เมื่อปี ค.ศ. 2018 การนำเข้า – ส่งออกระหว่างนครกว่างโจวกับกลุ่มประเทศตามข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน (Cross Border E-Commerce : CBEC) มีมูลค่า 2,640 ล้านหยวน (399 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 แบ่งเป็นการนำเข้ามูลค่า 1,350 ล้านหยวน (204 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยประเทศแหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ไทย โปแลนด์ โครเอเชีย เวียดนาม และมาเลเซีย [su_spacer size=”20″]
ขณะที่การส่งออกมีมูลค่า 1,290 ล้านหยวน (195 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยประเทศเป้าหมายการส่งออกที่สำคัญได้แก่ ไทย รัสเซีย อินเดีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และซาอุดิอาระเบีย สินค้านำเข้า – ส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์เพื่อความงามและเครื่องสำอาง นมผง เสื้อผ้าและเครื่องประดับ [su_spacer size=”20″]
ในระหว่างปี ค.ศ. 2014 – 2018 การค้าผ่านช่องทาง CBEC ของนครกว่างโจวกับกลุ่มประเทศตามตามข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 83.7 ต่อปี ทำให้นครกว่างโจวเป็นศูนย์กลางการคมนาคมกับต่างประเทศของกรอบความร่วมมือระหว่างกวางตุ้ง – ฮ่องกง – มาเก๊า(Guangdong – Hong Kong – Macao Greater Bay Area: GBA) [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ นครกว่างโจวมีเส้นทางการบินกับต่างประเทศ 157 เส้นทาง มีเส้นทางเดินเรือกับต่างประเทศ 98 เส้นทาง และมีเขตการค้าเสรีหนานซา ที่มีนโยบายและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้อต่อการค้ากับต่างประเทศ [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ มณฑลกวางตุ้งยังเป็นฐานอุตสากรรมการผลิตสินค้าหลายประเภท เช่น อุปกรณ์และชิ้นส่วนยานยนต์ เสื้อผ้า รองเท้า และกระเป๋า จึงทำให้การค้าผ่านช่องทาง CBEC ของนครกว่างโจวเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว