Tuesday, May 20, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ชี้ช่องจากทีมทูต

ทําความรู้จัก “ศูนย์คอนเทนเนอร์รถไฟนครคุนหมิง” จุดเชื่อมโยงรถไฟจีน-ยุโรป และรถไฟจีน-ลาว-ไทยในอนาคต

10/07/2018
in ชี้ช่องจากทีมทูต, ทันโลก, เอเชีย
0
ทําความรู้จัก “ศูนย์คอนเทนเนอร์รถไฟนครคุนหมิง” จุดเชื่อมโยงรถไฟจีน-ยุโรป และรถไฟจีน-ลาว-ไทยในอนาคต
0
SHARES
353
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

              

              ศูนย์คอนเทนเนอร์รถไฟนครคุนหมิงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4พฤศจิกายน 2549 โดยบริษัทChina United International Rail Containers Co., Ltd. (CUIRC หรือCRIntermodal) เป็นศูนย์คอนเทนเนอร์รถไฟ 1 ใน 18 แห่งของจีน ที่ CUIRC ก่อสร้างขึ้นในเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีนครคุนหมิง และพื้นที่โลจิสติกส์หวังเจียยิ่ง ซึ่งเป็น 1 ใน 4 เขตโลจิสติกส์สําคัญในนครคุนหมิง จึงถือเป็นท่าเรือบกที่สําคัญอีกแห่งหนึ่งของจีน ที่รัฐบาลมุ่งหวังให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรถไฟของมณฑลยูนนานที่เชื่อมจีนตอนในกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่1,239 หมู่ (ประมาณ 516 ไร่) สามารถรองรับสินค้าได้ปีละ400,000 TEU (ขนาดตู้คอนเทนเนอร์ 20 ฟุต) ปริมาณรองรับสินค้าในปัจจุบันติด 3 อันดับแรก จาก 12 แห่งในจีนที่เปิดดําเนินการแล้ว[su_spacer size=”20″]
              ภายในศูนย์ฯ ประกอบด้วย อาคารสํานักงาน 5 ชั้น 1 อาคาร (ชั้น 1เป็นจุดบริการลูกค้า) และพื้นที่ขนส่งสินค้า โดยพื้นที่ขนส่งสินค้าสามารถวางตู้คอนเทนเนอร์ได้ประมาณ 400 ตู้ มีรางรถไฟหลัก 4เส้น คือ สําหรับรถไฟ วิ่งเข้า-ออก 2เส้น และสําหรับวางสินค้า 2 เส้น มีพื้นที่โกดังขนาด 27,000 ตร.ม. และมีอุปกรณ์ยก/ชนสินค้าครบครัน ได้แก่ รถโฟล์คลิฟท์ รถยกตู้คอนเทนเนอร์ รถบรรทุกคอนเทนเนอร์ เครื่องเอกซเรย์ตู้คอนเทนเนอร์ ตาชั่งอิเล็กทรอนิกส์ สําหรับชั่งรถบรรทุก และยังติดตั้งกล้องวงจรปิด 88 ตัว
ศูนย์ฯ ให้บริการ 3 ส่วน ได้แก่1) การขนส่งสินค้า 2) โลจิสติกส์ เช่น รับส่งตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งมีอยู่ 3ประเภท ได้แก่ ตู้คอนเทนเนอร์ทั่วไป ตู้ขนของเหลวและสินค้าชนิดผง (ปูนซีเมนต์) และตู้คอนเทนเนอร์แบบห้องเย็น 3) งานอื่น ๆ เช่น ล้างและซ่อมแซมตู้คอนเทนเนอร์ และให้เช่าโกดัง[su_spacer size=”20″]
              จุดเด่นของการดําเนินงานขนส่งสินค้าอยู่ที่ระบบข้อมูลการทํางานที่เป็นระบบอัตโนมัติเกือบทั้งหมด ตัวอย่างเช่น เมื่อรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์แล่นเข้าสู่ศูนย์ฯ ผ่านช่องเอกซเรย์ ข้อมูลของตู้คอนเทนเนอร์จะปรากฏบนหน้าจอ เช่น เลขที่ ประเภทสินค้า และความเสียหายของตู้ จากนั้นรถจะถูกปล่อยออกมา โดยคนขับรถจะได้รับใบรายการแสดงข้อมูลการเข้าจอดรถ ในพื้นที่ขนส่งสินค้าที่กําหนดไว้ และเจ้าหน้าที่จะทราบจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีการแบ่งแยกการจอดรถตามประเภทสินค้าและพื้นที่ส่งของ ขณะเดียวกันลูกค้าก็สามารถตรวจสอบข้อมูลการขนส่งสินค้าได้ด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ โดยกระบวนการตั้งแต่รถบรรทุกเข้ามาจนถึงขนตู้คอนเทนเนอร์ลงจะใช้เวลาประมาณ15 นาที และหากมีสินค้าขนออกไปจะใช้เวลาอีก 15 นาทีเช่นกัน[su_spacer size=”20″]
              โครงการสร้างเครือข่ายศูนย์คอนเทนเนอร์รถไฟในประเทศจีนรวม 18 แห่ง เกิดขึ้นตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่11 (2549-2553) ปัจจุบันสร้างเสร็จแล้ว 12 แห่ง ได้แก่ คุนหมิง เซี่ยงไฮ้ ฉงชิ่ง เฉิงตู เจิ้งโจว ต้าเหลียน ชิงต่าว อู่ฮั่น ซีอาน หนิงโป เทียนจิน อุรุมชี อยู่ระหว่างขออนุมัติและก่อสร้าง 6 แห่ง ได้แก่ ฮาร์บิน ปักกิ่ง หลานโจว กว่างโจว เซินเจิ้น เสิ่นหยาง[su_spacer size=”20″]
              ปัจจุบัน ศูนย์ฯ มีบริการขนส่งสินค้าตรงภายในประเทศ (ไม่หยุดสถานีระหว่างทาง) จากนครคุนหมิงไปเมืองต่าง ๆ ได้แก่ เฉิงตู หนานหนิง กว่างโจว เซี่ยงไฮ้ เจิ้งโจว จี้หนาน ฮาร์บิน (จากคุนหมิงไปฮาร์บินใช้เวลาประมาณ 40 ชม.) โดยสินค้าขาเข้า และขาออกส่วนใหญ่มาจากหนานหนิง กว่างโจว และเฉิงตู ทั้งนี้ สินค้าขาออกที่สําคัญส่วนใหญ่เป็นสินค้าขึ้นชื่อของยูนนาน ได้แก่ ปุ๋ยเคมี น้ําตาล โลหะนอกกลุ่มเหล็ก (non-ferrous metal) แร่ฟอสฟอรัส และยาสูบ
สําหรับการส่งออกไปต่างประเทศ นอกเหนือจากเส้นทางรถไฟคุนหมิง-เวียดนามแล้ว ยังส่งออกไปตามเส้นทางรถไฟขนส่งสินค้านานาชาติจีนยุโรป (China-Europe Railway Express) จากคุนหมิง-รอตเทอร์ดาม ประเทศเนเธอร์แลนด์ (เดินรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2558 ใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 วัน) และคุนหมิง-การาจี ประเทศปากีสถาน โดยในปี2560 ศูนย์ฯ ส่งออกสินค้ายูนนาน ประกอบด้วย ยาสูบ เมล็ดกาแฟ ยางพารา และส่วนประกอบ ของโลหะ ผ่านเส้นทางขนส่งสินค้านานาชาติไปยุโรปและเอเชียกลาง7,272 TEU หรือ 128,250 ตัน[su_spacer size=”20″]
              ศูนย์ฯ เป็นชุมทางเชื่อมการขนส่งสินค้าทางรถไฟในรูปแบบการขนส่ง Multimodal transport โดยทางรถไฟ เดินรถจากคุนหมิงเชื่อมสู่เส้นทางขนส่งสินค้านานาชาติไปยุโรป และเส้นทางทะเล ซึ่งส่วนใหญ่ไปออกที่ท่าเรือเซินเจิ้น และบางส่วนผ่านเวียดนามออกสู่ทะเลที่ท่าเรือไฮฟอง (เส้นทางออกทะเลที่ใกล้สุดของมณฑลยูนนาน) และคาดว่าในอีก 4-5 ปีข้างหน้าจะเชื่อมโยงสู่ประเทศไทย หากโครงการเส้นทางรถไฟจีน (มณฑลยูนนาน-ลาว) แล้วเสร็จ ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสําหรับการขนส่งของสินค้าไทยไปจีน เอเชียกลาง และยุโรป[su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิง


 

Tags: จีน
Previous Post

เวียดนามติดปัญหางบประมาณแก้ไข IUU ! EU เตรียมตรวจซ้ำปีหน้า

Next Post

เมียนมาเตรียมส่งแรงงานไปญี่ปุ่น

mackeyrisen

mackeyrisen

Next Post
เมียนมาเตรียมส่งแรงงานไปญี่ปุ่น

เมียนมาเตรียมส่งแรงงานไปญี่ปุ่น

Post Views: 1,352

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

19/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ตอนที่ 2 : ปัจจัยความสำเร็จของ YRD ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

15/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

15/05/2025
สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

14/05/2025
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

14/05/2025
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X