จากการพัฒนาทางเทคโนโลยี Big data การตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) และธุรกิจ e-Commerce สร้างความนิยมในการบริโภครังนกในกลุ่มผู้บริโภควัยรุ่นและวัยทํางานชาวจีน
[su_spacer size=”20″]
ในปัจจุบัน ประเทศจีนสามารถผลิตรังนกแห้งได้ในมณฑลกวางตุ้ง มณฑลยูนนาน และมณฑลไห่หนาน แต่ผลผลิตยังมีจํานวนจํากัด ไม่เพียงพอต่อความต้องการในการบริโภค ดังนั้น จึงมีการนําเข้ารังนกมาจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย ซึ่งมีภาษีการนําเข้า ส่งผลให้รังนกมีราคาค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ปี 2557 รัฐบาลจีนมีนโยบายสนับสนุนการนําเข้าผลิตภัณฑ์รังนก โดยในปี 2560 มีการนําเข้ารังนกแห้งเพิ่มขึ้นจาก 3.09 ตัน เป็น 81.4 ตัน เพิ่มขึ้นถึง 26 เท่า และระหว่างวันที่ 1 ม.ค. – 31 พ.ค. 2561 หลังจากที่มีการออกใบรับรอง CNQ (Chinese Academy of Inspection and Quarantine) จํานวน 3.94 ล้านฉบับ ประเทศจีนมีการนําเข้ารังนก ที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อยู่ที่ 42.5 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 141 เมื่อเทียบกับปีก่อน และในปีนี้คาดว่าจะมีการนําเข้ารวมทั้งปีมากกว่า 120 ตัน [su_spacer size=”20″]
จากข้อมูล Big data ของอุตสาหกรรมรังนกขึ้น ในปี 2560 การชายรังนกบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ของอาลีบาบา มีมูลค่ากว่า 1.48 พันล้านหยวน (7.4 พันล้านบาท) โดยผู้บริโภคหลักกว่าร้อยละ 49.2 เป็นวัยทํางานที่มีรายได้ปานกลางถึงสูงและต้องการดูแลสุขภาพ มีอายุระหว่าง 26 ถึง 30 ปี รองลงมาคือกลุ่มผู้บริโภคอายุ ระหว่าง 18 ถึง 25 ปี รังนกที่นิยมบริโภค ได้แก่ รักนกแบบแห้ง และรังนกพร้อมรับประทาน [su_spacer size=”20″]
แพลตฟอร์มการบริหารจัดการการตรวจสอบย้อนกลับรังนกแสดงสถิติการกระจายตัวของกลุ่มบริโภค รังนกมากที่สุด 3 อันดับแรก พบว่าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มบริโภคทางตอนใต้ของประเทศจีน ได้แก่ มณฑลเจียงซู มณฑลเจ้อเจียง และมณฑลกวางตุ้ง สําหรับกลุ่มผู้บริโภคทางภาคเหนือที่มียอดการบริโภคสูง ได้แก่ มณฑลซานตง มณฑลเหอหนาน และมณฑลเหอเป่ย รวมถึงกรุงปักกิ่ง [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ Big data ยังช่วยแก้ไขความผันผวนของราคาในตลาด และความไม่คงที่ต้านคุณภาพ จากการพึ่งพาการนําเข้ารังนก รวมถึงก่อให้เกิดการบูรณาการทรัพยากร เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมภายในประเทศ ซึ่งช่วยยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมรังนกโดยรวม [su_spacer size=”20″]
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า กระแสความนิยมบริโภาครังนกของชาวจีนที่เกิดจากความนิยมในหมู่ คนทํางานที่รักสุขภาพ และความเชื่อมั่นในคุณภาพของรังนกนําเข้าที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว ทําให้ฐานกลุ่มผู้บริโภครังนก กระจายตัวเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการรังนกของไทย เร่งพัฒนาคุณภาพสินค้า เพื่อส่งออกไปยังประเทศจีนที่เป็นตลาดผู้บริโภครั้งนกที่ใหญ่ที่สุดในโลก [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองชิงต่าว