ภาพรวมการส่งออกผลไม้ไทยจากสถิติกรมศุลกากรไทยปี 2560 พบว่า ไทยส่งออกผลไม้และลูกนัตเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.18 โดยตลาดส่งออกที่สําคัญของไทย คือ เวียดนาม (ร้อยละ 50.97) จีน (ร้อยละ 27.17) และฮ่องกง (ร้อยละ 6.55) ซึ่งเวียดนามเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ของไทยเป็นปีที่สอง ผลไม้ไทยส่งออกที่สําคัญ ได้แก่ ทุเรียน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.37 ลําไย เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.68 ลําไยอบแห้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 7048 มังคุด เพิ่มขึ้นร้อยละ43.83 และมะพร้าวสด เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.07 ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกไปเวียดนาม ยกเว้นมะพร้าวสดที่ส่งออกไปจีน [su_spacer size=”20″]
ในส่วนของการนําเข้าผลไม้ไทยของจีนนั้น จีนอนุญาตให้นําเข้าผลไม้ไทยได้ 22 ชนิด ได้แก่ มะขาม น้อยหน่า มะละกอ มะเฟือง ฝรั่ง เงาะ ชมพู่ ขนุน ลองกอง สับปะรด ละมุด กล้วย เสาวรส มะพร้าว ลําไย ทุเรียน มะม่วง ลิ้นจี่ มังคุด ส้ม ส้มเช้ง และส้มโอ (รองจากเขตเศรษฐกิจไต้หวันที่ได้รับอนุญาต 25 ชนิด) จากสถิติสํานักงานศุลกากรจีน ปี 2560 พบว่าจีนนําเข้าผลไม้ไทย (เฉพาะด่านสากล) 647,964 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 ส่วนใหญ่เป็นมณฑลทางตอนใต้ ได้แก่ เซินเจิ้น (ร้อย ละ 57.12) คุนหมิง (ร้อยละ 14.35) และหนานหนิง (ร้อยละ 8.8) ตามลําดับ คิดเป็นสัดส่วนรวมกว่าร้อยละ 80.27 ผลไม้ไทยที่จีนนําเข้าปริมาณมากที่สุด ได้แก่ ทุเรียน ลดลงร้อยละ 23.32 ลําไย เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.28 มะพร้าว เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.14 มังคุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.05 และลําไยอบแห้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.65 โดยปริมาณและมูลค่าการนําเข้าลําไยและลําไยอบแห้ง มีแนวโน้มเติบโตสูงสุด ในส่วนของเส้นทางขนส่งผลไม้ไทยไปจีนส่วนใหญ่ใช้การขนส่งทางบก (ร้อยละ 75.96) โดยการนําเข้าผ่านศุลกากรเซินเจิ้นมีแนวโน้มลดลงร้อยละ 7.03 ขณะที่แนวโน้มการนําเข้าผลไม้ผ่านเส้นทาง R9/R12 เข้าจีนที่ด่านโหย่วอี้กวานของกว่างซีเพิ่มขึ้นร้อยละ74.51 เช่นเดียวกับเส้นทาง R3A ที่มณฑลยูนนานที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 [su_spacer size=”20″]
ปัจจุบัน กว่างซีเป็นมณฑลที่มีด่านที่ได้รับอนุญาตนําเข้าผลไม้จากต่างประเทศ (ด่านสากล) มากที่สุดในจีน รวม 7 แห่ง ภายใต้การกํากับดูแลของ สำนักงานศุลกากรหนานหนิง ได้แก่ ด่านทางบก 4 แห่ง (ด่านโหย่วอีกวาน ด่านตงซิง ด่านหลงปัง และด่านสุยโข่ว) ด่านท่าเรือ 2 แห่ง (ท่าเรือเมืองฝางเฉิงกาง และท่าเรือเขตสินค้าทัณฑ์เมืองชินโจว) และด่านอากาศยาน (ท่าอากาศยานนานาชาติเหลียงเจียง เมืองกุ้ยหลิน) ซึ่งส่วน ใหญ่ได้เปิดดําเนินการแล้ว ยกเว้นด่านหลงปังเมืองไปเซอและด่านสุยโข่ว เมืองฉงชั่ว ที่กําลังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการตรวจกักกันโรค และรอตรวจรับงานจากส่วนกลาง นอกจากนี้ ยังมีด่านอีก 1 แห่งที่อยู่ระหว่างดําเนินการขออนุญาต เป็นด่านนําเข้าผลไม้ คือ “ด่านรถไฟผิงเสียง” ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับด่านโหย่วอี้กวาน ซึ่งเป็นด่านรถไฟเพียงแห่งเดียวของจีนที่เชื่อมตรงถึงเวียดนาม การนําเข้าผลไม้ไทยผ่านเข้าด่านสากลในกว่างซีมีแนวโน้มการขยายตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะที่“ด่านโหย่วอี้กวาน” (ตามพิธีสารฯ 29) เดิมตัวเลขการนําเข้าผลไม้ไทยผ่านด่านโหย่วอี้กวานเคยเป็น “ศูนย์” ระหว่างปี 2554-2557 ทั้งนี้ ด่านสากลในกํากับดูแลของศุลกากรหนานหนิงมีปริมาณการนําเข้าผลไม้มากเป็นอันดับ 3 ของจีน เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 87.27 (ร้อยละ 8.8 ของจีน) ขณะที่ศุลกากรเซินเจิ้นลดลงร้อยละ 5.8 (ร้อยละ 57.12 ของจีน) และ ศุลกากรคุนหมิง เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.83 (ร้อยละ 14.35 ของจีน) โดยผลไม้ไทยที่มีการนําเข้าผ่านด่านสากลในกว่างซีมากที่สุด ได้แก่ ทุเรียน (เป็นอันดับ 2 ของจีนที่ร้อยละ 15.52) เพิ่มขึ้นร้อยละ 341 เป็นการนําเข้าทางบกเพิ่มขึ้นร้อยละ323.14 และทางทะเลเพิ่มขึ้นร้อยละ 255.27 มังคุด (เป็นอันดับ 2 ของจีนที่ร้อยละ 27.58) ลดลงร้อยละ 12.75 เป็นการ นําเข้าทางบกลดลงร้อยละ1349 และลําไยสด ซึ่งเป็นการนําเข้าทางบกและทางทะเล [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง