การค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐเช็กในช่วงเดือน ม.ค. – ต.ค. 2560 มีมูลค่า 280 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการส่งออก 148.27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 132.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตลาดหลักของเช็กเป็นกลุ่มประเทศ EU โดยเฉพาะเยอรมนี มีมูลค่าร้อยละ 29.56 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเช็ก (รองลงมาคือ โปแลนด์ ร้อยละ 6.86 จีน ร้อยละ 6.5 และ สโลวาเกีย ร้อยละ 6.3 ตามลำดับ) ทั้งนี้ รายได้จากการส่งออกของเช็กมาจากภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ อะไหล่และส่วนประกอบ[su_spacer size=”20″]
องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Co-operation and Development – OECD) คาดการณ์ว่า ในปี 2561 และ 2562 เศรษฐกิจเช็กจะเติบโตต่อไป จากอุปสงค์ทั้งภายในและภายนอกประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น รัฐบาลเช็กได้ปรับอัตราค่าจ้างงานเพิ่มขึ้น ซึ่งสร้างกำลังซื้อและการจับจ่ายใช้สอยของครัวเรือนให้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจที่ของเช็กกำลังเผชิญปัญหาค่าครองชีพ ราคาสินค้าและมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อที่จะเพิ่มสูงขึ้นและค่าเงินคอรูนาที่จะแข็งตัวขึ้น รัฐบาลเช็กจึงต้องกำกับดูแลนโยบายการเงินการคลังอย่างใกล้ชิด[su_spacer size=”20″]
กระทรวงพาณิชย์ของไทย รายงานว่า การค้าระหว่างไทยและเช็ก ระหว่างเดือน มกราคม – พฤศจิกายน มีมูลค่า 824.06 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยนำเข้า 185.36 ดอลลาร์สหรัฐ และไทยส่งออก 638.70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 453.34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติเช็ก เผยข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม – ตุลาคม 2560 ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 29 ของเช็ก มีมูลค่าการค้า 1.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าหลักที่ฝ่ายไทยส่งออกยังคงเป็นในหมวดเดิม คือ (1) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (2) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น (3) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (4) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ และ (5) ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากเช็กคือ (1) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (2) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ (3) อุปกรณ์ยานยนต์และส่วนประกอบ (4) ผลิตภัณฑ์จากพลาสติก และ (5) กระดาษและผลิตภัณฑ์จากกระดาษ[su_spacer size=”20″]
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา มูลค่าการค้าไทย-เช็ก อยู่ที่ประมาณ 0.8 – 1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการค้าของบริษัทข้ามชาติ (Multinational Corporations – MNCs) เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทางหน่วยงานของไทยได้พยายามสนับสนุนให้ภาคเอกชนของทั้งสองประเทศเดินทางไปมาระหว่างกัน รวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน ไทย-เช็ก เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือและจับคู่ทางธุรกิจระหว่างกัน เพื่อเพิ่มการค้าสินค้าเดิมและส่งเสริมสินค้าใหม่ที่ทั้งสองฝ่ายมีศักยภาพและตลาด เช่น สินค้าอาหารและอาหารออร์แกนิก ชิ้นส่วนอุปกรณ์ ส่วนประกอบและอะไหล่ยนต์และเครื่องจักร และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น[su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ดี การลงทุนระหว่างกันของสองประเทศยังมีน้อย โดยหน่วยงานไทยได้เสนอให้ฝ่ายเช็กเห็นศักยภาพและโอกาสสำหรับการเข้าไปลงทุนในโครงการตามนโยบายประเทศไทย 4.0 และโครงการ EEC โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ระบบโครงสร้างขั้นพื้นฐาน การคมนาคมระบบรางและทางอากาศ การขนส่งและโลจิสติกส์ และพลังงานทางเลือก ซึ่งเป็นด้านที่ฝ่ายเช็กมีศักยภาพอยู่แล้ว รวมถึงการใช้ไทยเป็นฐานการค้าและการผลิตต่อไปยังประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้กระตุ้นให้ภาคเอกชนไทยเข้าไปลงทุนในเช็กในด้านอุตสาหกรรมโรงแรม การท่องเที่ยวและการบริการ และการใช้เช็กเป็นฐานการค้าและการผลิตต่อไปยังประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคยุโรป[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปราก