สภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศประจำเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง หรือ CCPIT ได้จัดงานแถลงข่าวแผนการจัดงาน“สินค้ากว่างซีบนเส้นทางสายไหม”(桂品丝路行) ระยะ 3 ปี (ระหว่างปี 2562-2564) เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (BRI) ของรัฐบาลกลาง ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจแบบเปิดที่เน้นคุณภาพ และโปรโมทสินค้า/แบรนด์ภายใต้คอนเซปต์ Made in Guangxi [su_spacer size=”20″]
งาน “ สินค้ากว่างซีบนเส้นทางสายไหม” จัดขึ้นเพื่อสร้างช่องทางการจำหน่ายสินค้ากว่างซีนับพันชนิด และสินค้ามีชื่อเสียงกว่าร้อยชนิดในตลาดต่างประเทศ และเชิญชวนบริษัทชั้นนำประมาณร้อยรายที่ติดอันดับ 500 รายแรกของโลกเดินทางมาสำรวจและพัฒนาความร่วมมือกับกว่างซี [su_spacer size=”20″]
แนวทางการดำเนินงานที่น่าสนใจ ได้แก่ [su_spacer size=”20″]
- สร้างศูนย์คลังสินค้าในต่างประเทศ 1-2 แห่ง และจัดหาสินค้า 300 ชนิด เข้าศูนย์คลังสินค้า
- สร้างศูนย์สินค้าปลอดภาษีในนครหนานหนิงและจัดตั้งศูนย์จัดซื้อสินค้าระหว่างประเทศกว่างซี รวมทั้งจัดหาสินค้าที่มีชื่อเสียง 500 ชนิด เข้าศูนย์จัดซื้อสินค้าดังกล่าว
- ส่งเสริมการลงทุนและการคลัสเตอร์อุตสาหกรรมแบบครบวงจร (ต้นน้ำ-ปลายน้ำ) ของธุรกิจต่างชาติในกว่างซีใน 6 สาขาอุตสาหกรรมสำคัญ (ได้แก่ สุขภาพ Big Data โลจิสติกส์ การผลิตสมัยใหม่ วัสดุสมัยใหม่ และพลังงานใหม่) และการต่อยอดอุตสาหกรรมที่มีพื้นฐานอยู่แล้ว (ได้แก่ น้ำตาล อลูมิเนียม หม่อนไหม ถลุงโลหะ เครื่องจักร และยานยนต์)
- เปิดตลาดสินค้าและโปรโมทการลงทุนในโมเดล “3 เส้นทาง 1 ช่องทาง” คือ [su_spacer size=”20″]
– เส้นทางยุโรป โดยเฉพาะเยอรมนี รวมถึงประเทศในแถบยุโรปตอนกลางและยุโรปตะวันออก โดยมุ่งเน้นอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรกล และการจัดตั้งสวนอุตสาหกรรมจีน (หลิ่วโจว)-เยอรมนี พร้อมดึงดูดให้ธุรกิจเยอรมนีเข้ามาลงทุนในกว่างซี และจัด Guangxi Pavilion ในงานแสดงสินค้ายุโรปเพื่อโปรโมทสินค้ากว่างซี [su_spacer size=”20″]
– เส้นทางเอเชียและแอฟริกา โดยเฉพาะอาเซียน กลุ่มประเทศอาหรับบนเส้นทางสายไหมทางทะเล และแอฟริกา โดยมุ่งเน้นอุตสาหกรรมหม่อนไหม น้ำตาล ยานยนต์ เครื่องจักรวิศวกรรม โลหะนอกกลุ่มเหล็ก วัสดุก่อสร้าง และเทคโนโลยีการแพทย์ [su_spacer size=”20″]
– เส้นทางทวีปอเมริกา โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและประเทศในอเมริกาใต้ โดยมุ่งเน้นด้านเภสัชกรรมชีวภาพ หุ่นยนต์ งานพิมพ์สามมิติ เทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุสมัยใหม่ และพลังงานทางเลือก [su_spacer size=”20″]
– ช่องทาง e-Commerce โดยพัฒนาความร่วมมือกับแพลตฟอร์ม e-Commerce ข้ามแดนรายใหญ่ จัดตั้งสมาพันธ์ธุรกิจ e-Commerce ข้ามแดนกว่างซี และสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจส่งออกขนาดกลางและขนาดเล็ก [su_spacer size=”20″]
จะเห็นได้ว่า เศรษฐกิจกว่างซีมีอัตราการเติบโตที่รวดเร็ว โดยมีรัฐเป็นหัวหอกหลักในการริเริ่มนโยบายและดำเนินโครงการต่างๆ รวมทั้งกำหนดทิศทางของแผนพัฒนาอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง [su_spacer size=”20″]
ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครหนานหนิง