เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2565 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน ได้จัดงาน Dinner Talk เกี่ยวกับ EEC ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูต โดยมีผู้เข้าร่วมจาก Danish-Thai Business Network (https://www.danthainet.com) ซึ่งเป็นเครือข่ายทางการค้าและการลงทุนสำหรับผู้ประกอบการเดนมาร์กที่มีความสนใจที่จะประกอบธุรกิจและลงทุนในประเทศไทย ผู้แทนสมาคมมิตรภาพเดนมาร์ก-ไทย (Danish – Thai Society) รวมถึงผู้แทนจาก Trade Council และกรมเอเชียฯ กระทรวงการต่างประเทศเดนมาร์ก
ภาพรวมด้านการค้าการลงทุนที่เกี่ยวกับ EEC
การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน และระบบโลจิสติกส์แบบไร้รอยต่อของ EEC ตลอดจนการสร้างระบบนิเวศด้านนวัตกรรมภายในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อรองรับการลงทุนจากต่างประเทศพร้อมสิทธิประโยชน์พิเศษทางด้านธุรกิจและการลงทุนในพื้นที่ EEC ถูกตั้งเป้าความสำเร็จไว้ประมาณ 1.7 พันล้านบาท จาก 3 โครงการ megaprojects ได้แก่ สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง และท่าเรือมาบตาพุด โดยมีการลงนามในสัญญาโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินกับท่าเรือไปเรียบร้อยแล้ว ด้วยมูลค่า 14 พันล้านบาท มีมูลค่าการลงทุนที่ BOI อนุมัติบัตรส่งเสริมการลงทุนในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาจำนวน 27 พันล้านบาท และคาดว่าเมื่อ EEC ดำเนินการอย่างเต็มตัวแล้วจะมีการลงทุนในอนาคตคิดเป็นมูลค่า 2.2 ล้านล้านบาท ในสาขาดิจิทัล medtech และการศึกษา ทั้งนี้ มี 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายใน EEC ได้แก่ Next-Generation Automotive Intelligent Electronics Advance Agriculture & Biotechnology Food Processing High Wealth & Medical Tourism Robotics & Automation Aviation & Logistics Comprehensive Healthcare Biofuel & Biochemical Digital Defense Lay Education and Human Resource Development
โดยนักลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมพิเศษ รวม 7 เขต ได้แก่ (1) Eastern Airport City (EECa) ที่สนามบินอู่ตะเภา จ.ระยอง (2) EECi Innovative Platform ที่วังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง (3) Digital Park (EECd) ที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี (4) High-Speed Rail Ribbon Sprawl (EECh) ตามเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ได้แก่ สนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา (5) Medical Hub (EECnmd) ที่พัทยา (6) Genomics Thailand (EECg) ที่ ม.บูรพา จ.ชลบุรี และ (7) Tech Park (EECtp) ที่ อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
ความคืบหน้าด้านโลจิสติกส์ในเขต EEC
(1) การขนส่งทางบก ได้มีริเริ่มก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงแบบรางคู่เพื่อเชื่อมสนามบินกับท่าเรือ ทั้งหมด 7 สถานี โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 3-4 ปี
(2) การขนส่งทางอากาศ Leipzig Airport ได้เสนอที่จะลงทุนใน cargo Connection และ EEC และมีการทำสัญญากับคณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษอากาศ ยานเจิ้งโจว (Zhengzhou Airport Economy Zone:ZAEZ) มุ่งให้ EEC เป็น hub สำหรับผลิตผลทางการเกษตร
(3) การขนส่งทางน้ำ ในอนาคตภาครัฐจะผลักดันให้สามารถเชื่อมต่อกับท่าเรือเกาะสมุย กัมพูชา และเวียดนามใต้ ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและเม็ดเงินการลงทุนในพื้นที่ ในส่วนภาคใต้จะมี Southern Land Bridge ซึ่งเชื่อม จ.ชุมพรกับระนอง ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการส่งก๊าซจากอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ยิ่งไปกว่านั้น บ.Frangis ของฝรั่งเศสสนใจที่จะลงทุนด้าน fresh products และอาหารทะเลใน EEC อีกด้วย
บทบาทและแนวทางในการช่วยเหลือภาคธุรกิจไทยในเขตพื้นที่ EEC
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ได้ส่งเสริม SMEs ไทยผ่านการจัดโครงการ Growth Program for Startup 2022 ซึ่งมุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจให้สามารถแข่งขันในตลาด EEC นอกจากนั้น หอการค้าไทยยังได้ร่วมมือกับสถาบันด้านเทคโนโลยีของเยอรมนีจัดตั้งโปรแกรมการฝึกอบรมต่าง ๆ ด้วย รวมถึงจัดโปรแกรมการอบรมกับบริษัท เช่น ADB Huawei และ Sisco เพื่อตอบสนองอุปทานของตลาดแรงงานที่มีความต้องการด้านเทคโนโลยีที่มากขึ้น
อนึ่ง ไทยเป็นผู้นําอันดับต้น ๆ ในด้าน healthcare business รองจากประเทศสิงคโปร์ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการบริการด้านสุขภาพของโรงพยาบาลในไทย และคุณภาพของแพทย์ซึ่งเป็นที่รู้จักในหมู่ประเทศอาหรับ จากข้อได้เปรียบนี้ ไทยอาจมองถึงการลงทุนเพิ่มเติมในด้านสุขภาพแบบครบวงจร โดยเฉพาะทางด้านการแพทย์ genomics ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษด้านการแพทย์และสุขภาพของ EEC ที่กำลังขยายการลงทุนเพิ่มเติม ทั้งนี้ ไทยได้มีการลงทุนในภาคโรงพยาบาลไปบ้างแล้ว เช่น บริษัท Thaibev ลงทุนในโรงพยาบาล MedPark และ ปตท.กําลังก่อสร้างโรงพยาบาลที่บางนา