ปัจจุบัน โลกได้ก้าวสู่ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างเต็มตัว การพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ สังคม และชุมชน ต่างก็ถูกเชื่อมโยงเข้ากับโครงข่ายทั้งแบบมีสายและไร้สาย ขณะที่เทคโนโลยีต่าง ๆ ก็กำลังยกระดับสู่ยุคดิจิทัล ภายใต้ 4 แนวโน้มที่สำคัญ ได้แก่ Big Data การประมวลผลแบบคลาวด์ อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) และระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ดังนั้น รัฐบาลฉงชิ่งจึงมีความคิดที่จะนำแนวทางดังกล่าวเข้ามาใช้ในการพัฒนาและก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ โดยมีเป้าหมายว่า ในช่วงปลายปี 2563 สวนอุตสาหกรรมกว่า 47 แห่งในมหานครฉงชิ่งจะยกระดับขึ้นเป็นสวนอุตสาหกรรมอัจฉริยะอย่างเต็มรูปแบบ [su_spacer size=”20″]
การสร้างนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ เป็นการส่งเสริมและพัฒนาของสวนอุตสาหกรรม ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ยังเป็นการสร้างสรรค์นวัตกรรมในการจัดการและบริหาร โดยก่อนจะก้าวขึ้นสู่การเป็นนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะนั้น จะต้องเริ่มต้นจากการสร้างระบบโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) และเพิ่มทักษะของบุคคลากร ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยนี้ จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาไปสู่การสร้างสวนอุตสาหกรรมอัจฉริยะ และนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ตามลำดับ [su_spacer size=”20″]
แนวทางในการพัฒนาที่รัฐบาลฉงชิ่งวางแผนไว้ คือ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานระบบข้อมูล สร้างแพลตฟอร์มของสวนอุตสาหกรรม พัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงไฟเบอร์ออบติกที่เชื่อมโยงระหว่างอาคารและโรงงานไปยังหน้าจอคอมพิวเตอร์ จัดสรรพื้นที่ใช้งานอินเตอร์เน็ต 4G และอินเตอร์เน็ตไร้สายฟรี ครอบคลุมในทุกพื้นที่ รวมไปถึงนำร่องการใช้งานอินเตอร์เน็ต 5G ในสวนอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังมีแผนบูรณาการระบบอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) การประมวลผลแบบคลาวด์ บิ๊กดาต้า และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการสร้างนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการส่วนกลาง ระบบควบคุมอัตโนมัติ และระบบบริหารจัดการอุปกรณ์จากระยะไกลเชื่อมต่อเครื่องจักรกับคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกัน [su_spacer size=”20″]
สำหรับสวนอุตสาหกรรมดั้งเดิมที่ประกอบด้วยอุตสาหกรรมการผลิตหลักที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจำนวนมากให้แก่มหานครฉงชิ่ง อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ และอุตสาหกรรมซอฟแวร์และคอมพิวเตอร์ จะได้รับการคัดเลือกให้เป็นโครงการนำร่องในการพัฒนาไปสู่นิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ เพื่อสร้างศักยภาพและเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่อุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้สูงให้กับมหานครฉงชิ่ง และเพื่อบรรลุเป้าหมายในการสร้างนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะให้สำเร็จภายในปี 2563 [su_spacer size=”20″]
ประเทศไทยพึ่งพาอุตสาหกรรมการผลิตในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐจะต้องให้ความสำคัญต่อนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 ดังนั้น หากนักธุรกิจ นักลงทุนไทย มีความรู้ ความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในการพัฒนา เชื่อว่าประเทศไทยจะสามารถหาแนวทางในการรองรับการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 พร้อมทั้งพัฒนาและยกระดับศักยภาพของตนเอง เพื่อรักษาสถานะการเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกที่สำคัญของภูมิภาคและของโลกไว้ [su_spacer size=”20″]