ภาพรวมเศรษฐกิจเช็กในปี 2561 นับว่ามีการเจริญเติบโตอยู่ในเกณฑ์ดี แม้จะมีภาวะชะลอตัวบ้าง โดยอัตราการเจริญเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 3 ซึ่งลดลงจากปี 2560 ประมาณร้อยละ 1 แต่พื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศยังคงมีความแข็งแกร่งและสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดการเจริญเติบโต คือ ความต้องการบริโภคภายในประเทศและการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม [su_spacer size=”20″]
มูลค่าการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ คิดเป็น 4.2 ล้านล้านคอรูนา การเติบโตของสินค้าภายในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอุปกรณ์เครื่องจักร โดยมีอัตราว่างงานเพียงร้อยละ 2.1 ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศ EU อย่างไรก็ดี เช็กได้ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานระดับล่าง ซึ่งรัฐบาลพยายามดําเนินนโยบายและมาตรการเพื่อดึงดูดแรงงานต่างชาติเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว [su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ดี ในปี 2562 ปัจจัยความท้าทายจากภายนอกที่สําคัญซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเช็ก ประกอบด้วย (1) การลดลงของมูลค่าการค้ากับต่างประเทศเนื่องจากมีแนวโน้มว่าจะมีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศใน Euro Zone เพิ่มขึ้น (2) ผลกระทบจาก BREXIT ซึ่งรัฐบาลได้เร่งหามาตรการรองรับสําหรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจเช็ก โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมยานยนต์และวิศวกรรมแล้วบางส่วน (3) ความผันผวนภายในตลาดโลก (4) ความขัดแย้งในการค้าระหว่างประเทศ (5) ความอิ่มตัวของตลาดรถยนต์ในยุโรป และ (6) การเปลี่ยนแปลงด้านภูมิรัฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ [su_spacer size=”20″]
สาขาโครงการลงทุนที่รัฐบาลให้ความสําคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมดิจิทัล นวัตกรรม Start up การวิจัยและพัฒนา การพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การใช้พลังงานทดแทนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยรัฐบาลอยู่ระหว่างการจัดทํายุทธศาสตร์ประเทศฉบับใหม่ ซึ่งรวมถึงยุทธศาสตร์ด้านนวัตกรรมด้วย [su_spacer size=”20″]
ประเทศคู่ค้าสําคัญของเช็กยังเป็นประเทศในกลุ่ม EU โดยเฉพาะเยอรมนี อย่างไรก็ดี คู่ค้าที่สําคัญของเช็กในเอเชียที่มีมูลค่าการค้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เวียดนาม นอกจากนี้ แนวโน้มการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่าง EU กับ ญี่ปุ่นและแคนาดาที่เป็นไปด้วยดี จะทําให้แนวโน้มปริมาณการค้าของประเทศดังกล่าวกับเช็กเพิ่มสูงด้วยเช่นกัน ในปี 2561 ค่าเงินคอรูนาต่อยูโรและดอลลาร์สหรัฐแข็งขึ้นประมาณร้อยละ 2.6 และร้อยละ 7 ตามลําดับ ทําให้ราคาสินค้าส่งออกสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตลาดการส่งออกและนําเข้าหลักของเช็กยังคงเป็นตลาดใน EU โดยนับเป็นอัตราส่วนประมาณร้อยละ 80 ของการส่งออกทั้งหมด ในขณะที่การนําเข้าจากตลาดภายใน EU คิดเป็นร้อยละ 66.66 ของมูลค่าการนําเข้าทั้งหมด และในจํานวนดังกล่าวเป็นการนําเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ เยอรมนี สโลวะเกีย โปแลนด์ และออสเตรียประมาณร้อยละ 40 โดยจีนเป็นประเทศนอก EU ที่เช็กนําเข้าสินค้าสูงสุด และเช็กก็ขาดดุลการค้ากับจีนมากที่สุดเช่นกัน สําหรับประเทศนอก EU ที่เป็นตลาดการส่งออกที่สําคัญของเช็กคือ สหรัฐฯ และรัสเซีย [su_spacer size=”20″]
ปัจจุบัน เช็กให้ความสําคัญกับการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา (Official Development Assistance – ODA) ผ่านโครงการช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาต่าง ๆ มากขึ้น โดยเน้นให้ความช่วยเหลือประเทศในภูมิภาคเอเชีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง โดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายต่างประเทศด้านเศรษฐกิจ และมุ่งความสนใจสู่ภูมิภาคอื่นนอกจากยุโรป [su_spacer size=”20″]
ถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปราก