นอกเหนือจากข้าวไฮบริด จีนได้พัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่อยู่ตลอดเวลา โดย “ข้าวยักษ์” เป็นอีกผลงานของทีมนักวิจัยจีนที่พัฒนาพันธุ์ข้าวชนิดใหม่ได้สำเร็จ ปัจจุบัน ข้าวยักษ์ได้ผ่านการตรวจสอบจากศูนย์ทดสอบพืชพันธุ์ใหม่ กระทรวงเกษตรจีน และมีการปลูกในหลายเมืองทั่วจีนแล้ว รวมถึงใน “อำเภอเหิงเสี้ยน” (Heng County/横县) นครหนานหนิง [su_spacer size=”20″]
ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการปลูก “ข้าวยักษ์” ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง
[su_spacer size=”20″]
- อำเภอเหิงเสี้ยน นครหนานหนิง เป็นหนึ่งในพื้นที่ทดลองการปลูก “ข้าวยักษ์” ของทีมนักวิจัยจากสถาบันวิจัยเกษตรพื้นที่กึ่งเขตร้อน สังกัดสภาวิทยาศาสตร์จีน (The Institute of Subtropical Agriculture (ISA), Chinese Academy of Sciences (CAS))
- คุณสมบัติเด่นของข้าวยักษ์ คือ ลำต้นแข็งแรง (เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 1 ซม.) ทนต่อการล้ม ต้านทานโรคพืชและแมลงศัตรูพืช โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืชหรือยาฆ่าเชื้อ และทนต่อน้ำท่วมขังได้ดี
- ข้าวยักษ์มีรวงข้าวยาว เมล็ดดก และเต็มเมล็ด ต้นโตเต็มวัยมีความสูงเทียบเคียงกับข้าวฟ่าง มีความสูงได้ถึง 2.2 เมตร (ต้นข้าวทั่วไปมีความสูง 1.2-1.5 เมตร) ต้นข้าวยักษ์มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ซม.
- การเก็บเกี่ยวครั้งแรก พบว่า ข้าวหนึ่งรวงจะได้เมล็ดข้าวเปลือก 350-480 เมล็ด (ต้นข้าวทั่วไปได้ 250 เมล็ด) ให้ผลผลิตต่อหน่วย(หมู่จีน) 800 กก. (ต้นข้าวทั่วไปได้ 500 กก.) หรือราวไร่ละ 1,920 กก.
นักวิทยาศาสตร์มองว่า ผลผลิตต่อหน่วยของต้นข้าวยักษ์จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนชาวนา และการเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็วในประเทศจีน ทำให้มีข้าวเพียงพอต่อความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น [su_spacer size=”20″]
สิ่งที่น่าเรียนรู้ คือ การทำนาข้าวยักษ์ด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ นอกจากไม่ใช้ปุ๋ยและสารเคมีแล้ว ยังมีการปลูกข้าวร่วมกับการเลี้ยงกบและปลาไหลนาในแปลงนา เพื่อใช้กำจัดแมลงศัตรูพืชตามธรรมชาติ และได้ปุ๋ยธรรมชาติจากมูลสัตว์เหล่านี้ [su_spacer size=”20″]
ที่สำคัญ ระบบเกษตรอินทรีย์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร ส่วนกบและปลาไหลนาที่เลี้ยงในแปลงนาสามารถนำมาเป็นอาหารและจำหน่าย สร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรได้อีกด้วย [su_spacer size=”20″]
การคำนวณรายรับรายจ่ายต่อหน่วยพื้นที่ปลูก(หมู่จีน) ในระยะแรกใช้เงินลงทุนราวหมู่ละ 30,000 หยวน (ราวไร่ละ 72,000 หยวน) ผลผลิตต่อหน่วยสูงกว่า 900 กก. (ราวไร่ละ 2,160 กก.) คาดว่าข้าวยักษ์ขายได้ราคามากกว่ากิโลกรัมละ 40 หยวน โดยเกษตรกรจะมีรายได้ต่อหมู่จากการปลูกข้าวยักษ์สูงกว่า 36,000 หยวน (ราวไร่ละ 86,400 หยวน) [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ ยังมีกบที่เลี้ยงในแปลงนาที่คาดว่าจะขายได้ราคาสูงกว่ากิโลกรัมละ 30 หยวน รายได้ต่อหน่วยสูงกว่า 30,000 หยวน (ราวไร่ละ 144,000 หยวน) [su_spacer size=”20″]
นั่นหมายความว่า เกษตรกรจะมีรายได้ต่อหน่วยรวมมากกว่า 66,000 หยวน (ราวไร่ละ 158,000 หยวน) แบ่งเป็นกำไรต่อหน่วยมากกว่า 36,000 หยวน (ราวไร่ละ 86,400 หยวน) ซึ่งรายได้ก้อนนี้ยังไม่รวมการเลี้ยงปลาไหลนาอีกจำนวนหนึ่ง [su_spacer size=”20″]
BIC เห็นว่า พันธุ์ข้าวยักษ์กับการพัฒนาการเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสานนั้นน่าสนใจสำหรับภาคการเกษตรของไทยและสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของไทย ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อต่อยอดการพัฒนาระบบการเกษตรที่ยั่งยืน ตั้งแต่วิถีชีวิตเกษตร กระบวนการผลิต และการจัดการ ก่อให้เกิดความสมดุลทางเศรษฐกิจและระบบนิเวศ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรและผู้บริโภคด้วย [su_spacer size=”20″]
ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน