- ภาพรวมสถานการณ์เศรษฐกิจ
นับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2562 การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเช็กยังคงชะลอตัวตามที่รัฐบาลได้ คาดการณ์ไว้ตั้งแต่ปี 2561 โดยมีอัตราการเจริญเติบโตของ GDP อยู่ที่ 0.5% ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ 0.8% โดยอุตสาหกรรมการผลิตยังคงเป็นปัจจัยสําคัญที่กระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและในระยะยาวมีแนวโน้มว่า การพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมอุปกรณ์ใยแก้วจะเป็นภาคอุตสาหกรรมหลักที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุดและเป็นตัวขับเคลื่อนและกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเป็นสาขาอุตสาหกรรมที่ตอบสนองกับกระแสของการพัฒนาและการขยายตัวของเทคโนโลยีดิจิทัลของโลกในปัจจุบัน
[su_spacer]
อุตสาหกรรมภาคบริการนับเป็นตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สําคัญอีกสาขาหนึ่งในช่วงไตรมาสแรก ของปี 2562 รายได้จากอุตสาหกรรมภาคบริการเพิ่มขึ้น 2.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมี รายได้จากธุรกิจด้านสารสนเทศและการสื่อสารเพิ่มขึ้น 5.8% กิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพิ่มขึ้น 3.2% รายได้จากภาคภัตตาคาร/ร้านอาหารและโรงแรม เพิ่มขึ้น 2.2% รวมทั้งอุตสาหกรรมภาคการก่อสร้าง มีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 2.3% เมื่อเทียบจากช่วงไตรมาสแรกของปี 2561 ในขณะที่ความต้องการบริโภคภายในครัวเรือนในประเทศ ยังคงเป็นปัจจัยสําคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ประเทศ ซึ่งอัตราค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว มีส่วนสําคัญในการกระตุ้นให้ความต้องการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
[su_spacer]
- ปัจจัยสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
(1) ปัญหาการขาดแคลนแรงงานยังคงเป็นปัจจัยสําคัญที่ก่อให้เกิดการชะลอตัวของอัตราการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ในปี 2561 อัตราการว่างงานลดลงมาอยู่ที่ 2.2% ซึ่งลดลงจากปี 2560 (2.9%) ตลอดระยะเวลาประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ปี 2551) อัตราการว่างงานของเช็กลดลงมาอยู่ในอันดับที่ต่ำที่สุดใน EU และ OECD ซึ่งการขาดแคลนแรงงานที่เกิดขึ้นในปัจจุบันส่งผลให้เกิดการขึ้นค่าจ้างแรงงานอย่างมีนัยสําคัญ โดยอัตราค่าจ้างเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นถึง 5.8 – 7.5 % จากปี 2561 และเป็นที่คาดการณ์ว่า ในปี 2562 อัตราค่าจ้างเฉลี่ย จะเพิ่มสูงขึ้นอีกประมาณ 4.8 – 7% (อัตราค่าจ้างเฉลี่ยในปี 2560 อยู่ที่ 29,496 คอรูน่า/เดือน ในขณะที่ปี 2561 อยู่ ที่ 31,885 คอรูน่า/เดือน และเป็นที่คาดการณ์ว่า ในปี 2562 จะอยู่ที่ 34,200 คอรูน่า/เดือน) ซึ่งการขึ้นอัตราค่าจ้าง เฉลี่ยได้ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
[su_spacer]
(2) โดยที่ระบบเศรษฐกิจของเช็กมีความเปิดกว้างและเน้นการค้าเสรีที่มีการพึ่งพิงตลาดต่างชาติ เป็นอย่างมาก โดยมีคู่ค้าหลักคือ เยอรมนีและประเทศในภูมิภาคยุโรป การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนี ความไม่ แน่นอนของ BREXIT ว่าจะออกมาในรูปแบบใด ซึ่งอังกฤษนับเป็นคู่ค้าที่มีความสําคัญของเช็ก โดยเป็นตลาดส่งออก ลําดับที่ 5 และประมาณ 33% ของการส่งออกเป็นสินค้าด้านยานยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ กอปรกับความผันผวนและความรุนแรงของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ – จีน ได้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเช็กอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
[su_spacer]
- ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างไทย-เช็ก
(1) มูลค่าการค้าระหว่างไทย-เช็ก ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 อยู่ที่ 307 ล้าน USD โดย มูลค่าการส่งออกของไทยอยู่ที่ 225 ล้าน USD และนําเข้า 82 ล้าน USD โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 143 ล้าน USD ซึ่งลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วอยู่ 10.7% สินค้าส่งออกที่สําคัญของไทย คือ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ โดยมีสัดส่วนถึง 31.6% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด (ลดลงถึง 33% จากช่วง เดียวกันของปีที่แล้ว) สินค้าส่งออกสําคัญรองลงมา ได้แก่ อะไหล่รถยนต์และส่วนประกอบ ซึ่งคิดเป็น 7.4% ของมูลค่าการส่งออก โดยผู้นําเข้าหลักคือ บ. Toyota Peugeot Citroen Automotive (TPCA) แผงวงจร (6.6%) อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ (5.9%) หม้อแปลง (5.3%) และทองแดง (5.2%) สําหรับใช้ในการผลิต เครื่องปรับอากาศ การนําเข้าของไทยจากเช็กลดลง 3.8% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยสินค้านําเข้าหลัก ได้แก่ เครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์และอะไหล่ เครื่องกล เช่น กังหัน เครื่องกําเนิดไฟฟ้า อะไหล่รถยนต์ คอมพิวเตอร์และ ส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์นมและเนย และอาวุธยุทธภัณฑ์
[su_spacer]
(2) สัดส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารและสินค้าเกษตรในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 คิดเป็น 3% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดโดยมีข้าว เครื่องปรุงอาหาร และอาหารสําเร็จรูป เช่น อาหารกระป๋อง ผลไม้สดและ แห้ง ปลากระป๋องและอาหารทะเลกระป๋อง อาหารสัตว์ และเส้นก๋วยเตี๋ยวเป็นสินค้าส่งออกหลัก อย่างไรก็ดี สัดส่วน ตลาดข้าวของไทยในเช็กเริ่มถูกกัมพูชาและเมียนมาเข้ามาแทนที่ ในปัจจุบันไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวไปยังเช็กเป็นลําดับ ที่ 4 รองจากอิตาลี (30.6%) เมียนมา (15.3%) และกัมพูชา (15.1%) เนื่องจากไทยถูกตัดสิทธิ GSP จึงทําให้ทั้ง เมียนมาและกัมพูชาซึ่งยังได้รับสิทธิพิเศษ GSP อยู่ได้เปรียบในการแข่งขันด้านราคา ภายหลังจากที่ไทยถูกตัดสิทธิ GSP มูลค่าการส่งออกข้าวของไทยไปยังเช็กอยู่ในภาวะชะลอตัว อย่างไรก็ดี สถานการณ์การส่งออกเริ่มมีแนวโน้มที่ จะกลับมาดีขึ้นและในปี 2561 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 17% และในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 เพิ่มขึ้น 6% จากช่วง เดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งปัจจัยสําคัญน่าจะเป็นผลจากการที่ราคาข้าวไทยมีมูลค่าสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ส่วนสินค้า หลักอื่น ๆ ของของไทยในตลาดเช็ก ได้แก่ (1) สับปะรดกระป๋องโดยมีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดถึง 50% ตามมาด้วย เยอรมนี ฟิลิปปินส์ และแอฟริกาใต้ (2) ปลาทูน่ากระป๋องโดยมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 38% ตามมาด้วย ฟิลิปปินส์ เอกวาดอร์ โปแลนด์ และเวียดนาม และ (3) แป้งมันสําปะหลัง โดยมีส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 75% ตามมาด้วยกัมพูชา และเยอรมนี
[su_spacer]
- แนวโน้มสถานการณ์เศรษฐกิจของเช็ก
(1) จากสภาวะความชะลอตัวทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทําให้รัฐบาลเช็กได้คาดการณ์ถึงแนวโน้มดัชนีทางเศรษฐกิจที่สําคัญไว้ ดังนี้ ในปี 2562 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ น่าจะอยู่ที่ 2.5 – 2.9 % ซึ่งถือว่าสูงกว่าอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยของกลุ่มประเทศ Eurozone ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 1% และกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่คาดว่าจะอยู่ที่ 1.3% ในขณะที่ อัตรา GDP ต่อหัวเท่ากับ 20,600 ยูโร (ในปี 2561 เท่ากับ19,500 ยูโร) ในส่วนของอัตราดอกเบี้ย (1.75%) อัตราการ ว่างงาน (2.2%) คาดว่าจะยังคงตัวเท่ากับปีที่แล้ว ส่วนภาคอุตสาหกรรมคาดว่าจะขยายตัวลดลงจากปีที่แล้ว (3%) มาอยู่ที่ 1.5% ในปี 2562 และอัตราเงินเฟ้อน่าจะปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย คือเท่ากับ 2.3 (ปี 2561 เท่ากับ 2.1%)
[su_spacer]
(2) ปัญหาการขาดแคลนแรงงานยังคงเป็นปัจจัยสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจและการขยายตัวของภาคการผลิตในอนาคตอันใกล้นี้ และยังเป็นภาวะกดดันที่ทําให้รัฐบาล ต้องสร้างแรงจูงใจในการทํางานโดยการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างอย่างรวดเร็ว ซึ่งย่อมส่งผลให้เซ็กสูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขันด้านต้นทุนการผลิตอย่างหลักเลี่ยงไม่ได้ ความพยายามของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในระยะยาวคือการให้ความสําคัญกับ R&D ที่มุ่งพัฒนาด้านหุ่นยนต์ เครื่องมืออัตโนมัติและเทคโนโลยีชั้นสูงเพื่อ นํามาใช้ทดแทนแรงงานคนในภาคการผลิต ความพยายามแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานของรัฐบาลประกอบ ไปด้วยหลายแนวทาง เช่น การจ้างผู้ที่เพิ่งเกษียณอายุ ตลอดจนชายและหญิงที่อยู่ระหว่างการลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรให้กลับมาทํางานชั่วคราว อย่างไรก็ดี กลุ่มบุคคลเหล่านี้นับเป็นผู้ที่มีศักยภาพจํากัด จึงไม่สามารถทุ่มเทให้กับการทํางานได้อย่างเต็มที่ รัฐบาลจึงต้องพึ่งพาการจ้างแรงงานต่างชาติเป็นสําคัญ ซึ่งในปัจจุบันรัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาในระยะยาวโดยการปรับรูปแบบอุตสาหกรรมการผลิตที่เน้นการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีชั้นสูงเพื่อใช้เครื่องมือ อัตโนมัติและหุ่นยนต์ทดแทนแรงงานคนในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศ
[su_spacer]
(3) ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก การใช้มาตรการกีดกันทางการค้าของประเทศต่าง ๆ กอปรกับความ อิ่มตัวของตลาดในภูมิภาคยุโรป รวมทั้งความไม่ชัดเจนของประเด็นเรื่อง BREXIT และความรุนแรงของสงคราม การค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯเป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้เช็กต้องเริ่มดําเนินนโยบายที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์กับ ประเทศนอกภูมิภาคยุโรป ซึ่งในห้วงเวลาอันสําคัญนี้ น่าจะเป็นโอกาสอันดีสําหรับประเทศไทย ที่จะกระชับความสัมพันธ์กับเช็กโดยใช้ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจเป็นตัวนํา โดยที่เช็กมีศักยภาพในด้านอุตสาหกรรมป้องกัน ประเทศและอาวุธยุทธโธปกรณ์ต่างๆ การผลิตและซ่อมบํารุงรถไฟรางเบา (tram) รวมทั้งการผลิตยานยนต์สมัยใหม่ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลไทยต้องการดึงดูดให้มาลงทุนใน EEC ดังนั้นการเสริมสร้างส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีกับเช็กในช่วงเวลาที่เช็กก็ต้องการที่จะหันออกไปหาพันธมิตรนอกภูมิภาคยุโรปจึงน่าจะเป็นประโยชน์สําหรับไทยเนื่องจากการมีปฏิสัมพันธ์กับเช็กจะเป็นการ เพิ่มช่องทางให้กับประเทศไทยในการมีปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศ ในสหภาพยุโรป อื่น ๆ รวมทั้งยังเป็นการลดการพึ่งพาประเทศมหาอํานาจในภูมิภาค เช่น จีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่นได้ในเวลาเดียวกัน
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปราก