จากการสํารวจในหมู่ผู้บริหารสถาบันการเงินชั้นนําของโลก 240 คน โดย บ. Duff & Phelps ของ การจัดอันดับการเป็นศูนย์กลางการเงินโลกในขณะนี้ นิวยอร์กเป็นอันดับ 1 ตามด้วยลอนดอนอันดับ 2 สิงคโปร์อันดับ 3 ดับลินอันดับ 4 ลักเซมเบิร์กอันดับ 5 ยูเออีอันดับ 6 และฮ่องกงอันดับ 7 และภายใน 5 ปีข้างหน้าในปี 2025 ดูไบยูเออี จะเป็นศูนย์กลางการเงินโลกที่ใหญ่กว่า กรุงปารีส แฟรงก์เฟิร์ต ดับลินและลักเซมเบิร์กโดยมี ความเชื่อมั่นอยู่ที่ 1.1% เพิ่มขึ้น 3.2% อย่างไรก็ตาม เซี่ยงไฮ้ก็ทวีความเป็นศูนย์กลางการค้าและตลาดทุนของจีน และจะเป็นศูนย์กลางการเงินโลกใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 โดยมีความเชื่อมั่น 8.7% รองจากนิวยอร์ก (อันดับ1) ซึ่งมี ความเชื่อมั่น 49.7% และลอนดอน (อันดับ2) โดยมีความเชื่อมั่น 21.5% ขณะที่ 5.4% เชื่อมั่นในสิงคโปร์ 3.8% เชื่อมั่นในฮ่องกง และ 3.2% เชื่อมั่นในยูเออี ซึ่งผลการสํารวจความเชื่อมั่นในตลาดการเงิน DIFC ของดูไบ/ ยูเออี เหนือกว่าแฟรงค์เฟิร์ต ปารีส ลักเซมเบิร์ก และดับลิน ขณะนี้ดูไบเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาคตะวันออกกลางกลาง แอฟริกา และเอเชียใต้ (Middle East, Africa and South Asia -MEASA) และอยู่ในอันดับ 8 ของโลก ตามการจัดอันดับของ Global Financial Center Index (GFCI)
[su_spacer]
นาย Essa Kazim ผู้ว่า Dubai International Financial Center (DIFC) กล่าวว่า DIFC เป็นหลัก สําคัญของการขยายตัวทาง ศก. ของยูเออี และเป็นส่วนดึงดูดการค้าและการลงทุนในภูมิภาค DIFC ยังคง ประสบความสําเร็จอย่างต่อเนื่องในการทําให้ดูไบเป็นศูนย์กลางการเงินโลกที่สําคัญ ในการนําสถาบันการเงิน ต่างๆ ทั่วโลก และองค์การทางการเงินที่สําคัญต่างๆ มาตั้ง สนง. ใน DIFC และว่า สถาบันทางการเงินของยูเออีมี แนวโน้มที่สดใส ภายหลัง Brexit ซึ่ง Brexit จะทําให้ภาคการเงินของ สอ. หายไปประมาณ 15.7 พันล้านดล.สรอ. แต่ก็จะทําให้ไปส่งเสริมการเติบโตของภาคการเงินที่ในภูมิภาคอื่นๆ รวมทั้งยูเออี และว่า DIFC นอกจากดึงดูด สถาบันทางการเงินและองค์กรทางการเงินของโลกมาตั้งใน DIFC แล้ว ยังดึงดูดนวัตกรรมทางการเงิน การลงทุน ต่างๆ รวมทั้ง fintech ให้มาลงทุนเสริมสร้างอนาคตและการเติบโตที่ดีของภูมิภาคนี้ด้วย ขณะที่ภาคการเงินของ
[su_spacer]
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองดูไบ