การสนับสนุนเชิงนโยบายของรัฐบาลกลางในการผลักดันให้เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงเป็น “ พื้นที่นำร่องการปฏิรูปการเงินตามแนวชายแดน (แห่งชาติจีน) ” เป็นต้นแบบสำคัญที่ช่วยพัฒนาธุรกรรมการชำระบัญชีการค้าและการลงทุนด้วยสกุลเงินหยวนระหว่างจีนกับประเทศสมาชิกอาเซียน [su_spacer size=”20″]
ปัจจุบัน เขตฯ กว่างซีจ้วง ได้พัฒนารูปแบบการชำระบัญชีการค้าและการลงทุนที่หลากหลายและทันสมัยด้วยสกุลเงินหยวนตามบริเวณแนวชายแดน ซึ่งประเทศไทยสามารถนำรูปแบบการดำเนินธุรกรรมดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับการค้าชายแดนไทยได้ อาทิ [su_spacer size=”20″]
- การจัดตั้ง “ศูนย์ชำระบัญชีตลาดการค้าชายแดน” (Border Trade Settlement Center/边民互市结算中心) และธนาคารพาณิชย์จีนที่ให้บริการชำระบัญชีการค้าชายแดน (เช่น ธนาคาร China Construction Bank) เพื่อจัดระเบียบ “ธนาคารแบกะดิน” (stall bank) และอำนวยความสะดวกให้กับการซื้อขายของประชาชนชายแดน โดยระบบฐานข้อมูลของศูนย์ดังกล่าวจะเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลค้าชายแดนของสำนักงานศุลกากร ซึ่งจะช่วยให้ธนาคารสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องการตรวจสอบข้อเท็จจริงของลูกค้าที่มาทำธุรกรรมการค้าชายแดนได้ [su_spacer size=”20″]
- การชำระบัญชีการค้าชายแดนด้วยสกุลเงินหยวนผ่าน “ระบบออนไลน์” ชาวชายแดนสามารถทำการซื้อขายและชำระบัญชีการค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องไปรอคิวเพื่อทำธุรกรรมการเงินที่ “ศูนย์ชำระบัญชีตลาดการค้าชายแดน” ซึ่งรัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อจัดระเบียบ “ธนาคารแบกะดิน” [su_spacer size=”20″]
- การพัฒนาระบบสินเชื่อเพื่อการค้าชายแดน เพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับ “กลุ่มสมาชิกชาวชายแดน” ตัวอย่างเช่น เทศบาลอำเภอระดับเมืองตงซิงใช้วิธีการจ่ายเงินอุดหนุนดอกเบี้ยให้กับสถาบันการเงินท้องถิ่นที่ให้สินเชื่อกับประชาชนชายแดนและกลุ่มสมาชิกชาวชายแดน และการยกเว้นการค้ำประกันสำหรับสินเชื่อมูลค่าต่ำตามกำหนดเวลา [su_spacer size=”20″]
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยข้ามแดนสำหรับแรงงานและรถยนต์ เพื่อเติมเต็มช่องว่างให้กับผลิตภัณฑ์ประกันภัยรถยนต์ข้ามแดนของประเทศจีนให้ครอบคลุมทั้งรถบรรทุกและรถยนต์ส่วนบุคคลเพื่อการท่องเที่ยวแบบ Self-Drive และเพื่อสร้างหลักประกันให้กับผู้ใช้แรงงานข้ามแดนจีนกับเวียดนามที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก [su_spacer size=”20″]
- การชำระบัญชีแบบหักลบรายได้หรือภาระผูกพันระหว่างประเทศ (netting) ของกลุ่มบริษัทกับคู่ค้า ซึ่งช่วยให้ภาคธุรกิจลดต้นทุนจากการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียน ลดจำนวนการแลกเปลี่ยนและโอนเงินต่างประเทศ ลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย เนื่องจากสามารถดำเนินการให้เสร็จได้ภายในวันเดียว ทำให้การค้ามีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น [su_spacer size=”20″]
- การจัดตั้งกองทุนเพื่อการลงทุนด้านอุตสาหกรรมในยุทธศาสตร์ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” กว่างซี-อาเซียน (广西-东盟“一带一路”产业投资基金签约仪式) เพื่อสนับสนุนทางการเงินให้กับธุรกิจที่มีศักยภาพในการแข่งขัน และมีนัยสำคัญต่อการ “ก้าวออกไป”ของภาคธุรกิจกว่างซี และดึงดูดให้ภาคธุรกิจอาเซียน “เดินเข้ามา” ลงทุนในกว่างซีมากขึ้น [su_spacer size=”20″]
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อของธนาคารและสถาบันการเงิน เพื่อสนับสนุนแหล่งเงินทุนให้กับภาคธุรกิจที่อยู่ในพื้นที่นำร่องในการขยายการลงทุนในอาเซียน (เช่น นิคมคู่แฝดที่เมืองชินโจว(จีน) กับเมืองกวนตัน (มาเลเซีย)) [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง