สงครามการค้าจีน – สหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อฮ่องกงเป็นอันดับแรก ๆ เนื่องจากร้อยละ 55 ของการค้าฮ่องกงเป็นการค้ากับจีนและสหรัฐฯ โดยเกือบ 1 ใน 3 ของการ re-export ของฮ่องกงมีต้นกําเนิดมาจากแผ่นดินใหญ่ ในขณะเดียวกัน ในปี 2559 ภาคการค้าและโลจิสติกส์มีการจ้างงานกว่า 730,000 ตําแหน่งในฮ่องกง (จากจํานวนตําแหน่งงานทั้งหมด 3.8 ล้านตําแหน่ง) และคิดเป็นเกือบร้อยละ 22 ของ GDP นอกจากนี้ สงครามการค้ายังจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่ให้บริการด้านการเงิน การจ้างงาน 253,000 ตําแหน่ง และคิดเป็นร้อยละ 17.7 ของ GDP) และธุรกิจบริการวิชาชีพเฉพาะ (การจ้างงาน 217,000 ตําแหน่ง และคิดเป็นร้อยละ 4.9 ของ GDP)[su_spacer size=”20″]
สําหรับภาษีรอบแรกที่สหรัฐฯ เก็บร้อยละ 25 จากสินค้าจีนมูลค่า 34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2501 นั้น ประมาณร้อยละ 17 (7.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 60 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง) เป็นการส่งออกผ่านฮ่องกง ส่วนสินค้านําเข้าจากสหรัฐฯ ที่อยู่ในข่ายที่จีนจะขึ้นภาษีตอบโต้นั้น ประมาณร้อยละ 9 (5 พันล้าน ดอลลาร์ฮ่องกง) จะทําผ่านฮ่องกง ซึ่งทั้งสองทางนี้รวมคิดเป็นร้อยละ 1.4 ของการค้ารวมของฮ่องกง[su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ดี การขึ้นภาษีรอบใหม่ที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศเมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2561 ว่าจะเก็บร้อยละ 10 จากสินค้าจีนมูลค่า 200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จะส่งผลกระทบต่อฮ่องกงอย่างรุนแรงกว่า เนื่องจากจะมุ่งเน้นสินค้าผู้บริโภคอย่างสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร และอิเล็กทรอนิกส์ โดยคาดว่าธุรกิจขนาดเล็กจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงกว่า เนื่องจากส่วนใหญ่มีฐานการผลิตเดียวในจีน แต่ธุรกิจใหญ่ ๆ ของฮ่องกงได้มีการไปตั้งโรงงานใน ประเทศที่ 3 อย่างเวียดนามแล้ว จึงอาจได้รับผลกระทบน้อยกว่า โดยภาษีที่ขึ้นนี้จะทําให้ต้นทุนธุรกิจสูงขึ้น โดยบริษัทฮ่องกงที่มีฐานการผลิตในจีน และที่ดําเนินธุรกิจ re-export และขนส่งจะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด นอกจากนี้ หากการค้าชะลอตัวลง ธุรกิจที่ให้บริการวิชาชีพเฉพาะเรื่องการค้าในฮ่องกงจะได้รับผลกระทบ และการไหลเข้าออกของเงินทุนระหว่างจีนกับต่างประเทศที่ลดลงก็จะส่งผลต่อบริษัทการเงิน กฎหมาย และบัญชีของฮ่องกงด้วย[su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ บรรยากาศการลงทุนของฮ่องกงก็ได้รับผลกระทบรุนแรง ล่าสุดในวันที่ 13 กรกฎาคม 2561 ดัชนีฮั่งเส็งตกลงไปถึงระดับประมาณ 28,500 จุดจากที่เคยอยู่ในระดับ 31,500 จุดในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2561 ในขณะเดียวกัน การเก็บภาษีเพิ่มขึ้นอาจเป็นแรงกดดันให้เงินเฟ้อในสหรัฐฯ สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นการสร้างแรงกดดันต่ออัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯ ให้เพิ่มสูงขึ้น และทําให้ฮ่องกงต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยตาม จากการที่ตรึงค่าเงินดอลลาร์ฮ่องกงไว้กับดอลลาร์สหรัฐ[su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ฮ่องกง คาดว่า ในระยะสั้น สงครามการค้านี้น่าจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตเศรษฐกิจ ของฮ่องกงอย่างจํากัดเพียงประมาณร้อยละ 0.1 – 0.2 ในปี 2561 ในขณะที่นักวิเคราะห์บางรายมองว่าผลกระทบอาจอยู่ที่ประมาณร้อยละ 0.2 หรือมากกว่า และจะยังไม่เห็นผลกระทบที่แท้จริงจนกว่าจะไตรมาสแรกของปี 2562[su_spacer size=”20″]
ก่อนหน้านี้ การศึกษา OECD เมื่อเดือนมีนาคม 2561 ประเมินว่าสงครามการค้าระหว่างจีน – สหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจกําลังพัฒนาในเอเชียเป็นหลัก โดย 5 เศรษฐกิจที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ไต้หวัน มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้และฮ่องกง โดยไต้หวันจะได้รับผลกระทบเกินร้อยละ 2 ของ GDP ขณะที่ฮ่องกงอาจได้รับผลกระทบ เกือบร้อยละ 1 ของ GDP เนื่องจากเศรษฐกิจเหล่านี้ต่างพึ่งภาคการผลิตในจีนสูง โดยผู้ผลิตที่พบกับต้นทุนสูงขึ้นจะได้รับผลกําไรน้อยลง และเลือกที่จะลดการผลิต ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน และอัตราค่าจ้างด้วย ทั้งนี้ มองกันว่ายุทธศาสตร์ในระยะยาวจะต้องเป็นการไปแสวงหาตลาดใหม่มากขึ้น โดยเฉพาะอาเซียน ซึ่งได้ลงนามความตกลงการค้าเสรีกับฮ่องกง และเป็นคู่ค้าใหญ่อันดับ 2 ของฮ่องกงรองจากจีน[su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง