เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2562 คณะกรรมาธิการยุโรปได้เผยแพร่เอกสารการเตรียมความพร้อมฉบับที่ 6 พร้อมทั้ง checklist สําหรับภาคธุรกิจที่ทําธุรกิจกับสหราชอาณาจักรใช้ในการเตรียมความพร้อมก่อน Brexit ซึ่งในส่วนของเอกสารการเตรียมความพร้อมสามารถสรุปได้ ดังนี้
[su_spacer]
EU มีความพร้อมสําหรับ Brexit ในทุกรูปแบบรวมถึงกรณี No Deal Brexit โดยมาตรการรองรับทางกฎหมาย19 ฉบับ ได้รับความเห็นชอบครบหมดแล้ว นอกจากนี้ ยังออกมาตรการรองรับที่มิใช่กฎหมาย 63 ฉบับ และข้อมูลการเตรียมความพร้อมสําหรับภาคส่วนต่าง ๆ อีก 100 ฉบับ
[su_spacer]
อย่างไรก็ตาม EU จะขยายเวลา Brexit จากเดิมเป็น 31 ตุลาคม 2562 แต่ไม่มีความจําเป็นต้องออกมาตรการรองรับใหม่ ๆ เพิ่มเติม มีเพียงการขยายเวลาของบางมาตรการให้เหมาะสมกับกําหนด Brexit ใหม่ โดยคณะกรรมาธิการยุโรปอยู่ระหว่างเสนอคณะมนตรียุโรปให้รับรองการขยายเวลาบางมาตรการ ดังนี้ (1) ภาคการขนส่งขยายกฎระเบียบ 2019/501 ในเรื่องการขนส่งและการโดยสารทางถนนออกไปจนถึง 31 กรกฎาคม 2563 และกฎระเบียบ 2019/502 ในเรื่องสิทธิการบินออกไปจนถึง 24 ตุลาคม 2563 (2) ภาคประมง ขยายกฎระเบียบ 2019/498 ในเรื่องการทําประมงในน่านน้ำของอีกฝ่ายให้ครอบคลุมปี 2563 จากเดิมที่กําหนดไว้เพียงปี 2562
[su_spacer]
(3) งบประมาณ ขยายกฎระเบียบ 2019/1197 ซึ่งเปิดให้สหราชอาณาจักรและผู้รับงบประมาณในสหราชอาณาจักรสามารถมีส่วนร่วมในโครงการต่าง ๆ ที่ใช้งบประมาณของ EU ต่อไปได้จนถึงสิ้นปี 2563 โดยมีข้อแม้ว่าสหราชอาณาจักรต้องยอมรับเงื่อนไขที่กําหนดในกฎระเบียบขายเงินอุดหนุนสําหรับปี 2563 ตามพันธกรณีของสหราชอาณาจักรและอนุญาตให้ หน่วยงานของ EU ตรวจสอบการดําเนินโครงการ
[su_spacer]
นอกจากการขยายเวลาสําหรับบางมาตรการคณกรรมมาธิการยุโรป ยังเสนอให้ใช้ประโยชน์จากกองทุน European Solidarity Fund และกองทุน European Globalisation Adjustment Fund ในการสนับสนุน ประเทศสมาชิกและผู้ที่ตกงานอันเป็นผลมาจาก No Deal Brexit ทั้งนี้ คณะกรรมมาธิการยุโรปจะทํางานร่วมกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์อย่างใกล้ชิดต่อไปเพื่อเตรียมมาตรการรองรับที่จะรักษาเสถียรภาพของตลาดร่วมยุโรป ในขณะเดียวกันก็สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของความตกลง Good Friday ที่ต้องการหลีกเลี่ยง hard border ระหว่างสาธารณรัฐไอร์แลนด์และไอร์แลนด์เหนือ
[su_spacer]
หลักการที่ประธานคณะรัฐมนตรียุโรปเคยแถลงต่อสภายุโรปเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2562 ว่า ในกรณีNo Deal Brexit สหราชอาณาจักรต้องดําเนินการใน 3 เรื่องก่อนที่ EU จะพิจารณาจัดทําความตกลงทวิภาคีสําหรับอนาคตในด้านความสัมพันธ์ระหว่าง EU กับสหราชอาณาจักร กล่าวคือ (1) คุ้มครองสิทธิพลเมืองและเสรีภาพในการเคลื่อนย้าย (2) ปฏิบัติตามพันธกรณี ด้านการเงิน และ (3) หาทางออกสําหรับประเด็นเขตแดนสาธารณรัฐไอร์แลนด์-ไอร์แลนด์เหนือที่สอดคล้องกับความตกลง Good Friday และรักษาเสถียรภาพของตลาดร่วมยุโรป
[su_spacer]
ข้อสังเกต การเผยแพร่เอกสารการเตรียมความพร้อมของ EU ออกมาในช่วงเดียวกับความเคลื่อนไหวในรัฐสภาสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะท่าทีของนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรที่ยืนยันจะนําสหราชอาณาจักรออกจาก EU ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2562 ซึ่งนักวิเคราะห์หลายฝ่ายมองว่า เป็นความพยายามของสหราชอาณาจักรที่จะใช้ความหวาดกลัว No Deat Brexit ในการข่มขู่ EU เพื่อให้ยอมกลับมาเจรจาประเด็นทางออกสํารองสําหรับการจัดการเขตแดนสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์เหนือ (backstop solution) ซึ่งไม่ได้ผล เพราะการประเมินของทุกฝ่ายรวมทั้งรายงานล่าสุดของสหราชอาณาจักร ชี้ว่าสหราชอาณาจักรจะได้รับผลกระทบจาก No Deal Brexit มากกว่า EU ทั้งนี้ นาย Michel BARNIER หัวหน้าคณะเจรจาของ EU และนาง Mina ANDREEVA
[su_spacer]
โฆษกคณะกรรมาธิการยุโรปต่างยืนยันผ่านสื่อ (บทบรรณาธิการ The Sunday Telegraph ในกรณีนาย Barnier และการตอบคําถามสื่อในช่วงการแถลงข่าวประจําสัปดาห์ในกรณีนาง Andreeva) ว่า ท่าทีของ EU ในเรื่อง backstop ยังคงเดิม และจะไม่มีการเจรจาความตกลงถอนตัวใหม่
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์