เศรษฐกิจระบบรางได้สร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมจีน โดยเฉพาะการกระจายความเจริญ และลดความเหลื่อมล้ำที่มักกระจุกตัวอยู่เฉพาะเมืองใหญ่ [su_spacer size=”20″]
“กว่างซี” เป็นเขตปกครองตนเอง (เทียบเท่ามณฑล) แห่งแรกของจีนที่มีรถไฟความเร็วสูง และเป็นมณฑลที่มีรถไฟความเร็วสูงรวมระยะทางยาวที่สุดในจีน 1,771 กิโลเมตร รถไฟความเร็วสูง “กุ้ยหลิน-ฮ่องกง” (Direct line) ที่ใช้เวลาเดินทางเพียง 3 ชั่วโมง 19 นาที ช่วยพลิกโฉมการเดินทางระหว่างสองพื้นที่ และส่งเสริมให้บรรยากาศการท่องเที่ยวในหมู่บ้านชนกลุ่มน้อยหลายแห่งของกว่างซีคึกคัก [su_spacer size=”20″]
“เมืองกุ้ยหลิน” กลายเป็นสวนหลังบ้านของฮ่องกง หลังจากเปิดให้บริการ 2 เดือนสำหรับรถไฟความเร็วสูงสาย “กุ้ยหลิน-ฮ่องกง” (Direct line) เที่ยวขบวน G311 พบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวจากฮ่องกงและมาเก๊ามีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตั๋วรถไฟความเร็วสูงจำหน่ายหมดในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว [su_spacer size=”20″]
คณะกรรมาธิการเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองกุ้ยหลิน เปิดเผยว่า เฉพาะเดือนตุลาคมที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวฮ่องกงเข้ามาท่องเที่ยวในกุ้ยหลิน 5.45 หมื่นคนต่อครั้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.03 (YoY) ส่งผลให้เศรษฐกิจการท่องเที่ยวของเมืองกุ้ยหลินเติบโตอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวจากฮ่องกงเดินทางมาท่องเที่ยวราว 7 แสนคนต่อครั้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 (YoY) [su_spacer size=”20″]
การเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงยังช่วยสร้างความเจริญ ส่งเสริมการท่องเที่ยว เพิ่มการจ้างงาน และกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ แนวรถไฟความเร็วสูงได้อย่างมาก สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างหมู่บ้านชาวเย้าและชาวต้งในกว่างซีเป็นตัวอย่างที่ดีที่ได้รับอานิสงส์จากการเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูง ทาให้คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น นับเป็นหนึ่งในแนวทางแก้ไขปัญหาความยากจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ [su_spacer size=”20″]
เส้นทางรถไฟความเร็วสูง “กุ้ยหลิน-ฮ่องกง” (Direct line) เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2561 พร้อมกับการเปิดบริการรถไฟความเร็วสูงสาย “กว่างโจว-เซินเจิ้น-ฮ่องกง” (ช่วงเส้นทางในเมืองฮ่องกง) สิ้นสุดเส้นทางที่สถานีเกาลูนตะวันตกในฮ่องกงด้วย ขบวนรถไฟ G311 ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 19 นาที วิ่งให้บริการไป-กลับวันละ 1 เที่ยว ช่วยให้นักท่องเที่ยวไม่จาเป็นต้องไปเปลี่ยนรถไฟที่ นครกว่างโจวหรือที่เมืองเซินเจิ้นอีกต่อไป
60 ปีของการรถไฟกว่างซี เมื่อปี 2501 รัฐบาลกลางได้จัดตั้ง “เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง” อย่างเป็นทางการ (เดิมมีชื่อว่ามณฑลกว่างซี) ขณะนั้น กว่างซีมีเส้นทางรถไฟเชื่อมกับมณฑลรอบข้างเพียง 3 สาย ภายในมณฑลมีรางรถไฟรวมระยะทาง 1,346.3 กิโลเมตร [su_spacer size=”20″]
จนกระทั่งเมื่อปี 2556 กว่างซีก้าวเข้าสู่ “ยุครถไฟความเร็วสูง” อย่างจริงจัง โดยเป็นเขตปกครองตนเองแห่งแรกของจีนที่เปิดบริการรถไฟความเร็วสูง ปัจจุบัน กว่างซีมีเส้นทางรถไฟ 7 สาย เชื่อมต่อกับเกือบ 20 มณฑลทั่วประเทศ รวมระยะทาง 5,191 กิโลเมตร ในจำนวนนี้ เป็นเส้นทางรถไฟความเร็วสูง 1,771 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะทางรวมที่ยาวที่สุดในจีน [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง