ศูนย์วิจัยและพัฒนาข้าวน้ำทะเลเมืองชิงต่าว และ Yuanmi Agricultural Science and Technology Co., Ltd. ได้ร่วมเปิดตัวข้อเสนอโครงการ จีนไพโอเนียร์ เพื่อช่วยปฏิรูปที่ดินเค็มและพัฒนาพื้นที่เสื่อมโทรม โดยนายหยวน หลงผิง บิดาแห่งข้าวไฮบริดจีน ได้ทดลองปลูกข้าวที่ทนต่อน้ำเค็มบนพื้นที่ดินเค็มจํานวน 6 แปลง เมื่อวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา นับเป็นก้าวสําคัญในเชิงพาณิชย์ที่ข้าวชนิดนี้ได้ลงพื้นที่ปลูกบนดินต่างประเภทกัน โดยโครงการนี้ได้ใช้วิธีการแก้ปัญหาทางการเกษตรแบบสมาร์ทตามแบบเกษตร4.0 เช่น Internet of Things (IoT) Big Data และปัญญาประดิษฐ์ (AI) และตระหนักถึงการปรับปรุงมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรและประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน เนื่องจากประเทศจีนมีพื้นที่ดินเค็มถึง 1 ล้าน ตร.กม. จากพื้นที่ทั้งหมด 9.6 ล้าน ตร.กม. ทั้งนี้ ศูนย์ ฯ ได้ทดลองปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งแรกแล้วเมื่อเดือนกันยายน 2017[su_spacer size=”20″]
จีนมีดินเค็ม 5 ชนิด และพื้นที่ดินโคลนเสื่อมโทรมที่เหยียนอาน รวมเป็น 6 แห่ง จึงมีการแบ่งพื้นที่ทดลองปลูกเป็น 6 แปลง ในเมืองต่าง ๆ มีจุดมุ่งหมายเพื่อทดสอบประสิทธิภาพ ผลผลิต รสชาติและต้นทุนการปลูกข้าวน้ำทะเลภายใต้บริบททางพื้นที่ที่ต่างกัน ได้แก่ 1.เมืองคัชการ์ เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ 2. เมืองต้าชิง มณฑลเฮยหลงเจียง 3.เมืองตงหยิง มณฑลซานตง 4. เมืองชิงต่าว มณฑลซานตง 5.เมืองเวินโจว มณฑลเจ้อเจียง 6.เมืองเหยียนอาน มณฑลส่านซี[su_spacer size=”20″]
มีการคาดการณ์ว่า ที่ดินทั้ง 6 แปลงนี้ จะกลายเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ภายใน 2-3 ปี และพื้นที่ดินเค็มอื่นๆ จะถูกนํามาใช้เพื่อศึกษาข้าวน้ำทะเลสายพันธุ์อื่นต่อไป โดยทีมวิจัยมีแผนที่จะพัฒนาสายพันธุ์ข้าวน้ำทะเล ให้สามารถเพาะปลูกบนพื้นที่ดินเค็ม 67,000 ตร.กม. ทั่วประเทศจีน ประมาณการได้ว่าจะให้ผลผลิตถึง 30 ล้านตัน ต่อปี สําหรับการเลี้ยงดูประชากรได้ถึง 80 ล้านคน[su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ ยังมีการทดลองปลูกข้าวน้ำทะเลในพื้นที่ทะเลทรายของเมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อีกด้วย โดยทีมวิจัยยังอยู่ระหว่างการประเมินผลการทดลองว่าจะให้ผลผลิตสูงกว่า 7.5 ตันต่อ 10,000 ตร.ม. ทั้งนี้ทีมงานเริ่มลงมือปลูกข้าวแล้วในเดือนมกราคมที่ผ่านมา และคาดว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในปลายเดือนมิถุนายน2018 นี้[su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองชิงต่าว