Energy Transition ของเดนมาร์กในปี 2563 ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 ร้อยละ 64 ของการผลิตไฟฟ้ามาจากพลั
.
พรบ. สภาพภูมิอากาศ (Climate Act)
.
เมื่อเดือน มิ.ย. 2563 รัฐสภาเดนมาร์กได้เห็นชอบ Climate Act ซึ่งกําหนดเป้าหมายที่มีผลผูกพันตาม กม. ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 70 (เมื่อเทียบกับฐานในปี ค.ศ. 1990) ภายในปี 2573 ทั้งนี้ พรบ. ดังกล่าว กําหนดกลไกกํากับดูแล ซึ่งรวมถึงการจัดทํารายงานประจําปีและข้อเสนอแนะโดยคณะกรรมการอิสระด้าน climate change และการ จัดทํา Climate Action Plan ของ รัฐบาลเพื่อนําเสนอต่อรัฐสภาทุกปี รวมทั้งรายงานเกี่ยวกับผลกระทบของเดนมาร์กต่อการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศ เช่น การขนส่งสินค้าทางเรือและการบิน และความร่วมมือทวิภาคีด้านพลังงานกับต่างประเทศ พรบ. ดังกล่าวจะดําเนินการผ่าน Sectoral Action Plans ใน 6 สาขา ซึ่งจะมีการทบทวนทุก 5 ปี ได้แก่ 1) ภาคพลังงานและอุตสาหกรรม 2) การก่อสร้างและที่อยู่อาศัย 3) การจัดการขยะ 4) การขนส่ง 5) การปฏิรูปภาษี และ 6) ภาคเกษตรกรรม โดยการจัดทํา 5 สาขาแรกเสร็จสิ้นแล้วในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เหลือเพียงภาคเกษตรกรรมที่อยู่ระหว่างการ หารือ ทั้งนี้ หนึ่งในองค์ประกอบสําคัญของ Action Plan ภาคพลังงานและอุตสาหกรรม คือ การก่อสร้างเกาะพลังงานแห่งแรก ของโลกซึ่งจะมีกําลังการผลิตสูงถึง 5GW และนําไปสู่ fut decarbonization ของการผลิตพลังงานในเดนมาร์กและมีเหลือเพียง พอที่จะส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านและสําหรับเป้าหมายระยะยาวที่จะพัฒนาเทคโนโลยี Power-to-X และ Synthetic fuels สําหรับเรือ เครื่องบิน และอุตสาหกรรมหนัก นอกจากนี้ เดนมาร์กเป็นผู้นําระดับโลกด้านพลังงานลมนอกชายฝั่ง โดยตั้งเป้าหมาย เพิ่มกําลังการผลิตนอกชายฝั่งเป็น 7GW (ทั้งนี้ ปัจจุบันกําลังการผลิตพลังงานลมนอกชายฝั่งของทั่วโลกอยู่ที่ 29GW) นอกจาก Action Plans ใน 6 สาขาข้างต้นที่เน้นด้านในประเทศแล้ว เมื่อเดือน ก.ย. 2563 รบ.เดนมาร์ก ได้จัดทํา Global Climate Action Strategy ระยะเวลา 5 ปี และได้จัดตั้ง Committee for Green Transition เพื่อ ขับเคลื่อนข้อริเริ่มต่าง ๆ โดยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสภาพภูมิอากาศ พลังงานและสาธารณูปโภค เป็นประธาน และมีรัฐมนตรีจากกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงอุดมศึกษาฯ กระทรวงอุตสาหกรรมฯ และกระทรวงสิ่งแวดล้อมเป็นสมาชิก
.
ความร่วมมือด้านพลังงานและสภาพภูมิอากาศ
.
ความร่วมมือภายในประเทศ รัฐบาลเดนมาร์กจัดทํา Cimate Partnership กับภาคเอกชน 13 สาขา ซึ่ง แต่ละสาขาจะมี CEO-Champion ในสาขานั้นเป็นประธานเพื่อให้คําแนะนําและแนวทางแก้ไขปัญหาด้าน climate change ทีสามารถสร้างความเชื่อมั่นต่อภาคธุรกิจและก่อให้เกิดการสร้างงาน
.
ความร่วมมือกับต่างประเทศ เดนมาร์กมีความร่วมมือทวิภาคีด้าน energy transition กับ 16 ประเทศ ได้แก่ จีน เม็กซิโก แอฟริกาใต้ เวียดนาม ยูเครน อินโดนีเซีย ตุรกี สหรัฐ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี สอ. อินเดีย อียิปต์ และเอธิโอเปีย ซึ่งมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมกันถึงร้อยละ 60 ของโลก โดย Danish Energy Agency ร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูตเดนมาร์กในประเทศหุ้นส่วนถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้ รวมทั้งเสริมสร้างขีดความสามารถด้าน green energy transition ให้แก่ประเทศหุ้นส่วน โดยเน้นสาขาที่เดนมาร์กมีความเชี่ยวชาญ อาทิ พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ล่าสุดเมื่อเดือน พ.ย. 2563 ที่ผ่านมา เดนมาร์กได้เพิ่มความร่วมมือด้าน green transition กับจีน เวียดนาม เม็กซิโก และแอฟริกาใต้ มูลค่ารวมกว่า 250 ล้านโครนเดนมาร์ก ในระยะเวลา 5 ปี ซึ่งเดนมาร์กให้ความสําคัญกับประเทศเหล่านี้ เนื่องจากมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมกันสูงถึงร้อยละ 50 ของโลก นอกจากนี้ มองว่าจีนเป็นตลาดพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในขณะที่เวียดนามมีประชากรมากที่สุดอันดับ 1 ของโลกและอัตราการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6 ต่อปี โดยเดนมาร์กได้ร่วมมือกับธนาคารโลกจัดทําข้อเสนอเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากแนวชายฝั่งยาวของเวียดนามในการผลิตพลังงานลมนอกชายฝั่ง ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้กําหนดนโยบายและภาคอุตสาหกรรมเวียดนาม
.
ประเด็นเรื่อง climate change และ energy transition เป็นวาระที่รัฐบาลเดนมาร์กชุดปัจจุบันให้ ความสําคัญอับดับต้น โดยเป็นหนึ่งในนโยบายหลักในการรณรงค์หาเสียงที่ทําให้พรรค Social Democrats ของ นายกรัฐมนตรี Mette Frederiksen ชนะการเลือกตั้ง ซึ่งการผลักดัน Climate Act ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาถือเป็นผลงานสําคัญของรัฐบาลในปีนี้ ในด้านการต่างประเทศ ในช่วงปีที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศเดนมาร์กดําเนินนโยบาย climate/green diplomacy อย่างแข็งขันทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี โดยเมื่อปลายปี 2562 กระทรวงการต่างประเทศเดนมาร์กได้แต่งตั้ง Climate Ambassador เป็นครั้งแรก รวมทั้งมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตเดนมาร์ก 15 แห่งเป็น Climate Front Post ในขณะที่ รัฐบาลได้ประกาศเป้าหมายให้เดนมาร์กเป็น “green superpower” โดยการนํา green solutions ของเดนมาร์กไปใช้ในประเทศต่าง ๆ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมาย Paris Agreement และ SDGs ด้านพลังงานและสภาพภูมิอากาศ ซึ่งในปีนี้ได้เกิดสําเร็จเป็นรูปธรรมหลายประการ อาทิ การเพิ่มความร่วมมือกับประเทศหุ้นส่วนที่เป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกขนาดใหญ่ รวมทั้งการจัดทํา Green Strategic Partnership กับอินเดียเมื่อเดือน ก.ย. 2563 ที่ผ่านมา
.
เดนมาร์กดําเนินนโยบายเชิงรุกในการผลักดัน green agenda ของตนในต่างประเทศ เนื่องจากตระหนักว่าเดนมาร์กเป็นประเทศขนาดเล็กมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียงร้อยละ 0.1 ของโลก ไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศของโลกได้เพียงลําพัง จึงมุ่งเม้นเสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศที่เป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกขนาดใหญ่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและความต้องการพลังงานสูง เช่น จีน เวียดนาม และอินเดีย นอกจากนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ economic diplomacy ในการส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจของภาคเอกชนเดนมาร์กเพื่อ reap the benefits จากการเป็นผู้บุกเบิกและลงทุนพัฒนา เทคโนโลยีด้านนี้มายาวนาน ท่ามกลางกระแสความตื่นตัวเรื่อง climate change ทั่วโลกและความต้องการเทคโนโลยี green/sustainable solutions ที่เพิ่มมากขึ้น ในส่วนของประเทศไทยพลังงานทดแทนเป็นประเด็นที่เดนมาร์กต้องการผลักดันเช่นกัน ตามที่เอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทยได้เข้าพบหารือกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2563 ที่ผ่านมา โดยได้หยิบยกเรื่องการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศ และความต้องการใช้พลังงานสะอาดในการผลิตเครื่องประดับของบริษัท Pandora ภายใต้ชื่อ “green jewelry” ในประเทศไทย
.
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน