กว่างซีเป็น 1 ใน 7 แหล่งผลิตสุกรที่สำคัญของจีน และเป็นฐานการส่งออกสุกรที่สำคัญเพื่อป้อนตลาดฮ่องกงและมาเก๊า สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการจัดการและมาตรฐานการผลิตที่ดีของฟาร์มเลี้ยงสุกรในกว่างซี [su_spacer size=”20″]
อำเภอเหิง (Heng/横县) ของนครหนานหนิงเป็นฐานสาธิตด้านคุณภาพความปลอดภัยของสุกรส่งออกกว่างซี และเป็นที่ตั้งของฟาร์มเลี้ยงสุกรเหลียงฉี (Liangqi Farm/良圻原牧场) “ฟาร์มสุกรอัจฉริยะ” ของบริษัท Guangxi State Farms Yongxin Livestock Husbandry Group (广西农垦永新畜牧集团有限公司) ซึ่งเป็นฟาร์มเลี้ยงสุกรที่ได้รับมาตรฐานการยอมรับในระดับสากล และเป็นต้นแบบของการเรียนรู้สำหรับภาคธุรกิจฟาร์มสุกรในประเทศไทยได้ [su_spacer size=”20″]
“ฟาร์มเหลียงฉี” ได้รับการรับรองให้เป็น “ฟาร์มเพาะพันธุ์สุกรแห่งชาติจีน” เป็นฐานการผลิตสุกรป้อนตลาดฮ่องกงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกว่างซี และเป็นหนึ่งใน “แหล่งสุกรพ่อพันธุ์ในแผนการปรับปรุงพันธุ์สุกรแห่งชาติจีน” ซึ่งมีเพียง 2 แห่งในประเทศจีน มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยรัฐไอโอวา (Iowa State University) และมหาวิทยาลัยหัวหนาน หนงเย่ (South China Agricultural University/华南农业大学/) เปิดห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อการวิจัยด้านการผสมพันธุ์จีโนม (Genome Breeding) ซึ่งเป็นการเพาะขยายพันธุ์สุกรให้มีอัตราการเจริญเติบโตสูงมากยิ่งขึ้น [su_spacer size=”20″]
ฟาร์มเหลียงฉีเป็นระบบโรงเรือนปิดที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกันไม่ให้มีโรคระบาดแพร่เข้าสู่โรงเรือน ในส่วนของการผสมพันธุ์สุกร จะใช้วิธีการผสมเทียมทั้งหมด ภายในฟาร์มได้จัดสรรพื้นที่โรงเรือนที่แตกต่างกันไว้ โรงเรือนแม่พันธุ์สุกรจะมีคอกอุ้มท้องและคอกคลอดที่กว้างและอบอุ่น แม่พันธุ์สุกรจะได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีตั้งแต่ตั้งท้อง คลอด และให้นม ทำให้ลูกสุกรแรกเกิดมีอัตราการอยู่รอดสูงขึ้นและมีสุขภาพดี [su_spacer size=”20″]
หลังผ่านช่วงอนุบาลประมาณ 30 วัน ลูกสุกรที่หย่านมจะเข้าสู่การจัดการเลี้ยงดูในวัยขุน ซึ่งจะย้ายมาอยู่ในคอกอนุบาลขนาดใหญ่ในโรงเรือนระบบปิด ภายในโรงเรือนได้ติดตั้งระบบกรองอากาศ ระบบควบคุมอุณหภูมิด้วยการระเหยของน้ำ (Evaporative Cooling System) หรืออีแวป ระบบการให้น้ำและอาหารอัตโนมัติ ระบบพื้นร่อง (ไม่ต้องฉีดล้างชำระ) พื้นที่นอนยกสูง และภายนอกโรงเรือนมีการติดตั้งมุ้งกันยุงและกันหนู [su_spacer size=”20″]
ที่สำคัญ สุกรทุกตัวในฟาร์มจะมี “แท็กติดหูอัจฉริยะ” (Electronic ear tag) เพื่อใช้ติดตามและตรวจสอบปริมาณการบริโภคอาหารต่อวัน การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวสุกรในแต่ละวัน โดยจะส่งข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์แบบ real-time เพื่อให้เจ้าหน้าที่ฟาร์มนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อ โดยผู้เลี้ยงสามารถกำหนดเวลาและปริมาณอาหารต่อวันของสุกรได้อย่างแม่นยำ สามารถตรวจสอบและติดตามการเจริญเติบโตของสุกรในฟาร์มได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องเข้าไปในโรงเรือน ซึ่งช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคจากคนสู่สุกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ [su_spacer size=”20″]
ด้านหลักความปลอดภัยทางชีวภาพ ฟาร์มเหลียงฉีมีมาตรการป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคจากคนและรถ อาทิ ระบบกรองอากาศเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคจากภายนอก หรือกรณีที่เจ้าหน้าที่ฟาร์มออกนอกบริเวณฟาร์มจะต้องถูกแยกกักตัวหลังกลับมาทำงานอย่างน้อย 2-3 วัน [su_spacer size=”20″]
ฟาร์มเหลียงฉีมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนให้อำเภอเหิงก้าวขึ้นเป็นฐานอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรขนาดใหญ่ของมณฑล ซึ่งปริมาณผลผลิตสุกรมากกว่าปีละ 7 แสนตัว มูลค่าการผลิตทะลุ 1,000 ล้านหยวน [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ ฟาร์มเหลียงฉีได้ผลักดันโมเดลธุรกิจ “บริษัท+เกษตรพันธสัญญา” โดยการให้คำแนะนำเกษตรกรด้านการบริหารจัดการ ช่วยเกษตรกรแก้ไขปัญหาการเข้าถึงเทคโนโลยีการเลี้ยงสุกร ปัญหาการจำหน่ายสุกรและการบริหารความเสี่ยง ช่วยประหยัดที่ดินและการใช้น้ำลงได้ 1/3 ส่วน และประหยัดค่าแรงงานลงได้ 2/3 ส่วน [su_spacer size=”20″]
ที่สำคัญ ได้ช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในพื้นที่กว่า 1,000 ครัวเรือนหลุดพ้นจากความยากจน โดยเกษตรกรแต่ละครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.1 แสนหยวน [su_spacer size=”20″]
ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครหนานหนิง