกฎหมายฉบับใหม่ว่าด้วยการบริหารจัดการข้อมูลเพื่ออํานวยความสะดวกการแลกเปลี่ยน ข้อมูลในระบบที่น่าเชื่อถือ รวมทั้งตั้งเป้าสร้างฐานข้อมูลร่วมด้านสุขภาพ การขนส่ง สิ่งแวดล้อม การเกษตร และการบริหารงานภาครัฐ นอกจากนี้ อียูมีแผนสร้างระบบคลาวด์ Gaia-X ของตนเอง เพื่อลดการพึ่งพาระบบ คลาวด์ของประเทศอื่น เช่น สหรัฐฯ และจีน ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เมื่อต้นปี 2563 อียูได้เผยแพร่สมุดปกขาวเรื่องปัญญาประดิษฐ์ ระบุแผนการออกกฎหมายที่จะ ครอบคลุมมิติเทคโนโลยี จริยธรรม กฎหมาย สังคมและเศรษฐกิจของปัญญาประดิษฐ์ และแสดงท่าทีว่าจะมี มาตรการที่เคร่งครัดเพื่อควบคุมเทคโนโลยีจดจําใบหน้า แต่ล่าสุดอียดูเหมือนจะเปลี่ยนท่าทีในเรื่องนี้ โดย ประกาศว่าจะจัดให้มีการอภิปรายสาธารณะทั่วยุโรปในเรื่องเทคโนโลยีไบโอเมตริก (ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีจดจํา ใบหน้า) ก่อนจะพิจารณาในเรื่องนี้ต่อไป
.
การผลักดันกฏบัตรว่าด้วยสิทธิพื้นฐานดิจิทัล
.
โปรตุเกส ในฐานะประธานคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป มีแผนที่จะเสนอกฎบัตรว่าด้วยสิทธิพื้นฐาน ดิจิทัล หรือ “Charter of Digital Rights” ซึ่งต้องการที่จะเสริมสร้างสิทธิส่วนบุคคลในโลกดิจิทัล ในช่วงไตร มาสที่ 2 ของปี 2564 นี้ โดยโปรตุเกสมุ่งมั่นที่จะผลักดันแผนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้ยุโรปเป็นแหล่ง อ้างอิงในยุคดิจิทัล และให้ความสําคัญกับประเด็นเรื่องสิทธิประชาธิปไตย ความยั่งยืน และหลักจริยธรรม ภายใต้หลักการ “ประชาธิปไตยดิจิทัลอย่างมีเป้าหมาย”
.
โลกดิจิทัลเป็นเสมือนดาบสองคมที่มีทั้งประโยชน์และโทษ ดังนั้น นโยบายการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของอียูจึงมีสองมิติ กล่าวคือการเร่งพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล ควบคู่ไปกับการสร้างกรอบกฎหมายเพื่อควบคุม และป้องกันภัยต่าง ๆ จากโลกดิจิทัล ซึ่งผู้ประกอบการไทยที่มีความประสงค์หรือกำลังทำธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมด้านดิจิทัลในอียูควรศึกษาและปรับตัวก่อนล่วงหน้าเกี่ยวกับแผนพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล และปรับการดำเนินธุรกิจตามแนวโน้มของกฎหมายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
.
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ และคณะผู้แทนไทยประจําสหภาพยุโรป