Tuesday, May 20, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ทันโลก

รถไฟขนส่งสินค้านครซีอาน – กรุงปราก เส้นทางสายใหม่เชื่อมโยงเอเชียถึงยุโรป

04/12/2019
in ทันโลก, ยุโรป
0
รถไฟขนส่งสินค้านครซีอาน – กรุงปราก เส้นทางสายใหม่เชื่อมโยงเอเชียถึงยุโรป
15
SHARES
247
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

ตามที่ปรากฏรายงานข่าวเกี่ยวกับขบวนรถไฟสายใหม่ของจีนที่วิ่งจากนครซีอาน มณฑลส่านซี ไปยังกรุงปราก ภายใต้ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI) โดยเส้นทางดังกล่าวมี ระยะทางประมาณ 11,500 กม. และเป็นการเดินทางผ่านอุโมงค์ Marmaray บริเวณบอสพอรัส (Bosporus) หรือ ช่องแคบอิสตันบูล (Strait of Istanbul) ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การขนส่งสินค้าทางรถไฟจากเอเชียไปยังยุโรปโดย ไม่ผ่านรัสเซีย เส้นทางรถไฟระหว่างนครซีอาน – กรุงปราก  มีรายละเอียด ดังนี้

[su_spacer]

รถไฟขนส่งสินค้าของจีนซึ่งบรรทุกสินค้าจํานวน 42 ตู้สินค้า (ขนาดความยาวตู้ละ 40 ฟุต) ความยาวของขบวนรถทั้งหมดประมาณ 820 เมตร และสินค้าส่วนใหญ่ ได้แก่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ laptop hard disk แผงวงจรในเครื่องโทรทัศน์ เครื่องนุ่งห่ม สิ่งทอ และอะไหล่รถยนต์ ได้ออกเดินทางออกจากนครซีอาน มุ่งหน้าไปทาง ตะวันตก/เหนือของจีน และผ่านเข้าสู่คาซัคสถาน อาเซอร์ไบจาน จอร์เจีย ตุรกี บัลแกเรีย เซอร์เบีย ฮังการี สโลวะเกีย ก่อนถึงจุดหมายปลายทางที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก เส้นทางดังกล่าวมีระยะทางทั้งหมด ประมาณ 11,500 กม. และใช้เวลาในการเดินทางทั้งหมด 18 วัน (การเดินทางระหว่างนครซีอาน – นครอิสตันบูลใช้ เวลา 12 วัน จากเดิมประมาณ 1 เดือน)

[su_spacer]

รถไฟขนส่งสินค้าขบวนดังกล่าวเดินทางถึงเช็กเมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2562 โดยเข้าจอด ที่สถานีรถไฟ Melnik ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาค Central Bohemia ห่างจากกรุงปรากประมาณ 35 กม. สาเหตุที่สถานี ดังกล่าวได้รับเลือกให้เป็นที่จอดของรถไฟขบวนนี้เพราะ บ. Rail Cargo Operator (CSKD) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน ระหว่างเอกชนเช็กและสโลวะเกียเป็นผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์กับรถไฟขบวนนี้และเป็นผู้ดําเนินการกระจายสินค้า ไปยังประเทศต่าง ๆ ในยุโรป เช่น ฮังการีและออสเตรีย ซึ่ง CSKD มีศูนย์ปฏิบัติการที่ใกล้กรุงปรากที่สุดที่สถานีรถไฟ เมือง Melnik และรถไฟขบวนนี้ได้ใช้หัวรถจักรของการรถไฟเช็ก (Ceske drahy- CD หรือ Czech Railways) ในการ ลากจูงขบวนรถเมื่อเข้าสู่สาธารณรัฐเช็ก

[su_spacer]

ทั้งนี้ เส้นทางเดินรถไฟขนส่งสินค้าเส้นนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง รัฐบาลจีนและ รัฐบาลตุรกี โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเชื่อมโยงภูมิภาคยุโรปและเอเชียเข้าด้วยกัน ซึ่งตุรกีจะทําหน้าที่เป็นจุดเชื่อมระหว่าง 2 ภูมิภาค และการเดินทางครั้งประวัติศาสตร์นี้เกิดขึ้นภายหลังการก่อสร้างอุโมงค์ใต้ทะเล Marmaray บริเวณช่องแคบ อิสตันบูล ซึ่งเป็นอุโมงค์ใต้น้ำที่ลึกที่สุดในโลก มีระดับความลึก 60 เมตร และ JICA ได้สนับสนุนงบประมาณ 1.83 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับกลุ่มกิจการค้าร่วมซึ่งมีบริษัท Taisei ยักษ์ใหญ่ด้านการก่อสร้างของญี่ปุ่น ร่วมกับบริษัทก่อสร้างชั้นนําของญี่ปุ่นเป็นผู้ดําเนินโครงการก่อสร้างอุโมงค์ดังกล่าว อย่างไรก็ดี ยังไม่ปรากฏข้อมูลที่ชัดเจนว่า เหตุใดปลายทางของ รถไฟสายนี้จึงเป็นที่กรุงปราก แต่ สอท. คาดว่า ปัจจัยสําคัญน่าจะมาจากที่ตั้งของกรุงปรากซึ่งอยู่ในจุดกึ่งกลางของภูมิภาคยุโรป อีกทั้งกรุงปรากยังมีเครือข่ายเส้นทางการคมนาคมทางบกและทางอากาศที่เชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคหลายเส้นทาง และสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าจากจีนและเอเชียได้ต่อไปในอนาคต

[su_spacer]

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปราก

Tags: การขนส่งเช็ก
Previous Post

“แคว้นอาป้า” แห่งมณฑลเสฉวน แม่แบบเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Next Post

สปป. ลาว จัดตั้งคณะเฉพาะกิจเพื่อส่งเสริมการผลิตและการบริโภคในประเทศ

Admin Admin

Admin Admin

Next Post
สปป. ลาว จัดตั้งคณะเฉพาะกิจเพื่อส่งเสริมการผลิตและการบริโภคในประเทศ

สปป. ลาว จัดตั้งคณะเฉพาะกิจเพื่อส่งเสริมการผลิตและการบริโภคในประเทศ

Post Views: 1,169

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

19/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ตอนที่ 2 : ปัจจัยความสำเร็จของ YRD ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

15/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

15/05/2025
สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

14/05/2025
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

14/05/2025
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X