Sheikh Mohammed bin Rashid AI Maktoum รองประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรียูเออี และเจ้าผู้ครองรัฐดูไบได้ทรงเปิดตัว Food Tech Valley ขึ้นในดูไบ โดยมีเป้าหมายใช้เทคโนโลยีที่สะอาดมาผลิตอาหารและพืชผลทางการเกษตรและผลิต Incubator สําหรับนักวิจัย ผู้ประกอบการ startups และผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมอาหารในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่างๆ ที่จะกําหนดอนาคตในอุตสาหกรรมอาหารของโลก โดย Sheikh Mohammed ได้ตรัสย้ำว่าโครงการดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของหลายๆ โครงการที่มีเป้าหมายพัฒนาการผลิตอาหารและเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ การผลิตอาหารแห่งชาติในการผลิตฟาร์มแนวดิ่งและอื่น ๆ และยังตรัสย้ำอีกว่ามูลค่าการค้าสินค้าอาหารในยูเออีสูงถึงปีละ 100 พันล้านดีแรห์ม และขณะนี้ยูเออีก็ยังเป็นศูนย์โลจิสติกส์ด้านอาหารของโลก ยูเออีจะเน้นพัฒนาศักยภาพสิ่งแวดล้อมของธุรกิจการเกษตรและเทคโนโลยีทางการเกษตรใหม่ๆ เพื่อความมั่นคงทางอาหารของยูเออีในอนาคต การลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในยูเออี มีมูลค่า 62 พันล้านดีแรห์ม โดยขณะนี้ยูเออีมีฟาร์มที่ก้าวหน้ากว่า 177 แห่ง ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงและการปลูกพืชไร้ดิน (hydroponics) และกว่า 100 แห่ง เป็นการทําฟาร์มออร์แกนิคทั่วประเทศ และขณะนี้บริษัทกว่า 500 แห่งทําการผลิตอาหารแปรรูป โดยยูเออีมีเป้าหมายที่จะใช้ Food Tech Valley นี้ในการเป็นผู้นําด้านนวัตกรรมการผลิตอาหารของโลกในอนาคต และจะร่วมในเครือข่ายในระดับภูมิภาคที่จะส่งออกความรู้ในการผลิตอาหารอย่างยั่งยืนไปทั่วโลกด้วย
.
เป้าหมายของ Food Tech Valley นี้ เป็นไปตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารแห่งชาติของยูเออี โดย ต้องการให้อยู่ในดัชนีความมั่นคงทางอาหารระดับโลกที่ดีที่สุดภายในปี 2051 โครงการนี้เป็นความร่วมมือภาครัฐ ระหว่างกระทรวงความมั่นคงทางอาหารและน้ํา และกลุ่ม Wasl Properties โดยในโครงการจะประกอบด้วยฟาร์มแนวดิ่งจํานวนมากที่เป็นเมืองบูรณาการและทันสมัยด้านเทคโนโลยีทางการเกษตร ปลูกพืชกว่า 300 พันธุ์ เป็นศูนย์โลจิสติกส์ ศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D) และเป็นตลาดขายสินค้าด้วย Food Tech Valley โดยจะประกอบด้วย 4 โซน ได้แก่ 1) โซนเทคโนโลยีและวิศวกรรมทางการเกษตร 2) โซนนวัตกรรมทางการเกษตร 3) ศูนย์ด้านการวิจัยและพัฒนา 4) ศูนย์โลจิสติกส์อัจฉริยะก้าวหน้า
.
1) กลุ่มเทคโนโลยีและวิศวกรรมการเกษตร ในพื้นที่นี้จะเป็นการทําฟาร์มแนวดิ่งและการใช้ เทคโนโลยีทางอาหารล่าสุดเพื่อผลิตพืชที่จําเป็นต่อการบริโภคประจําวันตลอดทั้งปีและส่งผลิตภัณฑ์ให้กับเมือง อัจฉริยะในอนาคต โดยกลุ่มนี้จะเป็นศูนย์การพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ที่ใช้วิศวกรรมชีวภาพระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และ AI ในการสร้างระบบนิเวศน์ด้านอาหาร
.
2) ศูนย์นวัตกรรมด้านอาหาร จะเน้นการสร้างระบบนิเวศน์ทางธุรกิจการเกษตรแบบบูรณาการ และสนับสนุน startups และผู้ประกอบการต่างๆ และกลุ่มนี้จะเน้นโรงงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านอาหารแบบใหม่และภัตตาคารรุ่นที่ 2 (restaurant 2.0) ซึ่งจะดูด้านรูปแบบในอนาคตของภัตตาคาร ที่ใช้มาตรฐานสูงสุดใหม่ๆ ทั้งรูปแบบและการผลิตที่ยั่งยืน และลดการบริโภคหรือการสูญเสียทรัพยากรลง
.
3) ศูนย์วิจัยและพัฒนาจะเป็นศูนย์ระดับโลกเน้นการฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและการสนับสนุนบริษัทผู้ผลิต อาหารต่างๆ และศูนย์จะเน้นการใช้ทุนทรัพย์ทางการเกษตรเพื่อให้มีผลิตผลสูงสุด การใช้พืชพันธุ์ที่ทนแล้ง และการวิจัยยังจะใช้เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D) ในการเพาะปลูกสาหร่ายและโปรตีนทางเลือกต่างๆ และจะใช้ AI ควบคุม วิเคราะห์ ตรวจสอบและจัดการพืชพันธุ์ทางการเกษตรและตรวจสอบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศด้วย ซึ่งจะมีส่วนทําให้การวิจัยด้านความมั่นคงทางอาหารของโลกเป็นรูปเป็นร่างได้มากขึ้น โดยเฉพาะการทดสอบปลูกพืชในดินเค็ม การทําจีโนมด้านสารอาหาร การใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรแผนใหม่และการใช้โดรนในการผลิตอาหารด้วย
.
4) ศูนย์ระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะเชิงก้าวหน้าจะเป็นศูนย์ระบบจัดเก็บ อาหารรุ่นที่ 4 โดยใช้ระบบโลจิสติกส์จัดเก็บอาหารแบบอัจฉริยะและอัตโนมัติแบบรอบด้าน และใช้เทคโนโลยี blockchain และ Big Data ในการขนส่งและจัดส่งผลิตภัณฑ์อาหารไปทั่วประเทศ
.
Ms. Mariam AI Muhairi รัฐมนตรีว่าการแห่งรัฐด้านความมั่นคงทางอาหารและน้ําของยูเออีกล่าวว่า Food Tech Valley นี้ จะเป็นศูนย์กลางในระดับโลกของ Startups SMEs และบริษัทนานาชาติที่เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมอาหาร โดย Food Tech Valley ถือเป็นโซนทางเศรษฐกิจที่สําคัญ เมื่อคํานึงถึงธุรกิจเทคโนโลยีการเกษตรจะมีมูลค่า 13.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และจะเติบโตเป็น 22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายใน 4 ปี ทั้งนี้ องค์ประกอบของสวนทางดิ่งและในร่มจะใช้พื้นที่ถึง 60% ของ Food Tech Valley ทั้งหมด
.
โดยปัจจุบันไทยได้มีการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ-หมุนเวียน-สีเขียว (BCG Economy Model) ซึ่ง 1 ในสาขายุทธศาสตร์หลักของโมเดลนี้ คือการส่งเสริมด้านการเกษตรและอาหาร ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย ‘ครัวไทยสู่ครัวโลก’ ที่เน้นเดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่อุตสาหกรรมอาหารมากขึ้น ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านอาหารและเป็นที่รู้จักในเวทีระดับโลกอยู่แล้ว ผู้ประกอบการในธุรกิจอาหารและสาขาที่เกี่ยวข้อง สามารถนำนวัตกรรมที่รัฐบาลดูไบผลักดันเพื่อมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองเพื่อให้ก้าวทันนวัตกรรมใหม่ ๆ ในโลกมากยิ่งขึ้น หรือสามารถพิจารณารายละเอียดและผลักดันสินค้าอาหารไทยให้เข้าไปเป็นส่วนนึงของโครงการ Food Tech Valley นี้ด้วยเช่นกัน
.
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองดูไบ
.
ขอบคุณรูปภาพจาก: https://www.thenationalnews.com/uae/government/sheikh-mohammed-launches-dubai-s-food-tech-valley-1.1214493#2