หลังจากนครหยินชวนได้รับเลือกให้เป็น 1 ในเมืองอัจฉริยะนำร่องของจีนเมื่อปี 2556 เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุยก็ได้มุ่งการพัฒนานครหยินชวนให้ก้าวไปสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ ผ่านการเร่งพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเชื่อมต่อเข้ากับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การบูรณาการข้อมูลออนไลน์มาใช้กับการให้บริการสาธารณะ อาทิ ระบบขนส่ง ระบบฝากส่งพัสดุไปรษณีย์ ศูนย์สั่งการอุบัติภัยฉุกเฉิน ระบบหุ่นยนต์กู้ภัยและเครื่องสังเกตการณ์แบบไร้คนขับ ซึ่งการบริการที่มีมาตรฐานนี้เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น [su_spacer size=”20″]
เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2559 รัฐบาลเขตฯ หนิงเซี่ยหุยได้สานต่อแนวคิดดังกล่าว โดยการอนุมัติแผนพัฒนานครหยินชวนเป็นเมืองอัฉริยะ (Accelerating Yinchuan Smart City Development Regulation) ปัจจุบัน รัฐบาลนครหยินชวนสานต่อเป้าหมายการสร้างเมืองอัจฉริยะในด้านต่างๆ โดยเริ่มจาก 5 ด้านได้แก่ (1) การบริการด้านการยื่นเอกสารราชการผ่านระบบออนไลน์ที่สามารถร่นระยะเวลาจากเดิมได้มากกว่าร้อยละ 80 (2) การจราจรอัจฉริยะ ระบบตรวจสอบเส้นทางและการจัดเก็บข้อมูลจราจร (3) ชุมชนอัจฉริยะ ได้แก่ การติดตั้งระบบจดจำใบหน้า การติดตั้งถังขยะที่จดจำประเภทขนิดขยะ และระบบน้ำดื่มมาตรฐาน (4) ระบบรักษาความปลอดภัย โดยมีการติดตั้งระบบกล้องวงจรปิด 2,700 แห่งทั่วเมือง และ (5) ระบบ Cloud Computing จัดตั้งฐานการให้บริการข้อมูล 60 จุด เพื่อรองรับการลงทุนจากวิสาหกิจได้ราว 860 แห่ง [su_spacer size=”20″]
ล่าสุด Globaltimes รายงานว่า เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2561 นครหยินชวน เขตฯ หนิงเซี่ยหุยและ China Electronics Corporation (CEC) จัดการประชุม Global Smart City Summit ประจำปี 2561 โดยมีเป้าหมายเพื่อการเป็นเมืองอัจฉริยะที่มีประสิทธิภาพของจีน ยกระดับเมืองยากจนและล้าหลังสู่เมืองทันสมัยระดับชาติ [su_spacer size=”20″]
หัวข้อหลัก (theme) ของการประชุมฯ คือ “Green, High-end, Harmonious and Livable” แบ่งเป็น [su_spacer size=”20″]
(1) การแสดงปาฐกถาจากผู้บริหารเมืองอัจฉริยะตัวอย่างจากประเทศแคนาดา อังกฤษ เยอรมนี และรัสเซีย
(2) การเสวนาเรื่องความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต โดยเชิญวิสาหกิจขนาดใหญ่ อาทิ Alibaba JD.com Amazon Inspur และวิสาหกิจด้านความปลอดภัยของข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตมาเข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์
(3) การประชุมเพื่อเตรียมพร้อมการเป็น “เขตสาธิตการดูแลสุขภาพ” (Medical Health Demonstration Zone) โดยเฉพาะในด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ทางด้านการแพทย์ อาทิ โครงการนำหุ่นยนต์มาใช้ในการบริการทางการแพทย์ เช่น การตรวจหายีนพันธุกรรม (Gene Detection) และการให้คำปรึกษาและแนะแนวการรักษาทางไกล
(4) การประชุมด้านการรักษาความปลอดภัยสาธารณะ (Intelligent Public Safety) เน้นการเพิ่มขีดความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการนำ Cloud Computing และปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้ในกิจการบริการสาธารณะให้มากขึ้น
(5) การร่วมมือกับวิสาหกิจต่างชาติ ได้แก่ Moprim บริษัทผู้ผลิตและให้บริการซอฟต์แวร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว (Motion sensing) และ Transport Mode Detection ในระบบขนส่งมวลชน [su_spacer size=”20″]
มุ่งสร้างระบบการแพทย์อัจฉริยะผ่าน “เขตสาธิตการดูแลสุขภาพอัจฉริยะ” (Medical Health Demonstration Zone)
ข้อมูลจากนายหยาง ยวี่จิน (Yang Yujin) นายกเทศมนตรีนครหยินชวนกล่าวว่า รัฐบาลนครหยินชวนจะผลักดันโครงการเมืองอัจฉริยะควบคู่ไปกับการบริการที่เป็นเลิศ โดยเฉพาะในกลุ่มการให้บริการทางการแพทย์ โดยตลอดปี 2561 ได้ก่อตั้งศูนย์ช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉินนครหยินชวน (Yinchuan Research Emergency Center) [su_spacer size=”20″]
ศูนย์อำนวยการเมืองอัจฉริยะ www.yc12345.gov.cn (Admission Center of the Smart City) รวมไปถึงการร่วมกับคณาจารย์ด้านการแพทย์ภายใต้แนวคิด “Internet + Medical Health” บนแพลตฟอร์มนัดหมายแพทย์และให้คำปรึกษาวินิจฉัยอาการเบื้องต้นผ่าน www.haodf.com ซึ่งเป็นเว็บบอร์ดที่รวบรวมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ใหญ่ที่สุดของจีน ปัจจุบันมีแพทย์ที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายจากนครหยินชวนให้บริการในแพลตฟอร์มดังกล่าวมากถึง 20,583 คนจาก 29 สถานพยาบาลท้องถิ่น ให้บริการผู้ป่วยแล้วกว่า 7 ล้านคน [su_spacer size=”20″]
ข้อมูลจาก www.iyiou.com สื่อออนไลน์ของจีนระบุว่า ปัจจุบัน มีโรงพยาบาลออนไลน์ 55 แห่งทั่วประเทศ เป็นโรงพยาบาลออนไลน์ของเขตฯ หนิงเซี่ยหุยถึง 17 แห่ง เห็นได้ว่าเขตฯ หนิงเซี่ยหุยมีความตื่นตัวต่อระบบโรงพยาบาลและระบบการแพทย์ดิจิทัลของจีนที่มีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้นในอนาคตwww.iyiou.com ยังระบุอีกว่า ภายในปี 2565 การลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงพยาบาลของจีนจะมีมูลค่าถึง 65,700 ล้านหยวน [su_spacer size=”20″]
แม้เขตฯ หนิงเซี่ยหุยจะเป็นพื้นที่แห่งแรกๆ ของจีนตะวันตกที่นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในทางการแพทย์ แต่ยังคงขาดการเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลโรงพยาบาล รวมไปถึงการยกระดับมาตรฐานการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ที่ทัดเทียมกับพื้นที่อื่นๆ การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยออนไลน์ รวมไปถึงบริการด้านต่างๆ เช่น การลงทะเบียน การแจ้งเตือน การติดตามสถานะ หรือการจัดลำดับความสำคัญในแต่ละกรณี เนื่องจากปัจจุบันมีแพลตฟอร์มให้บริการด้านการแพทย์ในจีนจำนวนมาก อาทิ We Doctor (微医) เสียค่าใช้จ่ายในการรับคำปรึกษาในระบบครั้งละ 60-120 หยวน Good Doctor (好大夫) ปรึกษาแพทย์ฟรี 3 ครั้ง หลังจากนั้นมีค่าบริการ หรือ 91160.com ที่ผู้ป่วยหรือญาติสามารถเลือกใช้บริการให้คำปรึกษาหรือรับใบสั่งยาได้จากแพทย์ที่ตนเองพึงพอใจ ซึ่งนอกจากกระแสโรงพยาบาลออนไลน์ที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากชาวจีนแล้ว ปัจจุบัน โรงพยาบาลของไทยก็เริ่มดำเนินตามรอยเช่นกัน อาทิ การลงนามความร่วมมือระหว่าง BDMS (Bangkok Dusit Medical Services) กับ Ping An Good Doctor (PAGD) แพลตฟอร์มออนไลน์ด้านการแพทย์และการดูแลสุขภาพอันดับหนึ่งของจีนซึ่งแตกต่างจากแพลตฟอร์มข้างต้นด้วยการเสริมบริการจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงจากต่างประเทศให้กับผู้ป่วยจีน ซึ่งสอดคล้องข้อมูลจาก Ctrip.com ที่ระบุว่า ในปี 2559 มีชาวจีนกว่า 500,000 คน เดินทางไปรักษาตัวในต่างประเทศ เพิ่มสูงขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2558 ถึง 5 เท่า ซึ่งล้วนแต่เป็นกลุ่มคนที่กำลังซื้อสูง โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้งราว 50,000 หยวน (ราว 7,286 ดอลลาร์สหรัฐ) จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าตลาดการแพทย์ออนไลน์ทั้งในจีนและต่างประเทศมีความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว [su_spacer size=”20″]