ปัจจุบันไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงที่ประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศจีน ต่างให้ความสำคัญ ภายหลังการปรับทิศทางดัชนีการเติบโตทางเศรษฐกิจจาก “ปริมาณ (quantity growth)” มุ่งสู่ “คุณภาพ (quality development)” ของรัฐบาลยุคประธานธิบดีสี จิ้นผิง การลงทุนในวิสาหกิภาคใหม่ทําให้จีนก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว การให้ความสําคัญกับการวิจัยและพัฒนาได้กลายมาเป็นหนึ่งในปัจจัยบ่งบอกความสําเร็จทางเศรษฐกิจของจีน โดยในปี 2560 จีนได้เพิ่มงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ร้อยละ 10 และด้านการศึกษา ร้อยละ 6.5 KPMG คาดการณ์ว่า จากนี้ต่อไปอีกไม่กี่ปีจีนจะเป็นประเทศที่ทุ่มงบประมาณเพื่อการศึกษาและวิจัยมากกว่าสหรัฐอเมริกา[su_spacer size=”20″]
ภายหลังจากนครซีอานได้รับเลือกให้เป็น National Central City แห่งที่ 9 ของจีนจากคณะกรรมาธิการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ (National Development and Reform Commission: NDRC) มณฑลส่านซีได้กําหนดให้นครซีอานเป็นฐานการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อยกระดับความสามารถทางเศรษฐกิจ ซึ่งไม่เพียงแต่เน้นการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี แต่ยังมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของเมืองผ่านการผสมผสานการเป็นเมืองวัฒนธรรมและศูนย์กลางแห่งภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนควบคู่กัน[su_spacer size=”20″]
ปัจจุบัน กรุงปักกิ่งและนครเซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ แต่รัฐบาลหัวเมืองระดับรอง (tier-two, tier-three) ต่างก็พยายามผลักดันให้มีการลงทุนทางการวิจัยและเทคโนโลยีในพื้นที่ของตน อย่างต่อเนื่อง มณฑลเสฉวนและมณฑลส่านซี ซึ่งเป็นหัวเมืองใหญ่ทางภาคตะวันตกของจีนมีพัฒนาการด้านการวิจัย โดยส่งเสริมด้านการวิจัยและพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลยีเป็นพิเศษ และเมื่อเปรียบเทียบกับมณฑลอื่นๆ ที่มุ่งเน้นการพัฒนา ด้านงานวิจัยจะพบว่า มณฑลส่านซียังมีช่องทางให้สามารถพัฒนาได้อีกมาก[su_spacer size=”20″]
ด้วยการเป็นแหล่งสถาบันการศึกษากว่า 63 แห่ง มีนักวิจัยจากสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (China Academy of Science: CAS) และสภาวิศวกรรมแห่งชาติ (China Academy of Engineering: CAE) มากถึง 63 ราย รวมทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทางกว่า 800,000 ราย ทําให้นครซีอานสามารถผลิตบุคลากรที่มีความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับปริญญาตรีได้มากถึง 300,000 คน/ปี และระดับปริญญาโทกว่า 20,000 คน/ปี เหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทําให้นักลงทุนเลือกลงทุนในนครซีอาน ล่าสุด CAS ร่วมกับรัฐบาลมณฑลส่านซี ลงนามก่อตั้งสวนวิทยาศาสตร์ (Science Park) ณ เขตเกาซิน (Xian High-tech Industry Development Zone) ครอบคลุมพื้นที่ 5 ตร.กม. กําหนดแล้วเสร็จในปี 2563 โดยจะมีการก่อสร้าง (1) ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมโลก (Institute of Earth Environment) และ (2) สถาบันทัศนศาสตร์ (Xi’an Institute of Optical Precision Machinery) ซึ่งสถาบันทัศนศาสตร์นั้น เป็นโครงการที่เคยได้รับการบรรจุไว้ในแผนการดําเนินงานของรัฐบาลมณฑลส่านซีเมื่อปี 2559 ในระยะแรกได้มีการวางเป้าหมายให้ Science Park เป็นฐานฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีระดับสูง และเป็นสถาบันวิจัยเพื่อรองรับการขยายตัวของกลุ่มธุรกิจที่อาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงและมีแนวโน้มเติบโตได้ดีในนครซีอาน ได้แก่ (1) การผลิตอุปกรณ์การแพทย์ประเภท Medical Heavy lon Accelerator (2) เครื่องผลิต Attosecond laser และ (3) เครื่องผลิตลําอนุภาคโปรตอนเพื่อใช้บําบัดมะเร็ง[su_spacer size=”20″]
ปัจจุบัน มณฑลส่านซีพยายามยกระดับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ นวัตกรรมมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายที่จีนต้องการเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของโลกภายในปี 2563 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สินค้าและบริการได้รับการพัฒนารูปแบบให้ทันสมัยและตอบโจทย์ความต้องการของตลาด รวมถึงสิทธิบัตรที่มีจํานวนเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ภาครัฐยังคงมีบทบาทหลักในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นโยบาย การก่อสร้างนิคมฯ และการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อธุรกิจ ในขณะที่บทบาทของภาคเอกชนยังมีไม่มากนัก ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะปัจจัยความเชื่อมั่นด้านการลงทุน รวมไปถึงนโยบายดึงดูดการลงทุนจากภาครัฐที่อาจยังไม่ครอบคลุมเท่ากับเมืองอื่นๆ ของจีน การพัฒนาด้านเทคโนโลยีและการสร้างสรรค์นวัตกรรมของมณฑลส่านซี จึงต้องอาศัยเวลาในการพัฒนาระบบ สาธารณูปโภคให้มีความสมบูรณ์อย่างรอบด้าน[su_spacer size=”20″]
ในปี 2561 รัฐบาลมณฑลส่านซีได้กําหนดให้เป็น “ปีแห่งการสร้างเสริมบรรยากาศการลงทุน” โดยอํานวยความสะดวกให้แก่วิสาหกิจเพิ่มขึ้น อาทิ ลดขั้นตอนการขอใบอนุญาตก่อสร้าง ลดขั้นตอนการประเมินสภาพแวดล้อม ที่เหมาะสมแก่การทําธุรกิจในเขตอําเภอใหญ่เหลือเพียง 10 ขั้นตอน และพัฒนาการให้บริการประชาชนในรูปแบบออนไลน์ ทั้งหมดภายในปีนี้ รวมถึงกําหนดความชัดเจนของพื้นที่รองรับอุตสาหกรรม ได้แก่ (1) พื้นที่ราบกวนจง เน้นการพัฒนาความ ร่วมมือเชิงนวัตกรรมและผลักดันอุตสาหกรรมไฮเทคที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิต โดยเน้นการบูรณาการข้อมูลให้มากขึ้น (2) พื้นที่ส่านหนาน (ตอนใต้) มุ่งพัฒนาเมืองเป่าจีให้เป็นฐานการผลิตและส่งออกรถยนต์ระดับประเทศ และ (3) พื้นที่ส่านเป่ย (ตอนเหนือ) ที่มุ่งเป้าพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานเป็นหลัก โดยเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนวัตกรรมในสินค้าให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับมณฑลอื่น ๆ [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซีอาน