เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 รัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง รัฐบาลเขตบริหารพิเศษฮ่องกง และรัฐบาลเขตบริหารพิเศษมาเก๊า ได้ร่วมกันจัดการสัมมนา 2019 Guangdong – Hong Kong – Macao Economic Technology and Trade Cooperation Conference ณ Hong Kong Convention and Exhibition Center (HKCEC) โดยภาพรวมของการสัมมนาฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างเขตบริหารพิเศษฮ่องกง เขตบริหารพิเศษมาเก๊า และมณฑลกวางตุ้ง ในด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และการค้า รวมถึงความคืบหน้าในการดําเนินการตามแผนพัฒนากรอบความร่วมมือกวางตุ้ง – ฮ่องกง – มาเก๊า (Outline Development Plan for Guangdong – Hong Kong – Macao Greater Bay Area) ซึ่งภายหลังการสัมมนาได้มีการจัดการประชุม Round Table Meeting โดยรัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากภาคการค้า การผลิต และอุตสาหกรรมของฮ่องกงและต่างประเทศ ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมการสัมมนาฯ ประมาณ 500 คน และผู้เข้าร่วมการประชุมฯ กว่า 50 คน ประกอบไปด้วย ผู้แทนจากภาครัฐ สถานกงสุลใหญ่ต่างประเทศประจําเมืองฮ่องกง และผู้แทนจากภาคเอกชน [su_spacer size=”20″]
เนื้อหาในช่วงการสัมมนาแบ่งออกเป็น 3 ส่วน จากมุมมองของทั้งสามฝ่าย ได้แก่ ฮ่องกง มาเก๊า และกวางตุ้ง [su_spacer size=”20″]
จากมุมมองฮ่องกง นาย Paul Chan, Financial Secretary ของฮ่องกง กล่าวคําปราศรัยในพิธีเปิดและย้ำถึงบทบาทของฮ่องกงในการเป็นศูนย์กลางทางการเงิน การค้า การขนส่ง การบิน การซื้อขายเงินหยวน นอกจีนแผ่นดินใหญ่ การบริหารสินทรัพย์และความเสี่ยงระหว่างประเทศ นวัตกรรมและเทคโนโลยี และการให้บริการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท ภายใต้กรอบความร่วมมืออ่าวกวางตุ้ง – ฮ่องกง – มาเก๊า (Greater Bay Area: GBA) และกล่าวว่า GBA จะช่วยสร้างโอกาสให้ทั้ง 3 เมืองสามารถใช้จุดแข็งของตนมาร่วมมือกันพัฒนาประเทศ เพื่อให้มีศักยภาพที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นในทุก ๆ ด้าน ทั้งนี้ Dr. Jonathan Choi, member of Standing Committee of the CPPCC National Committee และ Chairman of the Chinese General Chamber of Commerce ฮ่องกง คาดหวังว่าจะมีการจัดตั้งสํานักงานควบคุมดูแลด้านการเงิน (Financial Supervision Bureau) และกองทุนพัฒนา GBA (GBA Development Fund) ขึ้น เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีในเขตพื้นที่ GBA [su_spacer size=”20″]
จากมุมมองมาเก๊า นาย Leong Vai Tac รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังมาเก๊า กล่าวว่า มาเก๊ามีบทบาทสําคัญในการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และเป็นคนกลางที่จะช่วยเชื่อมโยงจีนกับประเทศที่ใช้ภาษาโปรตุเกส ปัจจุบัน มีการจัดตั้งกองทุน Sino – Portuguese Fund ที่ให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและให้คําปรึกษาแก่วิสาหกิจจีนที่จะไปลงทุนในประเทศที่ใช้ภาษาโปรตุเกส และดึงดูดวิสาหกิจโปรตุเกสให้เข้ามาลงทุนในจีน ในขณะเดียวกัน นาย Shi Jialun, Deputy to the National People’s Congress และ Chairman of Guangdong-Macao Association of Industry and Commerce กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่จีนปกครองมาเก๊าโดยใช้หลัก “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ทําให้มาเก๊ามีอิสรภาพทางด้านเขตพื้นที่สรรพากร และมีอัตราภาษีต่ำที่สุดในบรรดาเมืองต่าง ๆ ใน GBA และต้องการให้ทั้ง 3 รัฐบาลร่วมมือกันหาทางแก้ปัญหาและกําจัดอุปสรรค เพื่อให้การเคลื่อนย้ายบุคลากรและสินค้าระหว่างทั้ง 3 พื้นที่มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น [su_spacer size=”20″]
จากมุมมองกวางตุ้ง นาย Lin Ji, Deputy Secretary General of the People’s Government of Guangdong Province กล่าวว่า รัฐบาลมณฑลกวางตุ้งอยู่ระหว่างการปรับปรุงให้ GBA มีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออํานวยต่อการลงทุนและการทําธุรกิจ ปัจจุบันมีความคืบหน้าแล้วหลายอย่าง เช่น มีการจัดตั้งกองทุนวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการพัฒนาทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยส่งเสริมการเชื่อมโยงกันภายในพื้นที่ GBA ได้แก่ การเปิดใช้รถไฟความเร็วสูงกว่างโจว – เซินเจิ้น – ฮ่องกง (Guangzhou – Shenzhen – Hong Kong Express Rail Link) สะพานฮ่องกง – จูไห่ มาเก๊า (Hong Kong – Zhuhai – Macao Bridge) ท่าเรือ Hengqin Port และ Liantang Port อีกทั้งมหาวิทยาลัย Hong Kong University of Science and Technology (HKUST) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนําของฮ่องกงก็กําลังเตรียมตัวเข้าไปเปิดสาขาในเขตหนานซา นครกว่างโจว ทั้งนี้ ทางรัฐบาลยังมีแผนที่จะทําให้ระบบการศุลกากรในพื้นที่ GBA เป็น One-stop Clearance เพื่ออํานวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายบุคลากรและสินค้าระหว่างกัน และเสนอให้รัฐบาลทั้ง 3 ฝ่ายช่วยกันส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สวัสดิการและบริการสังคม การศึกษา และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทางด้านนาย Li Wei ซึ่งเป็นผู้จัดการของบริษัท Guangzhou Pharmacy Holdings (Hong Kong) ได้เสนอแนะให้ทั้ง 3 รัฐบาลช่วยกันส่งเสริมยาจีนแผนโบราณ (Traditional Chinese Medicine: TCM) ให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของ GBA และจัดระบบรับรองมาตรฐานเพื่อทําให้ยาจีนแผนโบราณเป็นที่รู้จักและยอมรับในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก [su_spacer size=”20″]
สรุปประเด็นสําคัญจากการอภิปรายในช่วงการประชุม Round Table Meeting ประกอบด้วย [su_spacer size=”20″]
(1) การจัดตั้ง Guangzhou – Shenzhen – Hong Kong – Macao Technology Innovation Corridor และ GBA International Innovation and Technology Center ซึ่งอยู่ในแผนการของรัฐบาลจะก่อให้เกิดผลประโยชน์อย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมการผลิต โดยผู้ประกอบการจะสามารถเข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ [su_spacer size=”20″]
(2) รัฐบาลควรให้การสนับสนุน SME ที่เข้ามาลงทุนในพื้นที่ GBA มากขึ้น เช่น ให้สิทธิประโยชน์ทางด้านเงินกู้ ให้เงินอุดหนุน และลดหย่อนภาษี เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
(3) บริษัทฮ่องกงยังคงพบเจอปัญหาในการขนส่งสินค้าบางประเภท (เช่น เครื่องจักรกล) จากฮ่องกงไปยังมณฑลกวางตุ้งเนื่องจากมีกฎระเบียบที่ต่างกัน อีกทั้งระบบศุลกาการในพื้นที่ GBA ยังคงแบ่งแยกออกเป็น 3 ระบบ ทําให้การขนส่งสินค้าและการเคลื่อนย้ายบุคลากรยังคงมีความยุ่งยาก หากระบบศุลกากรมีการบริหารให้เป็น One-stop clearance ซึ่งรวมระบบสรรพากรและการตรวจสอบสินค้าไว้ที่เดียว และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยก็จะช่วยอํานวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายบุคลากร สินค้า และข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะส่งผลให้มีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนหรือส่งออกสินค้ามายัง GBA มากขึ้นแล้ว ยังจะช่วยให้กิจการจีนสามารถออกไปสู่ตลาดโลกได้ง่ายขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ ควรมีช่องทางในการเก็บรวบรวมข้อคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ทางด้านศุลกากรที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะได้รับทราบถึงปัญหาและนํามาปรับปรุงแก้ไขได้ [su_spacer size=”20″]
(4) ระบบศุลกากรที่แบ่งแยกกันก่อให้เกิดปัญหาการเก็บภาษีซ้อน ทําให้สินค้ามีต้นทุนสูงขึ้น ในกรณีที่สินค้าผลิตในฮ่องกงแต่มาสร้างมูลค่าเพิ่มในจีนแผ่นดินใหญ่ ได้มีการเสนอให้รัฐบาลกวางตุ้งจัดเก็บภาษีในส่วนที่เป็นมูลค่าเพิ่มเท่านั้น แทนการเก็บภาษีจากมูลค่าทั้งหมดของสินค้า [su_spacer size=”20″]
(5) เนื่องจากกฎระเบียบในพื้นที่ GBA มีความแตกต่างกัน จึงควรมีศูนย์กลางการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทสําหรับ GBA โดยเฉพาะ ซึ่งก็มีการเสนอให้จัดตั้งศูนย์ดังกล่าวในฮ่องกง นอกจากนี้ เอกสารสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างบริษัทควรระบุเงื่อนไขเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไว้เพื่อใช้ในกรณีที่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น [su_spacer size=”20″]
(6) นาย Masakazu Yagyu, Secretary General of the HK Japanese Chamber of Commerce & Industry เสนอแนะให้รัฐบาลปรับปรุงมาตรฐานและกฎเกณฑ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการฟื้นฟูสมรรถภาพสําหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากบริษัทญี่ปุ่นหลายบริษัทที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในด้านการดูแลสังคมผู้สูงอายุกําลังให้ความสนใจที่จะลงทุนในตลาดสินค้าและบริการสําหรับผู้สูงอายุใน GBA [su_spacer size=”20″]
(7) นาย Dato Lawrence Liu, Vice Chairman of the Malaysian Chamber of Commerce (HK and Macau) เสนอให้มีการเชื่อมโยงมาเลเซียเข้ากับ GBA โดยมาเลเซียสามารถมีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจใน GBA ได้ เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของมาเลเซีย ทั้งยังมีพื้นที่ในเมืองปีนังที่ขึ้นชื่อว่าเป็น Silicon Valley of the East และมีข้อได้เปรียบอื่น ๆ เช่น ตําแหน่งที่ตั้งของมาเลเซียนั้นอยู่ใจกลาง ASEAN ใกล้กับสิงคโปร์มาก และมีประเทศไทยอยู่ทางเหนือ มีโครงสร้างพื้นฐานที่เพียบพร้อม มีต้นทุนการผลิตถูก และมีบุคลากรที่สามารถพูดได้หลายภาษา เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง