เมื่อเดือนกันยายน 2560 ธนาคารกลางของฮ่องกง (Hong Kong Monetary Authority – HKMA) ได้ออกนโยบายเชิงรุก 7 ประการที่จะช่วยเตรียมความพร้ อมให้ฮ่องกงขับเคลื่อนเข้าสู่ยุ คใหม่แห่งการธนาคารอัจฉริยะ (New Era of Smart Banking) ซึ่งนอกจากจะประกอบไปด้วยการส่ งเสริมการธนาคารเสมือนจริง (Virtual Banking) การสนับสนุนการวิจัยที่เพิ่ มสมรรถนะ การเสริมสร้างผู้เชี่ยวชาญ และการพัฒนาระบบการชำระเงินให้ รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่ งขึ้นแล้ว การจัดตั้งแผนงาน Open Application Programming Interface (API) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ จะนำพาภาคธนาคารของฮ่องกงไปสู่ การเป็น Open Banking ก็เป็นหนึ่งในนโยบายดังกล่าวด้ วย โดยมีรายละเอียดดังนี้ [su_spacer size=”20″]
(1) ความเป็นมาของ Open Banking
Open Banking ริเริ่มมาจากความคิดที่ว่า ธนาคารในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกค่อนข้างจะมีอำนาจผู กขาดในเรื่องการบริหารการเงิ นของลูกค้า ด้วยความที่ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของธนาคารมีความซับซ้อนและคลุ มเครือ ทำให้เป็นเรื่องยากที่ผู้ใช้บริ การจะสามารถรับรู้ได้ว่าบริ การที่ตนใช้อยู่กับธนาคารนั้น ๆ คุ้มค่าที่สุดแล้วหรือไม่ และเกิดการลังเลที่จะเปลี่ ยนไปใช้บริการของธนาคารอื่น จากการตรวจสอบตลาดธนาคารธุรกิ จลูกค้ารายย่อยของสหราชอาณาจั กรโดย Competition and Markets Authority (CMA) ในปี 2559 พบว่า เกือบร้อยละ 60 ของลูกค้าส่วนบุคคลใช้บริการอยู่ กับธนาคารเดิมมามากกว่า 10 ปี และเกินร้อยละ 90 ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) กู้เงินจากธนาคารแห่งเดียวกันกั บที่ตนเปิดบัญชีกระแสรายวันไว้ เท่านั้น ซึ่งก็หมายความว่าธนาคารได้เปรี ยบจากการที่ลูกค้าไม่กล้าเปลี่ ยนไปใช้ธนาคารอื่น และไม่จำเป็นจะต้องพยายามปรั บปรุงบริการของตนให้ดีขึ้นหรื อลดค่าธรรมเนียมให้ถูกลงเพื่อดึ งดูดลูกค้า นอกจากนี้สถาบันการเงินอื่นๆ หรือแม้แต่ Startup ที่อาจจะมีเทคโนโลยีและบริ การทางด้านการเงินที่จะช่วยให้ ผู้ใช้บริการสามารถบริหารการเงิ นได้ง่ายและดีกว่าธนาคาร ก็เข้ามาแข่งขันกั บธนาคารในตลาดการเงินได้ ยากเพราะไม่มีโครงสร้างพื้ นฐานและความไว้วางใจจากผู้ใช้ บริการในแบบที่ธนาคารมี ทำให้โดยรวมแล้วตลาดการธนาคารนั้ นมีการแข่งขันน้อยมาก บริการทางด้านการเงินก็ไม่ค่ อยได้รับการพั ฒนาจากภาคธนาคารอย่างที่ ควรจะเป็น ซึ่งก็ส่งผลเสียต่อผู้ใช้บริ การทั้งในภาคธุรกิจและที่เป็นบุ คคลทั่วไป[su_spacer size=”20″]
ดังนั้นหลาย ๆ ประเทศจึงพยายามหาหนทางที่จะช่ วยพัฒนาอุตสาหกรรมการธนาคารให้ ดีขึ้นให้มีการแข่งขันมากขึ้น และมีการพัฒนาบริการทางด้ านการเงินให้ หลากหลายและสะดวกสบายยิ่งขึ้น จึงเป็นที่มาของความคิดที่ว่า หากธนาคารสามารถแชร์ข้อมูลที่ จำเป็นให้กับสถาบันการเงินหรื อผู้ให้บริการอื่น ๆ (ซึ่งจะเรียกว่า “ผู้ให้บริการที่เป็นบุคคลที่ สาม (Third-Party Provider – TPP)”) โดยมีระบบรักษาความปลอดภัยสู งและมีกลไกที่ให้ผู้ใช้บริการมี อำนาจในการตัดสินใจที่จะแชร์ข้ อมูลของตนก็จะทำให้ TPP สามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาจั ดสรรบริการต่าง ๆ ที่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้าได้ แล้วก็จะเกิดการคิดค้นและพั ฒนาบริการทางด้านการเงินใหม่ ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลักการที่จะให้ธนาคารแชร์ ข้อมูลให้กับ TPP นี้ ก็คือหลักการของ Open Banking นั่นเอง [su_spacer size=”20″]
(2) Open Banking ทำงานอย่างไร?
การทำงานของ Open Banking ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการใช้ API (Application Programming Interface) ซึ่งเป็นช่องทางการแชร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่ างระบบคอมพิวเตอร์ ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น Google Maps มี API ที่จะสามารถแชร์ระบบแผนที่ และระบุตำแหน่งปัจจุบันของผู้ ใช้บริการบนแผนที่ได้ ซึ่งบริษัทที่ผลิตแอปพลิเคชั นเรียกรถแท็กซี่อย่าง Grab หรือ Uber ที่ต้องการใช้ข้อมูลระบบแผนที่ นี้ก็สามารถติดต่อขอใช้ API ดังกล่าวจาก Google Maps แล้วนำมาปรับใช้ให้ แอปของตนสามารถระบุตำแหน่งรถแท็ กซี่บนแผนที่ได้โดยที่ไม่ต้ องเสียเวลาและทรัพยากรในการสร้ างระบบแผนที่เอาเอง ช่วยให้ต้นทุนการผลิตแอปพลิเคชั นลดลงไปด้วย นอกจากนี้ แอปพลิเคชันอย่าง Grab หรือ Uber ยังมีบริการชำระค่าโดยสารผ่ านแอปอีกด้วย ซึ่งก็เกิดจากการที่บริษัทผู้ ผลิตแอปพลิเคชันติดต่อไปขอใช้ API ระบบการชำระเงินจากธนาคารต่างๆ นั่นเอง เรียกได้ว่าการใช้ API ต่างๆ เหล่านี้ ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเรี ยกรถแท็กซี่ ระบุตำแหน่งหรือติดตามรถแท็กซี่ และจ่ายค่าโดยสารได้อย่ างสะดวกสบายด้วยการใช้แอปพลิ เคชันเพียงแอปเดียว อีกทั้งบริษัทที่เกี่ยวข้องทุกๆ ฝ่ายก็ยังได้รับผลประโยชน์ และได้เพิ่มศักยภาพบริ การของตนให้เป็นมากกว่า บริการรถแท็กซี่ บริการแผนที่ หรือ บริการชำระเงิน แค่เพียงอย่างเดียวอีกด้วย [su_spacer size=”20″]
API ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการธนาคารมี อยู่หลักๆ 2 ประเภท ได้แก่ (1) Private API ซึ่งเป็นช่องทางการแชร์ข้อมู ลระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ ภายในองค์กร และผู้ที่จะสามารถเข้าถึงข้อมู ลใน Private API นี้ได้ก็คือผู้ที่ทำงานอยู่ ในองค์กรดังกล่าวเท่านั้น และ (2) Open API ซึ่งเป็นช่องทางการแชร์ข้อมูลที่ เปิดกว้างให้บุคคลที่ สามสามารถเข้าถึงข้อมูลขององค์ กรได้ [su_spacer size=”20″]
Open Banking ก็เป็นการใช้ Open API ที่เปิดกว้างให้ TPP อย่างสถาบันการเงินหรือบริษัทผู้ ผลิตแอปพลิเคชันอื่นๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ของธนาคารได้ เพื่อนำไปก่อให้เกิดประโยชน์ ในการพัฒนาบริการและแอปพลิเคชั นที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ ใช้บริการ ซึ่ง Open API ของธนาคารจะมีข้อกำหนดที่เป็ นมาตรฐานที่จะช่วยให้การแชร์ข้ อมูลนั้นมีความปลอดภัยและเป็ นไปตามความยินยอมของผู้ใช้บริ การ [su_spacer size=”20″]
(3) ตัวอย่างของบริการที่ จะทำประโยชน์ได้จาก Open Banking
นอกจาก Open API ของธนาคารจะช่ วยอำนวยความสะดวกในด้ านการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชันอื่ น ๆ ดังเช่นที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว การที่ธนาคารจะสามารถแชร์ข้อมู ลด้านอื่น ๆ ได้มากขึ้นอีกในอนาคตก็จะสร้ างโอกาสให้กับธุรกิจและ Startup ต่าง ๆ ในการคิดค้นบริการใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ความต้ องการที่หลากหลายของลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น [su_spacer size=”20″]
เว็บไซต์เปรียบเทียบบริ การของธนาคารต่าง ๆ
TPP อาจนำข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และบริการทางด้านการเงินต่างๆ ที่ได้รับผ่านทาง Open Banking จากธนาคารทุกแห่งในประเทศมาสร้ างเว็บไซต์เปรียบเทียบบริการเพื่ อให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกบริ การจากธนาคารที่ให้ข้อเสนอที่คุ้ มค่าที่สุดได้ เช่น ผู้ใช้บริการต้องการลงทุ นในกองทุนของธนาคาร ก็สามารถเข้าเว็บไซต์ของ TPP แล้วเลือกที่จะค้นหาบริ การในหมวดกองทุน ซึ่งเว็บไซต์ของ TPP ก็จะแสดงรายชื่ อธนาคารและผลตอบแทนของกองทุนทั้ งหมดให้ ผู้ใช้บริการก็จะสามารถเลื อกลงทุนกับกองทุนของธนาคารที่ ให้ดอกเบี้ยมากที่สุดได้ อีกกรณีหนึ่งก็อย่างเช่น มีบริษัทที่ต้องการจะกู้เงินเพื่ อนำมาซื้ออุปกรณ์ในบริษัท ก็สามารถเข้าไปดูเว็บไซต์ดังกล่ าวเพื่อเปรียบเทียบบริการให้กู้ ของธนาคารต่างๆ ได้ ซึ่งเว็บไซต์ของ TPP นี้อาจจะมีการเพิ่มตัวเลือกว่ าถ้าหากลูกค้ายินยอมที่จะอนุ ญาตให้ทางเว็บไซต์เข้าถึงข้อมู ลบัญชีธนาคารที่มีประวัติรายรั บรายจ่ายของบริษัทภายใน 12 เดือนที่ผ่านมาได้ ก็จะสามารถนำข้อมูลหลักฐานนี้ มาวัดความน่าเชื่อถือของบริษั ทแล้วค้นหาธนาคารที่น่าจะให้กู้ ได้ด้วยหลักฐานตามนี้ ซึ่งถ้าหากบริษัทมีความน่าเชื่ อถือมาก ก็อาจจะได้ข้อเสนอที่ดีมากขึ้ นจากธนาคารอีกด้วย [su_spacer size=”20″]
แอปพลิเคชันบริหารบัญชี
ผู้ใช้บริการไม่ว่าจะเป็นธุรกิ จหรือบุคคลทั่วไปที่มีบัญชี ธนาคารของหลายๆ ธนาคารแยกกันก็คงรับรู้ถึ งความไม่สะดวกยามที่จะต้องบริ หารบัญชีต่างๆ ของตนเนื่องจากจะต้องล็อกอินเข้ าไปในแอปพลิเคชันของธนาคารแต่ ละแห่งแยกกัน ซึ่งถ้า TPP สามารถเข้าถึงข้อมูลบัญชี ธนาคารของผู้ใช้บริการผ่านทาง Open Banking ได้ ก็จะสามารถสร้างแอปพลิเคชันที่ ตรวจสอบบัญชี โอนเงินระหว่างบัญชี และบริหารเงินเข้า-ออกในทุกๆ บัญชีที่ลูกค้ามีได้โดยใช้ แอปพลิเคชันเพียงแอปเดียว อย่างไรก็ตามแอปพลิเคชันดังกล่ าวของ TPP จะต้องมีกลไกที่จะขอความยิ นยอมในการเข้าถึงข้อมูลจากผู้ ใช้บริการก่อนจึงจะสามารถให้บริ การแก่ผู้ใช้บริการได้ [su_spacer size=”20″]
(4) ประโยชน์ของ Open Banking
Open Banking ช่วยให้สถาบันการเงินและผู้ให้ บริการอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ธนาคาร เช่น บริษัท FinTech หรือ Startup ต่าง ๆ สามารถเข้ามาแข่งขันในอุ ตสาหกรรมการธนาคารได้ง่ายขึ้น ซึ่งก็เป็นการสร้างโอกาสทางธุ รกิจให้แก่บริษัทและองค์กรต่าง ๆ [su_spacer size=”20″]
เมื่อมีผู้แข่งขันในอุ ตสาหกรรมมากขึ้น การแข่งขันก็เพิ่มขึ้น ธนาคารและผู้ให้บริการต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะพยายามปรับปรุงบริ การของตนให้มีคุณภาพมากขึ้น รวมถึงคิดค้นบริการใหม่ ๆ ออกมาเพื่อดึงดูดลูกค้า ซึ่งก็จะทำให้มีการพัฒนาคุ ณภาพของบริการอยู่เสมอ และมีบริการที่หลากหลายให้ผู้ ใช้บริการได้เลือกใช้ตามความต้ องการ เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการไม่ ว่าจะเป็นธุรกิจต่าง ๆ หรือบุคคลทั่วไป [su_spacer size=”20″]
Open Banking ช่วยให้การธนาคารมีความโปร่ งใสมากขึ้น เมื่อข้อมูลผลิตภัณฑ์และบริ การต่าง ๆ ของธนาคารได้รับการเปิดเผยต่ อสาธารณชนและมีการเปรียบเทียบกั บธนาคารอื่นๆ ธนาคารแต่ละแห่งก็จะต้องให้ รายละเอียดเกี่ยวกับบริ การของตนอย่างชัดเจนเพื่อเป็ นการดึงดูดลูกค้า ทำให้ลดความคลุมเครือเกี่ยวกั บค่าบริการและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้ [su_spacer size=”20″]
การที่ข้อมูลของธนาคารได้รั บการเปิดเผยยังทำให้ธนาคารต่างๆ สามารถรับรู้ได้ถึงผลิตภัณฑ์ และบริการของธนาคารอื่น จึงทำให้สามารถปรับเปลี่ยนผลิ ตภัณฑ์และบริการของตนให้ดึงดู ดลูกค้ามากขึ้นได้[su_spacer size=”20″]
เมื่อผู้ใช้บริการเลือกที่ จะแชร์ข้อมูลธนาคารของตน เช่น ข้อมูลด้านการใช้จ่าย ให้กับผู้ให้บริการที่เป็นบุ คคลที่สาม (TPP) ก็จะทำให้ผู้ให้บริการสามารถรั บรู้ถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของลู กค้าและสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่คุ้มค่าและตรงจุ ดกับความต้องการของลูกค้าได้ [su_spacer size=”20″]
Open Banking ช่วยสร้างโอกาสการร่วมมือกั นระหว่างธนาคารและองค์กรต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพของบริการ และทำให้มีบริการที่ อำนวยความสะดวกสบายและตอบสนองคว ามต้องการของผู้ใช้บริการมากขึ้ น [su_spacer size=”20″]
เมื่อธนาคารร่วมมือกับองค์กรอื่ นๆ เพื่อสรรสร้างบริการใหม่ๆ ได้แล้ว ธนาคารก็จะสามารถเข้าถึงตลาดผู้ ใช้บริการใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยเข้าถึงอีกด้วย [su_spacer size=”20″]
(5) ความคืบหน้าของการพัฒนา Open Banking ในประเทศต่าง ๆ
อันที่จริงแล้วอุตสาหกรรมการเงิ นในหลายๆ ประเทศได้เริ่มใช้ Open Application Programming Interface (API) มาได้ระยะหนึ่งแล้ว โดยส่วนใหญ่จะเริ่มมาจากบริษั ทภาคเอกชนที่ตั้งใจจะพัฒนาบริ การของตนให้ครอบคลุมบริการทางด้ านการเงินให้กับลูกค้า ซึ่งก็จะเห็นได้จากการที่มี แอปพลิเคชันจากบริษัทใหญ่ๆ อย่าง Uber, Grab, Apple และ WeChat ที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารต่างๆ ให้ใช้ API ระบบชำระเงินของธนาคารได้ แต่ปัจจุบันนี้ยังมีเพียงไม่กี่ ประเทศที่ภาครัฐบาลได้เข้ามามี บทบาทในการผลักดันการใช้ Open Banking ซึ่งการที่ไม่มีกฎเกณฑ์ และมาตรฐานที่ชัดเจนจากรั ฐบาลอาจทำให้การดำเนินการปรั บใช้และการเติบโตของ Open Banking นั้นยังมีขีดจำกัด เช่น ธนาคารอาจจำกัดอยู่แค่การให้บริ การแค่เฉพาะ API ในด้านการชำระเงินผ่านแอปพลิ เคชันให้กับบริษัทใหญ่ๆ เท่านั้น เนื่องจากขาดมาตรฐานที่จะเป็ นแนวทางให้ธนาคารไว้วางใจได้ว่ าการเปิดใช้ API ที่จะแชร์ข้อมูลด้านอื่นๆ จะมีความปลอดภัยสูงพอ อีกทั้งลูกค้าธนาคารเองก็ยังลั งเลที่จะไว้วางใจให้ ทางธนาคารแชร์ข้อมูลของตนให้กั บผู้ให้บริการต่างๆ ที่เป็นบุคคลที่สาม (Third-Party Providers – TPPs) เพราะยังไม่มีการรับรองที่เป็ นมาตรฐาน [su_spacer size=”20″]
จากการตระหนักถึงความสำคัญของ Open Banking ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการธนาคาร สหภาพยุโรปเป็นที่แรกที่รั ฐบาลเริ่มเข้ามามีบทบาทในการผลั กดัน Open Banking โดยได้ออก Payment Services Directive ฉบับที่สอง (PSD2) เมื่อเดือนตุลาคม 2558 ซึ่งเป็นระเบียบใหม่ในการทำธุ รกรรมออนไลน์ให้มีความปลอดภั ยมากขึ้น โดยใน PSD2 นี้ก็ได้ระบุให้ธนาคารแชร์ข้อมู ลให้กับสถาบันการเงินและผู้ให้ บริการอื่นๆ ที่ไม่ใช่ธนาคารเพื่อลดอุ ปสรรคให้กับองค์กรเหล่านี้ ในการเข้าแข่งขั นในตลาดการธนาคาร ทั้งนี้รัฐสภายุโรปได้กำหนดให้ ประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรปปรั บใช้ PSD2 ภายในปี 2561 [su_spacer size=”20″]
เมื่อเดือนสิงหาคม 2559 Competition and Markets Authority (CMA) ซึ่งเป็นหน่วยงานรั ฐบาลในสหราชอาณาจักรได้ ออกกฎระเบียบที่เพ่งเล็งไปที่ Open Banking โดยตรง และทำให้การแชร์ข้อมู ลของธนาคารมีความเป็ นมาตรฐานและมีความปลอดภัยมากขึ้ น โดย CMA ได้กำหนดให้ธนาคารยักษ์ใหญ่ 9 แห่งในสหราชอาณาจักรแชร์ข้อมู ลให้กับบริษัท Startup ที่มีการจดทะเบียนไว้ ซึ่งธนาคารทั้ง 9 แห่งได้แก่ (1) HSBC (2) Barclays (3) RBS (4) Santander (5) Bank of Ireland (6) Allied Irish Bank (7) Danske Bank (8) Lloyds และ (9) Nationwide กฎระเบียบ Open Banking ของ CMA นี้มีการบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2561 [su_spacer size=”20″]
โดยหลังจากที่สหภาพยุ โรปและสหราชอาณาจักรออก PSD2 และ CMA Open Banking มาก็ส่งผลให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกเริ่มนำมาตรฐานเหล่านี้ ไปเป็นรากฐานในการออกข้ อกำหนดในประเทศของตนเอง ซึ่งในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมี 3 แห่งที่ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับ Open Banking มาแล้วได้แก่ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และฮ่องกง นอกจากนี้บริษัทฟินเทคชั้ นนำของโลกอย่าง Finastra ยังได้ร่วมมือกับ International Data Corporation (IDC) เพื่อออกดัชนีวัดความพร้อมของ Open Banking (Open Banking Readiness Index) มาเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561 เพื่อดูว่าแต่ละประเทศในภูมิ ภาคเอเชีย-แปซิฟิกนี้มีการพั ฒนาที่พร้อมสำหรับ Open Banking มากแค่ไหนแล้ว ซึ่งตามรายงานของดัชนีนี้ สิงคโปร์เป็นที่ที่พร้อมในเรื่ องของ Open Banking มากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิ ฟิก (ด้วยคะแนน 8.1 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) ตามมาด้วยออสเตรเลียเป็นอันดั บที่ 2 (คะแนน 7.1) ฮ่องกงเป็นอันดับที่ 3 (คะแนน 6.6) จีนอยู่ในอันดับที่ 5 (คะแนน 6.4) ส่วนประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 9 (คะแนน 3.1) [su_spacer size=”20″]
สำหรับในฮ่องกง
ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ฮ่องกงเป็นแห่งที่ 3 ที่ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับ Open Banking ซึ่งก็ตามหลังสิงคโปร์ที่ออกข้ อกำหนดมาตั้งแต่ปี 2558 และออสเตรเลียที่ออกข้ อกำหนดมาในเดือนพฤษภาคม 2561 โดยฮ่องกงได้มีนโยบายที่จะพัฒนา Open Banking มาตั้งแต่เดือนกันยายน 2560 ภายใต้นโยบายเชิงรุก 7 ประการที่จะนำฮ่องกงสู่ยุคใหม่ แห่งการธนาคารอัจฉริยะ (New Era of Smart Banking) ซึ่งหลังจากที่ออกนโยบายมาแล้ว ธนาคารกลางของฮ่องกง (HKMA) ก็ได้จัดทำแผนงาน Open API ฉบับร่างขึ้นและประชุมหารื อภายในอุตสาหกรรมช่ วงไตรมาสแรกของปี 2561 จนได้ข้อสรุปและออกข้อกำหนดต่ างๆ มาภายใต้ “แผนงาน Open API สำหรับภาคการธนาคารในฮ่องกง (Open API Framework for the Hong Kong Banking Sector)” เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2561 ซึ่งสามารถเข้าไปอ่านแผนงานฉบั บเต็มได้ที่ http://www.hkma.gov.hk/media/ eng/doc/key-information/press- release/2018/20180718e5a2.pdf
แผนงานดังกล่าวประกอบไปด้วย แนวทางปฏิบัติ 4 ขั้นตอนที่กำหนดระยะเวลาให้ ธนาคารค่อยๆ ดำเนินการเปิดใช้ Open API ในด้านต่างๆ ดังนี้ [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ แผนงานดังกล่าวยังมีคำแนะนำต่ างๆ ในการใช้มาตรฐานสากลทางด้ านเทคนิคเพื่อให้ ภาคธนาคารสามารถปรับใช้ Open API ได้เร็วขึ้นและมีความปลอดภั ยมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ HKMA จะคอยติดตามผลการดำเนิ นการและคอยให้ความช่วยเหลือสนั บสนุนอย่างใกล้ชิดเพื่อให้การพั ฒนา Open API เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการที่ HKMA ประกาศแผนงาน Open API นี้ออกมาก็แสดงให้เห็นว่ารั ฐบาลฮ่องกงตระหนักถึงความสำคั ญของ Open API และมุ่งมั่นที่จะพั ฒนาภาคการธนาคารของฮ่องกงให้เข้ าสู่การเป็น Open Banking อย่างเต็มรูปแบบ [su_spacer size=”20″]
หลังจากที่ออกแผนงาน Open API นี้มาแล้ว HKMA ก็ได้ทำ API ของตนเองขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่ างให้กับธนาคารอื่นๆ โดย API ของ HKMA ก็จะเปิดแชร์ข้อมูลต่างๆ ของธนาคารกลาง เช่น สถิติอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ข้อมูลเกี่ยวกับดอกเบี้ ยและกองทุนรวม เป็นต้น ซึ่งธนาคารต่างๆ ในฮ่องกงก็ได้เร่งพัฒนา API ของตนให้ดำเนิ นการไปตามระยะเวลาที่ กำหนดในแผนงาน โดยเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2562 ก็เป็นช่วงครบกำหนด 6 เดือนที่ภาคธนาคารควรจะต้ องดำเนินการตามขั้นตอนที่ 1 จึงมีธนาคารหลายๆ แห่งในฮ่องกงเริ่มทยอยเปิด API ที่แชร์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบริ การต่างๆ ของตนไม่ว่าจะเป็นข้อมูลผลิตภั ณฑ์อย่างบัญชีออมทรัพย์และบัญชี กระแสรายวัน สินเชื่อที่อยู่อาศัย อัตราแลกเปลี่ยนเงิน และข้อมูลเกี่ยวกับสาขาต่างๆ ของธนาคาร [su_spacer size=”20″]
ล่าสุด JETCO (Joint Electronic Teller Services Limited) ซึ่งเป็นกลุ่มสมาคมธนาคารในฮ่ องกงและมาเก๊า ได้สร้างแพลตฟอร์มที่จะรวบรวม API ของธนาคารและองค์กรต่างๆ (TPP) มาไว้ในพื้นที่เดียวกัน โดยเรียกว่า JETCO APIX platform ซึ่งถือเป็นแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน API แพลตฟอร์มแรกในฮ่องกง แพลตฟอร์มนี้จะช่วยให้ธนาคารและ TPP สามารถเชื่อมต่อกันได้ง่ายขึ้ นภายใต้แพลตฟอร์มเดียว ทำให้สามารถร่วมงานกันและช่วยกั นสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ออกมาภายในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภั ยและได้มาตรฐาน อีกทั้งยังช่วยลดความล่าช้ าและความวุ่นวายในการสร้ างความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่ างธนาคารและองค์กรต่างๆ ได้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้แพลตฟอร์มดังกล่าวยั งมีระบบทดสอบ (sandbox) ที่องค์กรต่างๆ สามารถใช้ทดสอบผลิตภัณฑ์และบริ การของตนได้ ช่วยให้ร่นระยะเวลาในการเข้าสู่ ตลาดและลดต้นทุนการสร้างได้อี กด้วย ในขณะนี้มีธนาคารในฮ่องกงที่เข้ าร่วม JETCO APIX platform แล้ว 13 แห่ง ได้แก่ (1) The Bank of East Asia (2) Bank of Communications (Hong Kong) (3) Citibank (4) China Construction Bank (5) Chong Hing Bank (6) China CITIC Bank International (7) CMB Wing Lung Bank (8) Dah Sing Bank (9) Fubon Bank (Hong Kong) (10) ICBC (Asia) (11) OCBC Wing Hang Bank (12) Public Bank (Hong Kong) และ (13) Shanghai Commercial Bank และมี API ของธนาคารเหล่านี้อยู่ ในแพลตฟอร์มแล้วมากกว่า 200 API นอกจากนี้ผู้ให้บริการ e-service ที่ได้รับความนิยมในฮ่องกงอย่าง OpenRice, Price.com.hk และ MoneyHero.com.hk ก็ได้เข้าร่วมในแพลตฟอร์มนี้ด้ วย [su_spacer size=”20″]
ในขณะเดียวกัน ผลสำรวจของบริษัท Accenture ซึ่งให้คำปรึกษาด้านการจัดการธุ รกิจ บ่งชี้ว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของลูกค้ าธนาคารในฮ่องกง (ร้อยละ 51) ยินยอมที่จะแชร์ข้อมูลทางด้ านการเงินของตนให้กับผู้ให้บริ การที่เป็นบุคคลที่สาม (TPP) ที่ไม่ใช่ธนาคารเพื่อที่จะได้รั บบริการทางด้านการเงินที่ตรงกั บความต้องการของตนมากขึ้น ได้ผลตอบแทนจากเงินออมและเงิ นฝากสูงขึ้น และได้อัตราสินเชื่อที่อยู่อาศั ยที่ดีขึ้น ส่วนร้อยละ 31 ของลูกค้าธนาคารไม่ยินยอมที่ จะแชร์ข้อมูลของตนให้กับ TPP ซึ่งเมื่อถามถึงอุ ปสรรคในการยอมรับ Open Banking แล้ว ลูกค้าธนาคารในฮ่องกงมีความกั งวลเกี่ยวกับความปลอดภั ยและความเป็นส่วนตัวของข้อมู ลทางด้านการเงินของตน (ร้อยละ 71) ขาดความไว้วางใจที่จะให้ TPP บริหารจัดการข้อมูลของตน (ร้อยละ 43) และขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ ยวกับ Open Banking (ร้อยละ 42) ซึ่งผลสำรวจนี้ก็แสดงให้เห็นว่า ธนาคารในฮ่องกงยังคงได้รั บความไว้วางใจเป็นอย่างมากจากลู กค้า แต่ชาวฮ่องกงเองก็ยังเปิดรั บและยินยอมที่จะแชร์ข้อมูลทางด้ านการเงินของตนหากรู้ว่าจะได้รั บผลตอบแทนที่ดีขึ้น และถ้าหากมีการให้ความรู้แก่ลู กค้าเกี่ยวกับ Open Banking ที่จะทำให้ลูกค้าเข้าใจมากขึ้ นถึงหลักการของระบบและมี มาตรการรักษาความปลอดภัยสูงพอที่ จะสามารถทำให้ลูกค้าไว้วางใจเกี่ ยวกับ Open Banking ได้ ก็อาจจะทำให้ชาวฮ่องกงอ้าแขนเปิ ดรับ Open Banking ได้มากขึ้น [su_spacer size=”20″]
ประเทศไทย
ประเทศไทยจัดว่าเป็นผู้ที่ตามติ ดประเทศอื่น ๆ มาอย่างรวดเร็วในเรื่องของการพั ฒนา Open Banking ถึงแม้ว่าปัจจุบัน Open Banking จะยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกั นในวงกว้างในประเทศไทย แต่ธนาคารและองค์กรหลายๆ แห่งก็ได้เริ่มทำ API ขึ้นมาและจับคู่เป็นหุ้นส่วนกั นเองเพื่อแชร์ข้อมูลผ่าน API บ้างแล้ว ธนาคารกรุงเทพเป็นธนาคารแห่ งแรกในประเทศไทยที่จัดทำช่ องทางการแชร์ API ของตนให้กับองค์กรอื่นๆ ตั้งแต่เมื่อเดือนมกราคม 2560 โดยในช่องทางนี้ถึงแม้จะมีเพี ยงแค่ 4 API แต่ก็เป็นการปูทางให้ธนาคารอื่ นๆ ในประเทศพัฒนาแพลตฟอร์มในรู ปแบบเดียวกันออกมาเพื่อกระตุ้ นนวัตกรรม ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) เองก็ได้มีการทำ BOT API ออกมาอยู่เรื่อยๆ เพื่อช่วยให้ธนาคารและองค์กรอื่ นๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลของ BOT ได้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกันธนาคารอื่นๆ ก็กำลังลงทุนเพื่อพัฒนาศั กยภาพของ API ภายในธนาคารของตน อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังไม่มี ข้อกำหนดหรือระเบียบแผนงานที่ เป็นมาตรฐานในการใช้ Open Banking แต่ก็มีแผนว่าจะออกข้อกำหนดนี้ มาในช่วงต้นปี 2563 ซึ่งหากมีการออกข้อกำหนดมาก็ จะช่วยให้การเปิดใช้ API มีความเป็นมาตรฐานและมี ความปลอดภัยมากขึ้น อีกทั้งยังจะช่วยให้ ธนาคารและองค์กรต่างๆ สามารถร่วมมือกันพัฒนานวั ตกรรมได้ง่ายขึ้นและเป็นไปอย่ างมีระบบมากขึ้นเพื่อนำไปสู่ การเป็น Open Banking ที่มีประสิทธิภาพในอนาคต [su_spacer size=”20″]
(6) บทสรุป: Open Banking กับโอกาสทางธุรกิจ
กระแสของ Open Banking กำลังนำเรามาถึงยุคที่ การธนาคารจะไม่ได้ขับเคลื่อนด้ วยธนาคารเป็นหลักอีกต่อไป แต่จะมีผู้เล่นในตลาดเพิ่มเข้ ามาอีกมากมาย บริษัทและธุรกิจต่างๆ ที่เป็นผู้ใช้บริการก็จะได้รั บบริการทางด้านการเงินที่มี ประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้นผ่ านทางแอปพลิเคชั่นหรือบริการอื่ นๆ ที่ทางบริษัทใช้ ในขณะที่บริษัท Startup หรือ FinTech หรือ บริษัทอื่นๆ ที่เป็นผู้ให้บริการก็มีโอกาสที่ จะเข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาด โดยสามารถคิดค้นและพัฒนานวั ตกรรม เช่น แอปพลิเคชันใหม่ๆ ขึ้นมาแล้วเชื่อมต่อกับ API ของธนาคารต่างๆ เพื่อสร้างบริการที่หลากหลายขึ้ นมาตอบสนองความต้องการของผู้บริ โภค ทางด้านธนาคารเองถึงแม้ว่าจะมี ผู้แข่งขันเพิ่มขึ้นแต่ หากมองในอีกมุมก็เป็นโอกาสที่ จะเปลี่ยนให้ผู้แข่งขันเหล่านี้ มาเป็นหุ้นส่วนที่จะร่วมมือกั นพัฒนาบริการทางด้านการเงินให้ มีศักยภาพและเป็นประโยชน์ต่อผู้ ใช้บริการยิ่ง ๆ ขึ้นไปได้ ทั้งยังจะเป็นการเปิดช่องทางให้ ธนาคารได้เข้าถึงผู้ใช้บริ การใหม่ๆ อีกด้วย เรียกได้ว่า Open Banking นี้จะเป็นการเปิดโอกาสทางธุรกิ จให้กับทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง