เมื่อวันที่ 14 – 15 ธันวาคม 2564 คณะกรรมาธิการยุโรป ได้รับรองแผนปฏิรูปกฎหมายฉบับ “Winter package” ซึ่งจะนำมาใช้ประกอบแผน “Fit for 55 Package” เพื่อขอความเห็นชอบของสภายุโรปและคณะมนตรียุโรป โดยมีเป้าหมายเพื่อเร่งขับเคลื่อนเป้าหมายระยะกลางของ EU ในการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 55 ภายในปี ค.ศ. 2030 ใน 3 สาขาหลัก คือ อุตสาหกรรมขนส่ง ที่อยู่อาศัย และกิจการก๊าซธรรมชาติในภาคพลังงาน ในส่วนของภาคการขนส่ง คณะกรรมาธิการยุโรปได้รับรองข้อเสนอ 4 ฉบับ ดังนี้
.
- การปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายระบบการขนส่งข้ามทวีปยุโรป (TEN-T Regulation) เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการขนส่งทางรถไฟให้มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย เป็นธรรม คุ้มค่าทางเศรษฐกิจและเชื่อมโยงกับขนส่งรูปแบบอื่น รวมถึงการขนส่งระหว่างประเทศ โดยกำหนดเป้าหมายสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ (1) เพิ่มศักยภาพโครงข่ายระบบรถไฟระหว่างเมืองเพื่อช่วยให้การเดินทางระหว่างพื้นที่หลักในยุโรปเป็นไปโดยรวดเร็ว (2) พัฒนาศูนย์ขนถ่ายสินค้าให้มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก รวมทั้งพัฒนาเส้นทางที่มีการเชื่อมโยงทางกายภาพ 9 สายหลักให้เป็นระเบียงการขนส่ง (European Transport Corridors) (3) เร่งรัดการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงข้ามพรมแดนและเมืองที่สำคัญให้แล้วเสร็จภายใน 2583 และ (4) พัฒนาเส้นทางคมนาคมในเมืองขนาดกลางของยุโรป 424 เมือง ให้เป็น “เมืองปลอดคาร์บอน” และมีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเดินและใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
.
- แผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมมาตรฐานการให้บริการรถไฟโดยสารทางไกล (Action Plan on long distance and cross-border rail) โดยมียุทธศาสตร์สำคัญ เช่น พัฒนาระบบการซื้อ-ขายบัตรโดยสารต่อเนื่องหลายรูปแบบ(multimodal ticketing) เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างภูมิภาค ปรับแผนเส้นทางการเดินรถไฟปี 2565 ให้สอดรับกับการปรับความเร็วและเพิ่มกำหนดเวลาในการเดินรถทางไกล และประกาศโครงการนำร่องมาตรฐานอย่างน้อย 15 โครงการภายในปี 2573
.
- การปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ (Directive 2010/40/EU Intelligent Transport System: ITS) โดยนำเทคโนโลยี ICT มาใช้เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลระบบการขนส่งทางถนนและรถไฟตามเส้นทาง TEN-T โดยเน้นการพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือ (Mobile App) รวมถึงให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการขับขี่รถยนต์บนท้องถนน เช่น รายละเอียดของเส้นทาง ปริมาณจราจร การกำหนดความเร็วจำกัด ระยะเวลาเดินทาง สภาพของถนน รวมทั้งการซ่อมบำรุงระหว่างเส้นทาง เป็นต้น
.
- กรอบกฎหมายด้านการเดินทางในเมืองอย่างยั่งยืนฉบับใหม่ (The new Urban Mobility Framework) เพื่อวางแนวทางและสนับสนุนด้านเงินทุนในการออกแบบการขนส่งภายในเมืองที่จะช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัด โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เพียงพอ และมลพิษทางอากาศ เช่น สนับสนุนให้มีการใช้เชื้อเพลิงสะอาดในรถแท็กซี่ ตลอดจนบริการเรียกรถ (Ride-hailing) เพื่อลดมลพิษ รวมทั้งพัฒนาชุมทางการคมนาคมแบบครบวงจรเพื่อเร่งสร้างการเดินทางไร้รอยต่อภายในภูมิภาค
.
ในส่วนของประเทศไทย รัฐบาลได้มีการเร่งพัฒนาโครงข่
.
ข้อมูล: สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ / คณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป
เรียบเรียง: ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์