รัฐบาลฮ่องกงได้ริเริ่มกรมธรรม์บํานาญ (annuity plan) ที่เป็นการต่อยอดการลงทุนสําหรับผู้สูงอายุหลังอายุครบ 65 ปี เนื่องจากปัญหาสังคมผู้สูงอายุในฮ่องกงกําลังทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยปัจจุบันมีผู้อายุเกิน 65 ปีจํานวน 1.3 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 18 ของประชากร ซึ่งคาดว่าสัดส่วนนี้จะเพิ่มเป็นร้อยละ 31 ภายในปี 2579 ซึ่งปัจจุบันฮ่องกงมีเพียง Mandatory Provident Fund (MPF) ที่บังคับให้นายจ้างจ่ายร้อยละ 5 ของเงินเดือน แต่ไม่เกิน 1,500 ดอลลาร์ฮ่องกง สมทบเข้ากองทุน MPE ซึ่งลูกจ้างจะได้เงินนี้เมื่ออายุครบ 65 ปี [su_spacer size=”20″]
ภายใต้กรมธรรมบำนาญนี้ ผู้ที่มีถิ่นพํานักถาวรในฮ่องกงที่อายุเกิน 65 ปีสามารถนําเงินก้อนมาลงทุนในกองทุนที่ Hong Kong Mortgage Corporation (HKMC) ซึ่งเป็นบรรษัทของรัฐบาลเป็นผู้บริหารการลงทุนโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในการบริหาร และรัฐบาลจะรับผิดชอบหากการลงทุนประสบภาวะขาดทุน โดยผู้ลงทุนสามารถลงเงินตั้งแต่ 5 หมื่น – 9 ล้าน ดอลลาร์ฮ่องกง และรับค่าตอบแทนคงที่ประมาณร้อยละ 6.4 – 7 ต่อปีไปตลอดชีวิต รวมทั้งได้รับประกันว่าผู้ลงทุน (หรือทายาท) จะได้รับร้อยละ 105 ของยอดเงินที่ลงทุนไปเป็นอย่างน้อยและยิ่งอายุยืนก็จะยิ่งได้ประโยชน์มากขึ้น [su_spacer size=”20″]
กรมธรรม์บํานาญนี้เป็นการต่อยอดให้ผู้สูงอายุสามารถนําเงินเก็บจาก MPE มาลงทุนต่อได้ภายหลัง เกษียณและให้ผลตอบแทนคงที่ จึงเป็นทางเลือกที่เสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในหลักทรัพย์ อีกทั้งนักลงทุนสูงอายุที่อาจไม่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการเงินจะไม่ต้องรับผิดชอบเรื่องการบริหารจัดการเงินทุนของตน [su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ตาม ชาวฮ่องกงให้ความสนใจกับความริเริ่มใหม่น้อยกว่าที่คาด โดยมี ผู้สูงอายุสนใจลงทุนในกรมธรรม์ฯ เพียง 5,410 ราย คิดเป็นเงินทุนรวม 4.94 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง ซึ่งไม่ถึงครึ่งหนึ่งของยอดที่รัฐบาลตั้งเพดานไว้ที่ 10 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง ซึ่งผลการสํารวจของ AttizanzGI ระบุว่ากว่าครึ่งของกลุ่มตัวอย่างสํารวจ ไม่สนใจลงทุนในกรมธรรม์ฯ เนื่องจากผลตอบแทนต่ำเกินไป อีกทั้งกรมธรรม์บํานาญยังเป็นสิ่งใหม่ในฮ่องกงที่ยังไม่เป็นที่เข้าใจกว้างขวางนัก รัฐบาลจึงควรสร้างความรู้ความเข้าใจให้มากขึ้น [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ ผู้ที่ลงทุน 1 ล้านดอลลาร์ฮ่องกงในกรมธรรม์ฯ จะได้รับผลตอบแทน 5,800 ดอลลาร์ฮ่องกงสําหรับผู้ชาย และ 5,300 ดอลลาร์ฮ่องกงสําหรับผู้หญิง (เนื่องจากอายุขัยเฉลี่ยของผู้หญิงยืนยาวกว่าชาย โดยในกรณีของฮ่องกง ผู้หญิงมีอายุขัย เฉลี่ย 80.73 ปี ขณะที่ผู้ชายอายุขัยเฉลี่ย 81.3 ปี) [su_spacer size=”20″]
ผลการสํารวจฯ ยังระบุด้วยว่าคนฮ่องกงมองว่าต้องมีรายได้อย่างน้อย 16,950 ดอลลาร์ฮ่องกงต่อเดือน จึงจะสามารถใช้ชีวิตหลังเกษียณได้โดยไม่ยากลําบาก และเห็นว่าควรมีเงินเก็บอย่างน้อย ๕ ล้านดอลลาร์ฮ่องกงสําหรับการดํารงชีพหลังเกษียณ 14 ปี อย่างไรก็ดี ผู้ตอบการสํารวจคาดว่าตนจะมีเงินเก็บเฉลี่ยเพียง 3.15 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง ซึ่งยังต่ำกว่าระดับที่เหมาะสมอยู่ประมาณ 1.45 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง