โมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนได้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ดี ซึ่งช่วยทําให้เข้าถึงตลาดใหม่ ขับเคลื่อนโซลูชั่นด้านนวัตกรรม และประหยัดต้นทุนการผลิต โดยประเทศเดนมาร์กได้มีตัวอย่างการนำ Economy Circular Solutions มาใช้ในธุรกิจที่น่าสนใจ ดังนี้
1. อุตสาหกรรมที่พึ่งพาซึ่งกันและกัน (Industrial Symbiosis)
Industrial Symbiosis ในเดนมาร์กนับเป็นต้นแบบที่เก่าแก่ที่สุดสําหรับการเติบโตในระบบเศรษฐกิจ หมุนเวียนและถือเป็นวิธีการใช้วัสดุที่หายากอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โครงการ “Sustainable Synergies” ซึ่งจัดทําขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง Port of Aalborg, Aalborg University และกลุ่มพลังงาน House of Energy ทําให้บริษัทที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและต้นทุนในการผลิต ในปัจจุบันมีบริษัทจํานวนกว่า 25 แห่ง ได้แลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่เหลือใช้ซึ่งกันและกัน เช่น น้ํา พลังงาน และ วัตถุดิบอื่น ๆ โครงการดังกล่าวมีส่วนช่วยทําให้เกิดผลลัพธ์ด้านสิ่งแวดล้อมในเชิงบวกหลายประการ เช่น การใช้พลังงานลดลงประมาณ 11,000 จิกะจูล การใช้วัตถุดิบลดลงประมาณ 2,600 ตัน การทําให้แต่ละบริษัทสามารถประหยัดพลังงานได้ถึง 264 MWh หรือเทียบเท่ากับการใช้พลังงานของ ครัวเรือน 8 หลัง การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงประมาณ 10,000 ตันต่อปี ทั้งนี้ สามารถศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดได้ที่ https://stateofgreen.com/en/solutions/industrial-symbiosis-a-model-for-growth-in-the-circular-economy/
2. ระบบการรีไซเคิลกระป๋องและขวดเครื่องดื่ม
เครดิตภาพจาก State of Green
ในปี 2564 เดนมาร์กมีอัตราการส่งคืนบรรจุภัณฑ์แบบใช้แล้วทิ้งประมาณร้อยละ 93 และมีการรีไซเคิล กระป๋องและขวดจํานวนกว่า 1.9 พันล้านชิ้นให้นํากลับมาใช้ใหม่ เนื่องจากเดนมาร์กได้กําหนดให้มีระบบ การจ่ายเงินมัดจําค่าขวดและกระป๋องซึ่งผู้บริโภคสามารถนํากระป๋องและขวดที่จ่ายเงินมัดจําไปคืนที่ตู้รับคืน บรรจุภัณฑ์ขององค์กร Dansk Retursystem ที่ตั้งอยู่ในซุปเปอร์มาร์เกตและร้านขายของชําทั่วประเทศ อนึ่ง ระบบดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น การผลิตกระป๋องจากวัสดุรีไซเคิลใช้พลังงานน้อยกว่าการผลิตกระป๋องจากวัสดุบริสุทธิ์ (virgin materials) ถึงร้อยละ 95 การรีไซเคิลทําให้ลดการใช้แร่บอกไซด์ (bauxite) ในการผลิตอะลูมิเนียม
ทั้งนี้ สามารถศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดได้ที่ https://stateofgreen.com/en/solutions/the-danish-deposit-return-system-for-recycling-drink-cans-and-bottles/
3. โครงการเคหะของรัฐแห่งแรกของเดนมาร์กที่สร้างขึ้นตามหลัก Circular Economy
เครดิตภาพจาก State of Green
อุตสาหกรรมก่อสร้างมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คิดเป็นร้อยละ 39 จึงมีความจําเป็นที่จะต้อง ดําเนินการออกแบบและก่อสร้างในรูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งหนึ่งในวิธีการดังกล่าวคือ การรีไซเคิลหรือ การนําวัสดุก่อสร้างกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มอายุการใช้งานและการนําวัสดุกลับมาใช้ใหม่ให้ได้มาก ที่สุด หนึ่งในตัวอย่างสําคัญคือ โครงการ The Circle House ที่ออกแบบโดยบริษัท 3XN Architects ตั้งอยู่ ทางตอนเหนือของเมือง Aarhus ซึ่งคาดว่าจะสร้างแล้วเสร็จในปี 2566 บริษัทฯ ได้ออกแบบพิมพ์เขียวสําหรับ การก่อสร้างอาคารหมุนเวียน (circular construction) โดยร้อยละ 90 ของวัสดุก่อสร้างสามารถรื้อถอนและ นํากลับมาใช้ใหม่ หรือขายต่อได้โดยไม่เสียมูลค่า โครงการดังกล่าวนอกจากจะใช้คอนกรีตและซีเมนต์เป็นวัสดุ ก่อสร้างหลักแล้ว ยังมีการเลือกใช้วัสดุทางเลือกอื่น ๆ เพื่อทําให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ เหลือน้อยที่สุด เช่น การนําไม้ก๊อกและหนังสือพิมพ์เก่ามาใช้สําหรับบริเวณด้านหน้าของอาคาร การนําหญ้า ทะเลและเมล็ดข้าว Granules มาใช้เป็นฉนวนความร้อน และการนํายางรถยนต์เก่ามาใช้เป็นแผ่นรองพื้นห้อง เป็นต้น โดยเมื่อโครงการดังกล่าวสร้างแล้วเสร็จจะกลายเป็นโครงการแห่งแรกของโลกที่สร้างขึ้นตามหลักของ Circular Economy และคาดว่าจะทําให้เดนมาร์กมีศักยภาพทางเศรษฐกิจในการดําเนินเศรษฐกิจหมุนเวียน ในอุตสาหกรรมก่อสร้างประมาณ 7.75 พันล้านยูโร/ปี (ประมาณ 286.75 พันล้านบาท) ไปจนถึงปี 2578
ทั้งนี้ สามารถศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดได้ที่ https://stateofgreen.com/en/solutions/denmarks-first-circular-social-housing-project/
4. การนําอิฐเก่ากลับมาใช้ใหม่เพื่ออนาคตสีเขียว
บริษัท Gamle Mursten ของเดนมาร์กได้คิดค้นผลิตเทคโนโลยีทําความสะอาดที่จดสิทธิบัตรแล้ว ในการนําขยะก่อสร้างนํากลับมาใช้ใหม่ โดยจะรวบรวมอิฐเก่านํามาทําความสะอาดด้วยเทคโนโลยีการ
สั่นสะเทือน และตรวจสอบคุณภาพก่อนที่จะถูกนํามาวางซ้อนเรียงกันบนแท่นไม้พาเลทโดยหุ่นยนต์ เพื่อจัด ส่งไปยังไซต์งานก่อสร้างแห่งใหม่ ซึ่งจะประหยัดพลังงานมากกว่าร้อยละ 95 ของพลังงานที่ใช้ในการผลิตอิฐ ใหม่ วิธีการดังกล่าวนับเป็นตัวอย่างของเศรษฐกิจหมุนเวียนที่สมบูรณ์แบบที่ส่งต่อทรัพยากรจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่น ใหม่ ซึ่งอิฐที่นํามาผ่านเทคโนโลยีดังกล่าวจํานวน 2,000 ก้อนจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ถึง 1 ตัน ทั้งนี้ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://stateofgreen.com/en/solution-providers/rebrickgamle-mursten/
จากตัวอย่างการนำเรื่อง Circular Model มาใช้กับธุรกิจของเดนมาร์ก สามารถเอื้อประโยชน์ให้ไม่เพียงแต่ผู้ประกอบการ แต่ยังรวมถึงประชาชนในประเทศที่มีบทบาทอื่น ๆ ด้วย อนึ่ง ประเทศไทยได้มีการส่งเสริมเรื่องโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว อาจพิจารณานำเอาตัวอย่างข้างต้น มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทประเทศไทยในด้านต่าง ๆ ได้
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน
เรียบเรียงโดย ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ