รถไฟขนส่งสินค้าขบวนแรกจากทาชเคนต์ เมืองหลวงของอุซเบกิสถานเดินทางกลับสู่เมืองเจียวโจวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเมืองเจียวโจวเป็นเมืองรองของเมืองชิงต่าว โดยบรรทุกฝ้ายมูลค่ากว่า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และใช้ระยะเวลาในการขนส่ง 10 วัน นอกจากนี้ เมื่อเดือนกันยายน 2561 ที่ผ่านมา เมืองเจียวโจได้เปิดเส้นทางรถไฟขนส่งสินค้าขากลับจากประเทศรัสเซียไปยังเมืองชิงต่าว ซึ่งจะเปิดให้บริการ 2 เที่ยวต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคมเป็นต้นไป [su_spacer size=”20″]
เมืองเจียวโจวอยู่ระหว่างการเร่งพัฒนาเส้นทางคมนาคม เพื่อยกระดับให้กลายเป็นศูนย์รวมการคมนาคม โดยบูรณาการระบบโครงข่ายของภาคการขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ ได้แก่ สถานีรถไฟ สถานีศูนย์กลางรถไฟขนส่งสินค้า เขตโลจิสติกส์นานาชาติอ่าวเจียวโจว และท่าเรือชิงต่าว เพื่อขยายตลาดและกระจายสินค้าไปสู่ประเทศในเอเชียกลาง อาทิ อุซเบกิสถาน คาซัคสถาน และรัสเซีย ซึ่งประเทศดังกล่าวเป็นแหล่งผลิตสินค้าที่สำคัญ อาทิ ฝ้าย ถั่วเขียว ข้าวสาลี น้ำมันดอกทานตะวัน ปุ๋ย ไม้ เยื่อกระดาษ โครเมี่ยม และแร่ทองแดง [su_spacer size=”20″]
เขตโลจิสติกส์นานาชาติอ่าวเจียวโจว เมืองชิงต่าว ได้ดำเนินการเร่งเพิ่มปริมาณการค้าและรวบรวมกลุ่มนักลงทุนจากประเทศต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันมียอดการค้าระหว่างประเทศรวมกว่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และได้บรรลุข้อตกลงความร่วมมือกับบริษัทโลจิสติกส์ต่าง ๆ โดยได้ร่วมสร้างแพลตฟอร์มการค้า การขนส่งสินค้ากับประเทศรัสเซีย บราซิล และทวีปอเมริกาใต้อีกด้วย [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ จากการประชุมกลุ่ม Shanghai Cooperation Organization (SCO) Summit นำมาซึ่งการผลักดันความร่วมมือในระดับภูมิภาคด้านต่าง ๆ อาทิ การก่อสร้างเขตสาธิตความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างจีน – ประเทศสมาชิก SCO ประกอบด้วย รัสเซีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน อุซเบกิสถาน อินเดีย และปากีสถาน ซึ่งจะช่วยเร่งการพัฒนาด้านโลจิสติสก์ระหว่างประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นการส่งเสริมและแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางการค้าการลงทุนของประเทศที่อยู่บนเส้นทาง One Belt and One Road ซึ่งการขยายเส้นทางการเดินรถของขบวนรถไฟขนส่งสินค้าเอเชียกลาง และสหภาพยุโรป ล้วนเป็นผลพลอยได้จากการจัดการประชุม SCO ดังกล่าว [su_spacer size=”20″]
จากการขนส่งของรถไฟดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า จีนได้เริ่มขยายตลาดและกระจายสินค้าสู่ประเทศในแถบเอเชียกลางแล้ว ซึ่งถือเป็นโอกาสและช่องทางที่ผู้ประกอบการไทยสามารถสำรวจลู่ทางและส่งออกสินค้าไทยสู่ภูมิภาคเอเชียกลางได้ [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองชิงต่าว