ตลาดสินค้าอาหารสดออนไลน์หรืออี คอมเมิร์ซ (Fresh Food e-Commerce) ในจีนเริ่มพัฒนาขึ้นครั้ งแรกในปี 2548 โดยมีแพลตฟอร์ม Yiguo.com (อี้กั่ว) เป็นแพลตฟอร์มสินค้ าอาหารสดออนไลน์แห่งแรกของจีน จากรายงานการศึกษาของ iresearch Global (www.iresearchchina.com) และศูนย์วิจัยพาณิชย์อิเล็ กทรอนิกส์ (www.10Cec.cn) เกี่ยวกับสถานการณ์และแนวโน้มธุ รกิจอีคอมเมิร์ซสินค้ าอาหารสดในจีนปี 2560 ระบุว่า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซสินค้ าอาหารสดในจีนเติบโตอย่างรวดเร็ ว ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยกว่าร้ อยละ 50 ต่อปี โดยในปี 2560 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซสินค้ าอาหารสดของจีนมีมูลค่ารวม 139,130 ล้านหยวน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้ าร้อยละ 59.7[su_spacer size=”20″]
ในช่วงปี 2559-2560 เป็นช่วงที่มีการล้างไพ่ผู้เล่ นในตลาดใหม่ ผู้เล่นขนาดกลางและเล็ กหลายรายต้องปิดตัวลง ถูกซื้อหรือควบรวมกิจการโดยผู้ เล่นรายใหญ่ และเป็นช่วงเดียวกับที่แพลตฟอร์ มอีคอมเมิร์ซรายใหญ่อย่างอาลี บาบา และ JD.com รุกเข้าทําตลาดสินค้ าอาหารสดออนไลน์ ซึ่งได้มีการลงทุนในโครงสร้างพื้ นฐานทั้งด้านห่วงโซ่อุ ปทานและโลจิสติกส์ รวมถึงนํามาซึ่งโมเดลการดําเนิ นธุรกิจใหม่ ๆ โดยปัจจัยสําคัญที่ส่งผลต่ อการพัฒนาตลาดสินค้ าอาหารสดออนไลน์คือระบบโลจิสติ กส์ห่วงโซ่ความเย็น (Cold Chain Logistics) ซึ่งครอบคลุมเมือง 1st-tier และ 2nd-tier เป็นหลัก โดยผู้ซื้ออาหารสดออนไลน์ร้อยละ 41.4 จะมาจากเมือง 1st-tier (เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กวางโจว เซินเจิ้น) และร้อยละ 40.4 จะมาจากเมือง 2nd-tier ขณะที่การเดิบโตของตลาดในเมื องที่เป็น 3rd – tier มีการขยายตัวสูงถึงกว่าร้อยละ 400 ต่อปี[su_spacer size=”20″]
จากผลการสํารวจพบว่า Integrated e-Commerce Platform (ซุปเปอร์มาเก็ต+อาหารและเครื่ องดื่ม) เป็นรูปแบบที่ลูกค้าใช้บริการบ่ อยที่สุด ประมาณร้อยละ 80 ของผู้บริโภคที่มีการซื้อสินค้ าอาหารสดออนไลน์ มักจะสั่งซื้อสินค้ าอาหารสดจากแพลตฟอร์มประเภทนี้ โดยเป็นการเปิดแผนกสินค้ าอาหารสดเพิ่มบน Integrated e-Commerce Platform ซึ่งมีทั้งที่เป็นลักษณะร้านค้ าและแพลตฟอร์มเปิดขายเอง (B2C และ B2B2C) เช่น JD Fresh ภายใต้ JD.com และ Mr. Fresh ภายใต้ Tmall.com สําหรับแพลตฟอร์มที่มี การผสมผสานระหว่างร้านค้ าออนไลน์กับออฟไลน์จะมีจํานวนลู กค้าน้อยกว่ามาก แต่ลูกค้าจะมีความถี่ในการซื้ อสูง โดยร้อยละ 68.1 ของลูกค้าที่ซื้อสินค้ าบนแพลตฟอร์มรูปแบบ Integrated e-Commerce Platform จะมีการสั่งซื้ออย่างน้อย 1 ครั้ง/สัปดาห์ จากข้อมูลมี 2560 พบว่า อาหารสดที่ผู้บริโภคนิยมซื้อผ่ านช่องทางออนไลน์ 5 อันดับแรก ได้แก่ ผลไม้ (ร้อยละ 32) ผลิตภัณฑ์จากนม (ร้อยละ 24.2) ผักสด (ร้อยละ 12.8) เนื้อสัตว์และไข่ (ร้อยละ 9.3) และ สัตว์น้ำ (ร้อยละ 9) ข้อมูลการซื้อสินค้าอาหารสดผ่ านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ ของจีน JD.COM หรือ JD Fresh Goods ในปี 2560 พบว่า สินค้าอาหารสดที่มียอดขายมากที่ สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ผลไม้ สัตว์น้ำ และอาหารทะเลและอาหารแช่แข็ง ส่วนสินค้าอาหารสดที่มีความถี่ ของคําสั่งซื้อมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องดื่มและของหวาน ผักสด และเนื้อสัตว์ สําหรับความสัมพันธ์กับรายได้ จากการสํารวจพบว่า ผู้บริโภคที่มีรายได้สูงจะมี ความถี่ในการซื้อสินค้ าอาหารสดออนไลน์มากตามไปด้วย โดยร้อยละ 36.8 ของครัวเรือนที่มีรายได้เกิน 30,000 หยวน/เดือน (150,000 บาท) จะมีการซื้อสินค้าอาหารสดผ่านช่ องทางออนไลน์อย่างน้อย 4 ครั้ง/สัปดาห์ [su_spacer size=”20″]
อุปสรรคสำคัญของธุรกิจสินค้ าอาหารสดที่สร้างข้อจํากั ดในการขยายการค้าอาหารสดออนไลน์ คือ 1) อายุการเก็บรักษาสั้น 2) สินค้าอาหารสดมีมาตรฐานอุ ตสาหกรรมต่ำ และ 3) ระบบเครือข่ายโลจิสติกส์ห่วงโซ่ ความเย็น (Cold Chain Logistics) ที่ยังไม่ครอบคลุมทั่วทั้ งประเทศ ซึ่งการแก้ไขจุดอ่อนเหล่านี้จํ าเป็นต้องมีการนําเทคโนโลยีที่ ทันสมัยเข้ามาช่วยในการ บริหารจัดการ ทั้งนี้การเข้าสู่ยุคอินเตอร์ เน็ตและอีคอมเมิร์ซนํามาซึ่ งการค้าปลีกแนวใหม่ พฤติกรรมผู้บริโภคเกิดการเปลี่ ยนแปลง ความท้าทายสําคัญของการค้าปลี กแนวใหม่ไม่ได้มีอยู่แค่ช่ องทางการขายที่เปลี่ยนแปลงไป แต่รวมถึงการยกระดับห่วงโซ่อุ ปทาน และการตอบสนองความต้องการผู้บริ โภคที่มีพฤติกรรมเปลี่ ยนแปลงไปดังที่กล่าวข้างต้น[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง