ระบบอัตโนมัติ (Automation) คือกระบวนการใช้เครื่องจักรทางกายภาพ ซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อทดแทนการทํางานของมนุษย์ ในขณะที่ระบบหุ่นยนต์ (robotics) เป็น กระบวนการออกแบบ สร้าง และใช้หุ่นยนต์ในการปฏิบัติงาน การใช้หุ่นยนต์และโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ มาทํางานอัตโนมัติในกระบวนการการทํางานรูปแบบต่างๆ หรือ robotic process automation (RPA) เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในเดนมาร์ก โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่มักใช้หุ่นยนต์ในการผลิตสินค้าประเภทเดียวกันเป็นจํานวนมากหรือการบรรจุภัณฑ์ โดยซอฟต์แวร์ RPA สามารถนํามาบูรณาการเข้ากับระบบอัตโนมัติซึ่งหลังจาการฝึกฝนแล้วจะสามารถปฏิบัติงานได้เช่นเดียวกับพนักงานของบริษัท โดยซอฟต์แวร์ดังกล่าวสามารถใช้ร่วมกับโซลูชั่นและการบริการ ต่างๆ ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence (AI)) หรือ Machine Learning (ML) ได้ด้วย
.
อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของเดนมาร์กสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ (1) หุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมซึ่งมักมีการติดตั้งหุ่นยนต์ที่มีขนาดใหญ่แบบถาวรซึ่งสามารถทํางานได้โดยปราศจากการควบคุมของมนุษย์และสภาพแวดล้อม (2) หุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่สามารถทํางานร่วมกับมนุษย์ได้ (cobots) ซึ่งประกอบด้วยหุ่นยนต์ที่มีขนาดเล็กกว่าและมีความยืดหยุ่นทางกายภาพโดยสามารถทํางานร่วมกับผู้คนในสภาพแวดล้อมการทํางานทั่วไปได้ (3) หุ่นยนต์เพื่อการบริการระดับมืออาชีพ ประกอบด้วยหุ่นยนต์ที่ใช้ในการขนส่ง การป้องกันทางการทหาร สาธารณสุข ทําความสะอาด การลาดตระเวน และ โดรนต่างๆ (4) หุ่นยนต์เพื่อการบริการส่วนบุคคล ซึ่งประกอบด้วยหุ่นยนต์ที่ใช้สําหรับกลุ่มผู้บริโภคส่วนบุคคลในด้านความบันเทิง การดูแลและการทําความสะอาดในครัวเรือน
.
เดนมาร์กเป็นศูนย์เทคโนโลยี cobots ที่ใหญ่ที่สุดในระดับโลก ตั้งอยู่ที่เมือง Odense ทางตอนใต้ของเดนมาร์กและเมือง Aalborg ทางตอนเหนือของเดนมาร์ก ทั้งนี้ หุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบ cobots และหุ่นยนต์เพื่อการบริการเป็นกําลังขับเคลื่อนการผลิตและการขายในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของเดนมาร์กมากที่สุด โดย cobots หุ่นยนต์ประเภท universal robots (UR) และ mobile industrial robots (MIR) และแขนกลอัจฉริยะสําหรับการผลิตรถยนต์ (automative roboteers) มีการผลิตมากที่สุดในเดนมาร์ก ซึ่งการผลิต universal robots (UR) คิดเป็นร้อยละ 60 ของตลาด cobots ทั่วโลก
.
โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติด้านสาธารณสุข
.
แม้เดนมาร์กจะมีการผลิตและพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อใช้ในระบบสาธารณสุขมายาวนาน แต่การใช้ Robotics/Automation ในภาคสาธารณสุขยังมีข้อจํากัดและยังไม่เป็นที่แพร่หลาย เมื่อเทียบกับภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมอาหารและการบริการ เช่น บรรจุภัณฑ์ การประกอบผลิตภัณฑ์ และการคัดแยกสินค้ามากกว่าการดําเนินอุตสาหกรรมอื่น เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ หรือด้านสาธารณสุข
.
นอกจากนี้ University of Southern Denmark (SDU) และ Aalborg University (AAU) เป็น มหาวิทยาลัยแนวหน้าของเดนมาร์กที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการวิจัยและพัฒนา Robotics/Automation ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคสาธารณสุขของเดนมาร์ก ซึ่งปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาและสถาบันการวิจัยอีกหลายแห่งในเดนมาร์กที่เริ่มค้นคว้าและปรับใช้นวัตกรรม Robotics/Automation ในภาคสาธารณสุขอย่างจริงจัง โดยมีโครงการที่สําคัญ เช่น
.
(1) SMOOTH โครงการที่เน้นการสร้างหุ่นยนต์ที่สามารถให้ความช่วยเหลือบุคลากรในบ้านพักคนชราในการให้บริการต่างๆ เช่น การจัดส่งเครื่องดื่ม และการเก็บผ้าสําหรับซักรีด เป็นต้น
.
(2) Dictus ระบบการจําและรับรู้เสียงอัตโนมัติที่จะถูกนํามาใช้เมื่อหุ่นยนต์ SMOOTH มีปฏิสัมพันธ์กับบุคลากรหรือคนชรา
.
(3) HealthCAT (Health Care Assisting Technology) หุ่นยนต์ที่อํานวยความสะดวกแก่บุคลากรทาง การแพทย์ในโรงพยาบาล โดยการถ่ายโอนอุปกรณ์ทางการแพทย์และวัสดุต่างๆ ระหว่างสถานที่ (4) The Robo Trainer-One Project โครงการการพัฒนาหุ่นยนต์ที่ใช้สําหรับกายภาพบําบัดและการกายภาพเชิงป้องกันของผู้ป่วยในโรงพยาบาล
.
(5) Blue Ocean Robotics พัฒนาสร้างหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อด้วยแสง UV ซึ่งใช้สําหรับการทําความสะอาดห้องผู้ป่วย ห้องน้ํา และห้องผ่าตัดเป็นหลัก
.
(6) The Cames Robotics เป็นหุ่นยนต์ที่พัฒนาและสร้างโดยสถาบัน Copenhagen Academy for Medical Education and Simulation ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคณะสังคมศาสตร์ University of Copenhagen ใช้สําหรับการตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ นรีเวชวิทยา และการผ่าตัดทั่วไป
.
(7) โดรน “Ubemandede AY” ที่ University of Southern Denmark (SDU) ได้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ใน อุตสาหกรรมหลากหลาย รวมทั้งภาคสาธารณสุขและเกษตรกรรมโดยเป็นโดรนที่สามารถขนส่งอุปกรณ์ไปยังจุดต่างๆ ทั่วเดนมาร์กและการตรวจวัดสภาพอากาศได้
.
ปัจจุบันนี้ ระบบสาธารณสุขของประเทศไทยมีความเข้มแข็งในระดับโลกอย่างมาก การที่ผู้ประกอบการไทยร่วมลงทุนในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติร่วมกับเดนมาร์ก เพื่อพัฒนาการให้บริการด้านสาธารณสุข หรือการบริการ จะสามารถลดต้นทุนและเวลาได้ในระยะยาว โดยเฉพาะ ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่หุ่นยนต์จะสามารถลดอัตราการสัมผัสและติดเชื้อระหว่างบุคคลได้ ซึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าว จะสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติได้อย่างมาก โดยเฉพาะการร่วมพัฒนากับบริษัทภายในอาเซียน เพื่อผลักดันให้กลายเป็นเป็นภูมิภาคที่น่าลงทุนด้านเทคโนโลยีของโลก
.
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน